Page 174 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 174
2-164 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
การพฒั นามาตรแบบทสี่ อง Kashdan, Stiksma, Disabato, McKnight, Bejir, Kaji, & Lazarus
(2018) ได้พัฒนามาตรวัดความใฝ่เรียนรู้ 5 มิติ (five-dimensional curiosity scale - The 5-DC Scale)
ซ่ึงประกอบด้วยมาตรวัดความใฝ่เรียนรู้ ตามลักษณะและขอบเขตความรู้ (epistemic curiosity scales)
2 ชุด คือ ‘การส�ำรวจความยินดีปรีดา (Joyous Exploration - JE)’ และ ‘ความไวในการรับรู้การถูกกีดกัน
(Deprivation Sensitivity - DS)’ ชุดที่สามคือ ‘มาตรวัดความใฝ่เรียนรู้เชิงสังคม (Social Curiosity scale
- SC)’ และมาตรเสริมอีก 2 ชุด คือ ‘มาตรวัดความคงทนต่อการกดดัน (Stress Tolerance - ST)’ และ
‘มาตรการแสวงหาความรู้สึกหวาดสยอง (Thrill Seeking - TS)’ มาตรวัดท้ัง 5 มิตินี้ เป็นมาตรประเมินค่า
7 ระดับ (1 – การบรรยายลักษณะไม่ตรงกับฉันเลย ถึง 7 – การบรยายลักษณะตรงกับฉันอย่างสมบูรณ์) ตาม
แบบของ Likert มิติละ 5 ข้อ รวม 25 ข้อ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างมาตรทั้ง 5
ชุด อยู่ในช่วง 0.73-0.81 ซ่ึงแสดงว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันค่อนข้างสูง นอกจากนี้ Kashdan และคณะ
ยังได้พัฒนามาตรใช้ระบุกลุ่มบุคคลท่ีใฝ่เรียนรู้ (curious people) 4 กลุ่ม คือ กลุ่มท่ีน่าประทับใจ (the
fascinated) กลุ่มนักแก้ปัญหา (the problem solvers) กลุ่มนักเน้นยํ้า (empathizers) และกลุ่มผู้หลีก
เล่ียง (the avoiders) โดยใช้คะแนนรวมจากแบบสอบถามวัดบุคลิกภาพ ความรู้ทางวิชาการ อารมณ์ และ
การบริโภค รวม 4 ด้าน ซ่ึงเป็นมาตรประเมินค่า 7 ระดับ มีข้อความบรรยายลักษณะกลุ่มบุคคลใฝ่เรียนรู้ทั้ง
4 กลุ่ม โดยให้ตัวเลือก 7 ตัวเลือก (1 – การบรรยายลักษณะไม่ตรงกับฉันเลย ถึง 7 – การบรรยายลักษณะ
ตรงกับฉันอย่างสมบูรณ์) อน่ึง Kashdan และคณะ ได้พัฒนามาตรการกระท�ำขับเคล่ือนคุณค่า (value-
driven actions) เป็นมาตรประเมินค่า 7 ระดับ แบบ Likert เพื่อวัดคุณค่า 6 ด้าน คือ ความปลอดภัย
ส่วนบุคคล (Personal Well-being – PW) คุณค่าทางคุณธรรม (Moral Values – MV) คุณค่าทางศาสนา
(Religious Values – RV) อุดมคติทางสังคม (Social Ideology – SI) และสภาวะแวดล้อม (Environment
– ENV) โดยมีข้อความระบุคุณค่าให้เลือกตอบ 7 ตัวเลือก (1 – คุณค่าไม่เก่ียวข้องกับฉันเลย ถึง 7 – คุณค่า
เก่ียวข้องกับฉันโดยตรง)
หลังจากการศึกษาวรรณกรรมที่เก่ียวข้องแล้ว ผู้วิจัยเห็นความส�ำคัญของความใฝ่เรียนรู้ และสนใจ
พัฒนาเครื่องมือวัดตามแนวคิดของ Spielberger & Reheiser (2009) รวม 3 ชุด คือ 1) STAI (Form Y)
State and Trait Anxiety Scales 2) State-Trait Anger Expression Inventory (STAXI-2) และ
3) State-Trait Personality Inventory (STPI) และเครื่องมือวัดตามแนวคิดของ Kashdan, Stiksma,
Disabato, McKnight, Bejier, Kaji, & Lazarus (2018) รวม 3 ชุด คือ 1) มาตรวัดความใฝ่เรียนรู้ 5 มิติ
(five-dimensional curiosity measure - The 5-DC Scale) 2) มาตรใชร้ ะบกุ ลมุ่ บคุ คลทใ่ี ฝเ่ รยี นรู้ (curious
people) และ 3) มาตรการกระท�ำขับเคล่ือนคุณค่า (value-driven actions) ส�ำหรับผู้เรียนชาวไทยต่อไป
ด้วยเหตุผลวา่ เคร่ืองมือวดั ในงานวจิ ยั ต่างประเทศมีคำ� อธบิ ายส่วนประกอบแตล่ ะมติ ิของมาตรวัดทกุ ชดุ และ
มีค�ำอธิบายขั้นตอนการพัฒนามาตรวัด และการด�ำเนินการวัด แต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีการรายงานผลการ
ตรวจสอบคุณสมบัตทิ างจิตมิตขิ องผลการวดั แต่อย่างใด ผูว้ จิ ัยจงึ เชือ่ วา่ ผลการวิจัยเพือ่ พัฒนาและตรวจสอบ
คุณสมบัติทางจิตมิติของมาตรท้ัง 2 ชุดครั้งน้ี จะเป็นประโยชน์ต่อวงการวิจัยการศึกษาในการพิจารณา
เลือกแบบวัดความใฝ่เรียนรู้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการ