Page 180 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 180

2-170 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

  มิตร (Agreeableness) หรือ A เป็นลักษณะที่มีความสุภาพ อบอุ่น มีเมตตา อ่อนโยน ถ่อมตน น่าคบ และ
  ให้ความร่วมมือ และ 5) การมีจิตส�ำนึก (Conscientiousness) หรือ C เป็นลักษณะของการมีวินัย รอบคอบ
  มีการวางแผน รับผิดชอบ มีระเบียบ มีความทะเยอทะยาน มีจุดมุ่งหมาย ม่ันคง และมุ่งสู่ความส�ำเร็จ

          นิยามของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค (AQ) หมายถึง ความสามารถ หรือพลัง
  ในตัวบุคคลท่ีจะมีความเพียร มานะ อดทน อดกล้ัน ต้ังใจจริง เพ่ือเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ให้ได้
  เป็นความฉลาดในการฝ่าวิกฤต แม้จะมีความยากล�ำบากเพียงใดก็ไม่ย่อท้อ เลิกล้ม หรือละทิ้ง (ธีรศักดิ์
  ก�ำบรรณารักษ์, 2548; Stoltz, 1997) Stoltz (2000) เสนอว่า ชีวิต เหมือนกับการปีนหรือไต่เขา คนจึงแบ่ง
  ออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) พวกไม่สู้หรือพวกยอมแพ้ (the quitter) หมายถึง บุคคลที่ไม่กล้าต่อสู้ ไม่ชอบ
  ขวนขวาย ไม่กระตือรือร้น พร้อมท่ีจะหลบเลี่ยงถอยหนี และยอมแพ้ เพิกเฉย และละท้ิงโอกาสต่าง ๆ โดย
  ใช้ความพยายามเพียงเล็กน้อย 2) พวกท่ีล้มเลิกกลางทาง (the camper) หมายถึง พวกท่ีปีนเขาไปได้นิด
  หน่อยก็หมดความพยายามท่ีจะเผชิญกับอุปสรรค มักจะยุติเพื่อหาท่ีหลบภัย ไม่อยากทุ่มเทหรือดิ้นรนต่อไป
  แสดงศักยภาพของการเอาชนะอุปสรรคเพียงไม่ก่ีครั้ง และไม่พยายามมุ่งไปหาส่ิงท่ีดีกว่า 3) พวกต่อสู้ (the
  climber) เป็นพวกชอบส่ิงที่ท้าทาย มีวิสัยทัศน์ เรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา ไม่ยอมให้อุปสรรคอื่น
  ใดเข้ามาขัดขวางเส้นทางสู่ความก้าวหน้า พยายามฝึกฝนและมุ่งมั่นอย่างแท้จริง ตามแนวคิดน้ี AQ ประกอบ
  ด้วยลักษณะส�ำคัญ 4 มิติ เรียกย่อ ๆ ว่า CORE ได้แก่ 1) การควบคุม (control) หมายถึง ความสามารถใน
  การควบคุมสถานการณ์ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรค 2) สาเหตุและความรับผิดชอบ (origin-
  ownership) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยอ่ืน ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของปัญหา
  และผู้ใดควรเป็นผู้รับผิดชอบ 3) ผลกระทบ (reach) หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ด้านลบ
  และควบคุมผลกระทบท่ีเกิดความเสียหายต่อการด�ำเนินชีวิตได้อย่างไม่ย่อท้อ สามารถฟันฝ่าไปได้ และ
  4) ความทนทานหรือความอดทน (endurance) หมายถึง ความสามารถในการรับมือกับอุปสรรคและทนทาน
  ต่อปัญหาต่าง ๆ มีก�ำลังใจท่ีเข้มแข็งในการเอาชนะอุปสรรค แม้ว่าแนวคิดเร่ือง AQ จะมีต้นก�ำเนิดเพื่อ
  แก้ปัญหาจากสภาพการท�ำงานในองค์กรต่าง ๆ แต่ก็มีนักวิชาการและนักการศึกษาน�ำแนวคิดน้ีมาศึกษาวิจัย
  ในมุมของความส�ำเร็จทางวิชาการอยู่บ้างเหมือนกัน

          ส่วนแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ ในการวิจัยคร้ังน้ี หมายถึง สภาวะที่กระตุ้นให้เกิดการ
  เรียนรู้และสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ตามเป้าหมาย ซ่ึงบูรณาการจากแรงจูงใจภายในและภายนอก รวมทั้ง
  แรงจูงใจเชิงบูรณาการกับแรงจูงใจท่ีใช้เป็นเครื่องมือผสมผสานกัน (Gardner, 1985; Woolfolk, 2004)

          ประเดน็ ทส่ี อง งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยครั้งนี้ แยกน�ำเสนอได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก งาน
  วิจัยท่ีศึกษาเกี่ยวกับบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับแรงจูงใจ มีงานวิจัยจ�ำนวนมากท่ีศึกษาประเด็นนี้ ดังที่
  ผู้วิจัยคัดสรรงานวิจัยช่วงปี ค.ศ. 2005-2012 มา 6 เรื่อง ได้ผลการวิจัยสอดคล้องกัน คือ บุคลิกภาพห้า
  องค์ประกอบกับแรงจูงใจทางวิชาการมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ โดยพบว่าลักษณะ E, A,
  O และ C มีความสัมพันธ์ทางบวกกับแรงจูงใจภายใน และพบว่า C, E และ N มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจ
  ภายนอก โดยท่ีองค์ประกอบแต่ละด้านมีอ�ำนาจการท�ำนายแรงจูงใจทางวิชาการแตกต่างกัน และมีอิทธิพล
  ต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันด้วย เช่น E, O, A และ C ล้วนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมี
  จิตบริการ ส่วน N กลับมีความสัมพันธ์ทางลบ งานวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นว่าบุคลิกภาพแบบต่าง ๆ สามารถ
  ท�ำนายระดับแรงจูงใจในการท�ำส่ิงต่าง ๆ ของบุคคลได้ (Jang, 2012; Kaufman, Agars, & Lopez-
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185