Page 189 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 189
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 2-179
1.4 ความเหมาะสมของสัดส่วนของวรรณกรรมภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ การประเมิน
คุณภาพในประเด็นนี้ เป็นการตรวจสอบว่าวรรณกรรมที่เก่ียวข้องมีสัดส่วนวรรณกรรมภาษาไทยและภาษา
ต่างประเทศเหมาะสม เน่ืองจากวิทยาการด้านการวิจัยของประเทศตะวันตกค่อนข้างก้าวหน้ากว่าของไทย
ประกอบกบั มแี นวนโยบายการนำ� ผลงานวจิ ยั ไปลงพมิ พเ์ ผยแพรใ่ นวารสารวชิ าการระดบั นานาชาตทิ ม่ี ี impact
factor สูง ดังนั้นนักวิจัยควรต้องค้นคว้าวรรณกรรมจากต่างประเทศด้วย โดยต้องมีสัดส่วนเหมาะสมกับ
ปัญหาวิจัยตามเกณฑ์ โดยทั่วไปควรมีรายการวรรณกรรมต่างประเทศในสัดส่วน 20-80% เกณฑ์ท่ีก�ำหนด
น้ียืดหยุ่น ปรับได้ตามลักษณะปัญหาวิจัย เช่น กรณีที่เป็นปัญหาเฉพาะของไทยอาจปรับปริมาณวรรณกรรม
ของไทยสูงขึ้นได้
1.5 ความถูกต้องของสาระในรายงานวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง การประเมินคุณภาพในประเด็นน้ี
เป็นการตรวจสอบในเชิงวิชาการว่าเน้ือหาสาระท่ีปรากฏในรายงานวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง มีความตรง
เชื่อถือได้ ไม่มีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อน มีหลักฐานครบถ้วน และมีสาระครอบคลุมองค์ความรู้ในเร่ืองที่
นักวิจัยจะท�ำวิจัย
1.6 ความเหมาะสมของวิธีการน�ำเสนอรายงาน การประเมินคุณภาพในประเด็นน้ี เป็นการ
ตรวจสอบล�ำดับข้ันตอนการเสนอ รูปแบบการน�ำเสนอ ลักษณะการน�ำเสนอ และภาษาท่ีใช้ในการน�ำเสนอ
รายงานวรรณกรรมที่เกี่ยวขอ้ งวา่ มีความเหมาะสม ใชส้ ไตลก์ ารเขยี นและสำ� นวนของนกั วจิ ัยเอง มิใช่การลอก
คัด ตัดต่อ หรือการลอกเลียนงานผู้อื่น และมีส่วนสรุปความคิดเห็นของนักวิจัยเพิ่มเติม รวมทั้งมีรูปแบบ
การพิมพ์รายการอ้างอิงและบรรณานุกรมถูกต้องตามหลัก และระเบียบของสถาบัน
1.7 การใชป้ ระโยชนจ์ ากรายงานวรรณกรรมทเ่ี กยี่ วขอ้ ง การประเมินคุณภาพในประเด็นนี้ เป็นการ
ตรวจสอบว่ารายงานวรรณกรรมที่เก่ียวข้องมีเนื้อหาสาระท่ีเกี่ยวข้องกับงานวิจัยจริง สาระที่นักวิจัยเสนอใน
รายงานทกุ สว่ นตอ้ งมีการน�ำไปใชป้ ระโยชนใ์ นรายงานวิจัย ไม่มีสว่ นใดเลยที่ไมเ่ กี่ยวขอ้ งเชือ่ มโยงกับงานวิจัย
หรือน�ำเสนอโดยมิได้น�ำไปใช้ประโยชน์
1.8 ความถกู ตอ้ งของกรอบแนวคดิ และสมมตฐิ านวิจยั การประเมินคุณภาพในประเด็นน้ี เป็นการ
ตรวจสอบในเชิงวิชาการว่ากรอบแนวคิดในการวิจัยท่ีเสนอในตอนท้ายของรายงานการทบทวนวรรณกรรม
1) แสดงความเก่ียวข้อง/ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรถูกต้องตรงตามท่ีรายงานการทบทวน
วรรณกรรมระบุไว้ รวมท้ังภาพกรอบแนวคิดถูกต้องตรงตามหลักการเสนอภาพโครงสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปรในการวิจัย และ 2) สมมติฐานวิจัยท่ีน�ำเสนอต่อจากกรอบแนวคิดในการวิจัยสอดคล้องกับ
ลักษณะความเกี่ยวข้อง/ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปร ถูกต้องตรงตามกรอบแนวคิดในการวิจัย
และใช้ภาษาในการเขียนสมมติฐานวิจัยถูกต้องตรงตามหลักวิชาวิจัย
1.9 ศกั ยภาพและความพยายามของนกั วจิ ยั ในการจดั ทำ� รายงาน การประเมินคุณภาพในประเด็นนี้
เป็นการตรวจสอบว่านักวิจัยมีความสามารถในการจัดท�ำรายงานวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง โดยตรวจสอบว่า
รายงานวรรณกรรมที่เก่ียวข้องเรียบเรียงจากความเข้าใจ/การวิเคราะห์ท่ีลึกซึ้ง และความรู้ที่ลุ่มลึกของ
นักวิจัย ด้วยภาษาส�ำนวนของนักวิจัยตลอดท้ังรายงาน และนักวิจัยมีความตั้งใจและมีความพยายาม
อย่างเต็มท่ีในการท�ำรายงานวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้องให้มีคุณภาพ