Page 188 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 188
2-178 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
เร่ืองท่ี 2.3.3 ก ารประเมนิ และการใชป้ ระโยชนร์ ายงานผลการทบทวน
วรรณกรรม
แม้ว่าจะได้จัดท�ำรายงานวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องเสร็จสิ้นแล้ว แต่งานของนักวิจัยยังไม่จบ ยังมีภาระ
งานต่อเน่ืองอีก 2 เรื่อง คือ งานประเมินคุณภาพรายงานวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง และงานใช้ประโยชน์รายงาน
วรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง ภาระงานทั้งสองเร่ืองน้ีเป็นภาระงานท่ีนักวิจัยต้องท�ำท้ังในฐานะใช้ประโยชน์งานวิจัย
และผู้ผลิตงานวิจัย ดังที่จะได้น�ำเสนอสาระแยกเป็น 2 ตอน ดังต่อไปนี้
1. การประเมินคณุ ภาพวรรณกรรมทีเ่ กย่ี วข้อง
คุณภาพของรายงานวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง นอกจากจะข้ึนอยู่กับคุณภาพของรายงานว่านักวิจัยได้
จัดท�ำรายงานวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง ที่ได้ผลตามวัตถุประสงค์ของรายงานอย่างครบถ้วนแล้ว ยังขึ้นอยู่กับ
ความสามารถและความพยายามของนักวิจัยในการจดั ท�ำรายงานด้วย โดยท่ัวไปการประเมนิ คณุ ภาพรายงาน
วรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง มีประเด็นการประเมินด้านคุณภาพวรรณกรรมรวม 8 ประเด็น และประเด็นการ
ประเมินด้านความสามารถ และความพยายามของนักวิจัยในการจัดท�ำรายงานอีก 1 ประเด็น รวมเป็น 9
ประเด็น (นงลักษณ์ วิรัชชัย และคณะ, 2551; Cooper & Hedges, 1994) ดังน้ี
1.1 ความสอดคล้องของวรรณกรรมกับวัตถุประสงค์หรือปัญหาวิจัย การประเมินคุณภาพใน
ประเด็นนี้ เป็นการตรวจสอบว่ารายงานวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง มีเนื้อหาสาระสนองจุดมุ่งหมายของการศึกษา
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องตามท่ีควรจะเป็น นักวิจัยแสดงให้เห็นว่าผลจากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องน้ัน
ช่วยให้นักวิจัยก�ำหนดปัญหาวิจัยได้ชัดเจน สร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย ก�ำหนดแบบแผนวิจัย และวิธี
ด�ำเนินงานวิจัยได้ รวมท้ังมีเน้ือหาสาระส�ำหรับการอภิปรายผลการวิจัย
1.2 ความทันสมัยของวรรณกรรม การประเมินคุณภาพในประเด็นนี้ เป็นการตรวจสอบว่า
วรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องทุกรายการมีความใหม่ ไม่ล้าสมัย พิจารณาจากอายุวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง ท่ีมีการ
พิมพ์เผยแพร่ไม่เกิน 5 ปี เป็นเกณฑ์ ดังน้ัน กรณีท่ีมีวรรณกรรม/งานวิจัยจ�ำนวนมากมีการพิมพ์เผยแพร่มา
เกินกว่า 5 ปี หรือเรียกว่ามีอายุมากกว่า 5 ปี แสดงว่าสาระในการวิจัยอาจไม่ทันสมัยเท่าท่ีควร
1.3 ความสมบูรณ์ของวรรณกรรม การประเมินคุณภาพในประเด็นนี้ เป็นการตรวจสอบว่า
วรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องมีปริมาณพอเพียงตามเกณฑ์ในการจัดท�ำรายงานวิจัยที่ดี เช่น ร่างโครงการเสนอท�ำ
วิจัย (research proposal) ควรมีวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องอย่างน้อย 5-10 รายการ และรายงานวิจัย ควรมี
วรรณกรรมที่เก่ียวข้องอย่างน้อย 15-20 รายการ เป็นต้น เกณฑ์ที่ก�ำหนดน้ียืดหยุ่น ปรับได้ตามลักษณะ
ปัญหาวิจัย เช่น กรณีปัญหาวิจัยใหม่มีวรรณกรรมที่เก่ียวข้องน้อย อาจปรับปริมาณลดลง เป็นต้น