Page 166 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 166
2-156 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
จากผลการคน้ คนื วรรณกรรมตามวธิ ที ่ีก�ำหนดในตอนตน้ ผ้วู จิ ัยได้เอกสารเกยี่ วกบั นิยามและ
การพัฒนามาตรวัดผลการเรียนด้านความใฝ่เรียนรู้ (curiosity) และมาตรวัดตัวแปรผลการเรียนรู้ยุคดิจิทัล
ย้อนหลังไปถึงปี 2000 และ 2010 ตามล�ำดับ จ�ำนวน 21 และ 8 รายการ จากนั้นผู้วิจัยน�ำเอกสารท้ังหมด
มาอา่ น และคดั กรองเฉพาะสว่ นทเ่ี กย่ี วกบั “นยิ ามและการพฒั นามาตรวดั ความใฝเ่ รยี นรู้” และ “มาตรวดั ผล
การเรียนรู้ด้านความใฝ่เรียนรู้ยุคดิจิทัล” เท่าน้ัน ได้งานวิจัยจ�ำนวน 14 และ 2 รายการ ตามล�ำดับ งานวิจัย
ท้ังหมดพิมพ์เผยแพร่ช่วงปี ค.ศ. 2015-2019 จากการอ่านบทคัดย่อและข้อค้นพบ ผู้วิจัยคัดเฉพาะงานวิจัย
ท่ีให้ความส�ำคัญแก่ “การพัฒนามาตรวัดความใฝ่เรียนรู้” ไว้ 3 เร่ือง และ “การพัฒนามาตรวัดผลการ
เรยี นรยู้ คุ ดจิ ทิ ลั ” ไวเ้ พยี งเรอื่ งเดยี ว เพอ่ื นำ� มาใชใ้ นการจดั ทำ� รายงานการทบทวนวรรณกรรมเฉพาะดา้ นความ
เป็นมาและความส�ำคัญของปัญหาวิจัย โดยก�ำหนดแนวค�ำถามท่ีต้องการค�ำตอบจากการทบทวนวรรณกรรม
เพียง 2 ข้อ ดังน้ี 1) ประวัติความเป็นมา รวมท้ังทฤษฎีท่ีเกี่ยวข้องกับความใฝ่เรียนรู้มีสาระอย่างไร และ
2) ความใฝ่เรียนรู้ มีความหมายว่าอย่างไร และมีคุณประโยชน์ต่อวงการการศึกษา โดยเฉพาะด้านการเรียน
การสอนในยุคดิจิทัลอย่างไร โดยท่ีผลการทบทวนวรรณกรรมจากค�ำถามสองข้อดังกลา่ วน�ำเสนอในสว่ น
‘บทนำ� ’ ของบทความวจิ ยั เพอ่ื ใหค้ วามรแู้ กผ่ อู้ า่ นดา้ นความหมายของ ‘ความใฝเ่ รยี นร’ู้ และความส�ำคัญต่อ
“การเรียนการสอนในยุคดิจิทัล” ดังผลการทบทวนวรรณกรรมที่น�ำเสนอหัวข้อ “ความเป็นมาและความ
ส�ำคัญของปัญหาวิจัย” ในตอนท่ีสองดังนี้
ตอนท่ีสอง รายงานผลการทบทวนวรรณกรรม
การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงของมาตรความใฝเ่ รียนรวู้ ทิ ยาศาสตร์ในยุคดิจิทัล
A Development and Validation of the Science Learning Curiosity Scale in Digital Age
นงลักษณ์ วิรัชชัย
ความเป็นมาและความสำ� คัญของปญั หาวิจัย
ตัวแปรด้านแรงจูงใจในการเรียนตัวแปรหน่ึงที่มีคุณค่ามาก คือ ความใฝ่เรียนรู้ (curiosity) ซึ่งมี
ประวัติการพัฒนายาวนาน การพัฒนาระยะเป็นผลงานของ William James เม่ือปี 1890 และ Abraham
Maslow ในปี 1943 ซ่ึงได้พิจารณาก�ำหนดว่า “ความใฝ่เรียนรู้ เป็นแรงจูงใจขั้นพื้นฐานทางจิตวิทยา” และ
ให้นิยามว่า “ความใฝ่เรียนรู้ หมายถึง แรงกระตุ้น หรือสิ่งเร้า ท่ีช่วยให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้และ
ประสบการณ์ใหม่” (Birenbaum, Alhija, Shilton, Kimron, Rosanski, & Shahor, 2019) ต่อจากนั้นมี
งานวิจัยจ�ำนวนมากที่เริ่มศึกษาวิจัยตัวแปรความใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเน่ือง โดยเน้นการศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างความใฝ่เรียนรู้กับตัวแปรด้านคุณลักษณะผู้เรียน และตัวแปรลักษณะวิธีการและกิจกรรมการเรียน
การสอน ซึ่ง Mussel (2010) สรุปผลการวิจัยดังกล่าวได้ว่า “ความใฝ่เรียนรู้ มีความสัมพันธ์กับตัวแปรการ
เปดิ รบั ประสบการณ์ (openness to experience) ความคดิ เหน็ และแนวคดิ ของบคุ คล (people’s opinions,
and ideas) ความยืดหยุ่นทางวิชาการ หรือพุทธศึกษา (cognitive flexibility) ความต้องการจ�ำเป็นด้าน
การรู้คิด (need for cognition) ความอดทนต่อแรงกดดนั (stress tolerance) ความกลา้ เสี่ยง (risk taking)