Page 167 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 167

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2-157

และความมีวินัยในตนเอง (self-regulation)” นอกจากน้ีนักวิจัยวงการศึกษา Abakpa, Abah, & Agbo-
Egwu (2018) ได้ทำ� การวิจยั และพบวา่ นอกจากความใฝ่เรียนรู้จะมีอทิ ธิพลตอ่ ผลการเรยี นรู้วิทยาศาสตร์แลว้
ยังมีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วย ผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นคุณประโยชน์ของความ
ใฝ่เรียนรู้ในการพัฒนาการเรียนการสอน โดยเฉพาะในช่วงเวลาปัจจุบันท่ีประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจาก
ยุคอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุคดิจิทัล หรือยุค Thailand 4.0 อย่างเป็นทางการ

       เม่ือพิจารณาสถานการณ์ของประเทศไทย วงการวิจัยการศึกษาของไทยโดยเฉพาะกลุ่มคณาจารย์
และนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เร่ิมตื่นตัวและให้ความสนใจท�ำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนใน
ยุคดิจิทัลกันมากข้ึน ประกอบกับองค์การท้ังภาครัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ
ในการวิจัย จึงมีการวิจัยออกแบบเพ่ือพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผล
การเรียนการสอนในยุคดิจิทัลกันมากข้ึนเพื่อพัฒนาตนเอง เช่นเดียวกับคณาจารย์และนิสิตนักศึกษาระดับ
บัณฑิตศึกษาในต่างประเทศ

       ประเด็นท่ีแตกต่างในด้านการพัฒนาบุคลากรยุคดิจิทัลระหว่างบุคลากรทางการศึกษาของไทยและ
ตา่ งประเทศ ผวู้ จิ ยั พบวา่ การสนบั สนนุ การพฒั นาดงั กลา่ วในตา่ งประเทศมสี งู มากกวา่ ของไทย เพราะมอี งคก์ าร
ไม่แสวงหาก�ำไรจ�ำนวนมาก ตัวอย่างเช่น องค์การ Accenture (2015) ซ่ึงให้การสนับสนุนคณาจารย์และ
นกั วจิ ยั ทง้ั ในดา้ นการวจิ ยั เพอื่ จดั ทำ� สอ่ื การสอน พฒั นาวธิ กี ารเรยี นการสอน ดำ� เนนิ การวดั และการประเมนิ ผล
การเรียนการสอน รวมทั้งการวิจัยเพ่ือสังเคราะห์รายงานวิจัย และรายงานการวัดและประเมินผลการศึกษา
นอกจากน้ีองค์การยังสนับสนุนการจัดประชุมสัมมนาแลกเปล่ียนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยและบุคลากรทาง
การศึกษา และการจัดท�ำเอกสารเก่ียวกับหลักการ วิธีการพัฒนา และการประเมินคุณภาพนวัตกรรมการเรียน
การสอน การประเมิน และการวจิ ยั เพ่ือเปน็ แนวทางสำ� หรบั บุคลากรทางการศึกษา การสนบั สนุนและกิจกรรม
ดังกล่าวจึงมีคุณค่า คุณประโยชน์ และเกิดผลกระทบช่วยให้การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัล
เหมาะสมมากขึ้นทั้งในด้านปริมาณและด้านคุณภาพ

       จากความแตกต่างในด้านการพัฒนาบุคลากรยุคดิจิทัลระหว่างบุคลากรทางการศึกษาของไทยและ
ต่างประเทศดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นชัดว่าการพัฒนาบุคลากรยุคดิจิทัลของไทยยังขาดหน่วยงานที่มี
ความรู้ความช�ำนาญในการพัฒนา และให้การสนับสนุนส่งเสริมให้คณาจารย์และนักวิจัยทั้งในด้านการวิจัย
เพื่อจัดท�ำส่ือการสอน พัฒนาวิธีการเรียนการสอน ด�ำเนินการวัดและการประเมินผลการเรียนการสอน
รวมท้ังการวิจัยได้อย่างเหมาะสมกับยุคดิจิทัล ผู้วิจัยเห็นความจ�ำเป็นด้านการท�ำวิจัยเพ่ือพัฒนา ‘มาตรวัด
ความใฝ่เรียนรู้ (curiosity) ในยุคดิจิทัลท่ีทันสมัย แบบ 5 ตัวบ่งชี้’ ตามผลงานของ Birenbaum, Alhija,
Shilton, Kimron, Rosanski, & Shahor (2019) เพ่ือศึกษาปัญหาวิจัย 2 ประเด็น คือ 1) เมื่อเทียบกับ
บุคลากรทางการศึกษาต่างประเทศจากผลการวิจัย บุคลากรทางการศึกษาของไทยมีความใฝ่เรียนรู้ยุคดิจิทัล
มากนอ้ ยเพยี งใด และ 2) กลมุ่ บุคลากรไทยทีม่ ีความใฝเ่ รียนร้ใู นยคุ ดิจทิ ัลในระดับสงู มคี วามสมั พนั ธร์ ะหวา่ ง
ความใฝ่เรียนรู้ในยุคดิจิทัลกับตัวแปรด้านคุณลักษณะของผู้เรียน ตัวแปรลักษณะวิธีการ กิจกรรมการเรียน
การสอน และกิจกรรมการประเมินผลการเรียนของผู้เรียนอย่างไร ผลการวิจัยท่ีได้จากปัญหาวิจัยดังกล่าว
เป็นแนวทางเชิงประจักษ์ส�ำหรับการปรับปรุงการพัฒนาบุคลากรไทยยุคดิจิทัลให้เหมาะสมต่อไป
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172