Page 190 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 190

2-180 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

       ประเด็นการประเมินคุณภาพรายงานวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องท้ัง 9 ประเด็นนี้ เป็นประเด็นหลักเพียง
พอที่นักวิจัยใช้ในการประเมินคุณภาพรายงานวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องได้ แต่ในการประเมินจริง นักวิจัยอาจ
พิจารณาเพิ่มเติมประเด็นการประเมินได้อีกตามความจ�ำเป็น ประเด็นการประเมินท้ังหมดน้ีนักวิจัยสามารถ
ใช้ประเมินคุณภาพรายงานวรรณกรรมในงานวิจัยท่ัวไป และใช้ประเมินคุณภาพรายงานวรรณกรรมท่ี
เก่ียวข้องของตนเอง เพื่อปรับปรุงให้รายงานมีคุณภาพมากยิ่งข้ึนได้ด้วย

       วิธีการประเมินคุณภาพรายงานวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง นิยมใช้แบบประเมินชนิดสองตัวเลือก (ใช่/
ไม่ใช่) หรือชนิดหลายตัวเลือกที่มีการให้คะแนนแบบรูบริคส์ (rubric scoring) โดยที่ประเด็นการประเมิน
ยงั คงใช้แบบเดียวกันได้ ในทีน่ ้ีผู้เขียนเสนอตวั อยา่ งแบบประเมินคณุ ภาพวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง ซึ่งปรบั ปรุง
จากแบบประเมินคุณภาพรายงานวิจัย ส�ำหรับการวิเคราะห์อภิมานของ นงลักษณ์ วิรัชชัย และคณะ (2533,
2554, 2557) อนั เปน็ แบบประเมนิ ทจี่ ดั ท�ำขนึ้ ตามแนวคดิ ของ Cooper & Hedges (1994) และมกี ารปรบั ปรงุ
ตามแนวคิดของ Cooper, Hedges & Valentine (2009) และ Valentine (2009) ดังตัวอย่างแบบประเมิน
ชนิด 5 ตัวเลือก ที่มีการให้คะแนนแบบรูบริคส์ ดังตารางท่ี 2.4-2.5 ต่อไปน้ี

                      ตารางที่ 2.4 แบบประเมนิ คุณภาพวรรณกรรมทีเ่ กยี่ วขอ้ ง

ข้อ ลักษณะวรรณกรรมทเ่ี กย่ี วขอ้ ง                          ผลการประเมนิ
                                                           01234
1 ความสอดคล้องของวรรณกรรมกับปัญหาหรือวัตถุประสงค์การวิจัย
2 ความทันสมัยของวรรณกรรม
3 ความสมบูรณ์ของวรรณกรรม
4 ความเหมาะสมของสัดส่วนวรรณกรรมภาษาไทยและต่างประเทศ
5 ความถูกต้องของสาระในรายงานวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง
6 ความเหมาะสมของวิธีการน�ำเสนอรายงาน
7 การใช้ประโยชน์จากรายงานวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง
8 ความถูกต้องของกรอบแนวคิดและสมมติฐานวิจัย
9 ศักยภาพและความพยายามของนักวิจัยในการจัดท�ำรายงาน
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195