Page 175 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 175
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง 2-165
อนึ่งเน่ืองจากมีทฤษฎีและงานวิจัยหลายเรื่องสรุปว่า ความใฝ่เรียนรู้มีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนที่ได้จากการวัด รวม 4 แบบ คือ 1) การวัดในรูปแต้มเฉล่ีย (Grade Point Average – GPA)
(Abakpa, Abah, & Agbo-Egwu, 2018) 2) ผลการเรียนรู้ท่ีได้จากมาตรวัดความยึดม่ันผูกพันทางปัญญา
(Typical Intellectual Engagement – TIE) แยกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านจิตส�ำนึก (Conscientiousness – C)
ด้านความเปิดเผย (Openness – O) ด้านผลการเรียนทางวิชาการ (Academic Performance – AP) และ
เชาวน์ปัญญาท่ัวไป (General Intelligence – I) (von Stumm, Hell & Chamorro-Premuzic, 2011) และ
3) ผลงานวิจัยท่ีแสดงหลักฐานว่าความใฝ่เรียนรู้มีความสัมพันธ์กับความโกรธ ความวิตกกังวล และความซึม
เศร้า (Spielberger & Reheiser, 2009) เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาผลการเรียนรู้ทุกแบบว่าได้รับอิทธิพล
จากความใฝ่เรียนรู้แตกต่างกันอย่างไร ในการวิจัยคร้ังน้ี ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาอิทธิพลของความใฝ่เรียนรู้
ท่ีมีต่อผลการเรียนรู้ท้ัง 3 แบบว่ามีขนาดอิทธิพลแตกต่างกันอย่างไร
จากผลการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวผู้วิจัยน�ำมาสรุปเป็นสมมติฐานวิจัยรวม 2 ข้อ ดังนี้
สมมตฐิ านวจิ ยั ขอ้ แรก มาตรวัดความใฝ่เรียนรู้ตามแนวคิดของ Spielberger & Reheiser (2009)
รวม 3 ชุด คือ STAI (Form Y), STAXI-2 และ STPI และมาตรวัดตามแนวคิดของ Kashdan, Stiksma,
Disabato, McKnight, Bekier, Kaji, & Lazarus (2018) รวม 3 ชุด คือ มาตรวัดความใฝ่เรียนรู้ 5 มิติ
(five-dimensional curiosity measure - The 5-DC Scale) มาตรใช้ระบุกลุ่มบุคคลที่ใฝ่เรียนรู้ (curious
people) และมาตรการกระท�ำขับเคล่ือนคุณค่า (value-driven actions) ทุกชุดมีความเท่ียงและมีความตรง
ตามจิตมิติ
สมมตฐิ านวจิ ยั ขอ้ สอง ความใฝ่เรียนรู้จากมาตรวัดทั้ง 6 ชุด มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการเรียนรู้ท่ี
ได้จากการวัดรวม 3 แบบ คือ 1) การวัดในรูปแต้มเฉลี่ย (Grade Point Average – GPA) 2) การวัดความ
ยึดม่ันผูกพันทางปัญญา (Typical Intellectual Engagement – TIE) แยกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านจิตส�ำนึก
(Conscientiousness – C) ด้านความเปิดเผย (Openness – O) ด้านผลการเรียนทางวิชาการ (Academic
Performance – AP) และเชาวน์ปัญญาทั่วไป (General Intelligence – I) (von Stumm, Hell & Cham-
orro-Premuzic, 2011) และ 3) การวัดด้านความโกรธ ความวิตกกังวล และความซึมเศร้า
เอกสารอ้างองิ
แนะน�ำ สวทช. (2562). ค้นคืนจาก https://www.nstda.org.th
พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2555). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
รู้จัก สสวท. (2559). ค้นคืนจาก https://www.ipst.ac.th
Abakpa, B. O., Abah, J. A., & Agbo-Egwu, A. O. (2018). Science curiosity as a correlate of
academic performance in mathematics education: Insights from Nigerian higher
education. African Journal of Teacher Education, 7, 1, 36-52. ISSN 1916-7822.
Berlyne, D. E. (1954). A theory of human curiosity. British Journal of Psychology, 45, 180–191.
Birenbaum, M., Alhija, F, N.-A., Shilton, H., Kimron, H., Rosanski, R., & Shahor, N. (2019). A
further look at the five-dimensional curiosity construct. Personality and Individual
Differences, 149, 57–65.