Page 186 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 186
2-176 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
สาระด้านการทบทวนวรรณกรรมท่ีน�ำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย ซึ่งมีความส�ำคัญสูงมากต่อการ
วิจัยเพ่ือศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรอันจัดว่าเป็นการวิจัยคุณภาพสูงประเภทหน่ึง ดังน้ัน
ในตอนน้ีผู้เขียนจึงน�ำเสนอสาระสังเขปด้านกรอบแนวคิดในการวิจัย และสมมติฐานวิจัยดังนี้
กรอบแนวคิด หรือกรอบแนวคดิ วจิ ยั (conceptual framework or research conceptual frame-
work) กรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework) ได้มาจากกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (theoretical
framework) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) กรอบแนวคิดในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นแผนภาพแสดงความ
สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในการวิจัย รวมท้ังแผนภาพแสดงองค์ประกอบหรือโครงสร้างของตัวแปรแต่ละตัว
ในการวิจัยตามทฤษฎีท่ีเก่ียวข้องซึ่งนักวิจัยอ้างอิง 2) กรอบแนวคิดในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นแผนภาพ
แสดงความเก่ียวข้องสัมพันธ์ระหว่างประเด็นส�ำคัญที่นักวิจัยต้องการศึกษาตามทฤษฎีที่เก่ียวข้องซ่ึงนักวิจัย
อ้างอิง โดยท่ัวไปนักวิจัยเริ่มต้นสร้างกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี ตามหลักฐานที่ได้จากทฤษฎี/หลักการที่
เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยก่อน จากน้ันจึงปรับปรุงกรอบแนวคิดโดยใช้สาระที่ได้จากรายงานวิจัยที่เก่ียวข้อง
เพ่ิมเติมได้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย นักวิจัยเชิงคุณภาพบางคนอาจเร่ิมต้นสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย
โดยไม่ศึกษาทฤษฎี แต่สร้างจากกรอบแนวคิดที่ได้จากรายงานวิจัยหลายเร่ือง โดยน�ำมาบูรณาการเข้าเป็น
กรอบแนวคิดในการวิจัยเลยก็ได้ (Creswell, 2007, 2014) การน�ำเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยนิยมท�ำเป็น
สองแบบ ดังต่อไปน้ี
แบบแรก คือ แบบด้ังเดิม นักวิจัยน�ำเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยในรูปความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวแปรในการวิจัย โดยใช้สัญลักษณ์รูปส่ีเหล่ียมจัตุรัสหรือส่ีเหลี่ยมผืนผ้าแทนตัวแปร ใช้ลูกศรแทนเส้นทาง
อิทธิพลระหว่างตัวแปร โดยท่ีตัวแปรน้ันเป็นตัวแปรสังเกตได้ (observed variable) ค่าของตัวแปรท่ีได้มา
มีทั้งส่วนที่เป็นคะแนนจริง (true score) และความคลาดเคล่ือนในการวัด (measurement error)
แบบทส่ี อง คือ แบบมีตัวแปรแฝง เร่ิมใช้หลังจากมีการพัฒนาสถิติวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
(structural equation modeling - SEM) อันเป็นสถิติวิเคราะห์ข้ันสูง แยกตัวแปรเป็นสองประเภท คือ
สัญลักษณ์รูปวงกลม หรือวงรีแทนตัวแปรแฝง (latent variable) และสัญลักษณ์รูปส่ีเหล่ียมจตุรัส หรือ
สี่เหล่ียมผืนผ้าแทนตัวแปรสังเกตได้ (observed variable) ใช้ลูกศรแทนเส้นทางอิทธิพล และใช้ลูกศร
เส้นโค้งสองหัวแทนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร นิยมเขียนลูกศรจากซ้ายไปขวาและจากบนลงล่าง ในท่ีน้ี
สถติ วิ เิ คราะห์ SEM แยกความแปรปรวนในตวั แปรแตล่ ะตวั เปน็ 2 สว่ น คอื สว่ นทเ่ี ปน็ คะแนนจรงิ คอื ตวั แปร
แฝง และส่วนท่ีเป็นตัวแปรสังเกตได้ โดยแยกความคลาดเคลื่อนในการวัด ดังภาพท่ี 2.12