Page 150 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 150
2-140 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
เสนอวรรณกรรมทเ่ี กย่ี วขอ้ ง จงึ เปน็ การเรยี บเรยี งสาระเพอ่ื เสนอความรทู้ ไ่ี ดจ้ ากการศกึ ษาคน้ ควา้ วรรณกรรม
ท่ีเกี่ยวข้องในประเด็นที่รู้แล้ว และเพ่ือเสนอความคิดของนักวิจัยที่จะท�ำวิจัยในประเด็นที่ยังไม่รู้ รวมท้ัง
ประเด็นที่จะได้เรียนรู้จากการวิจัยท่ีจะท�ำ การน�ำเสนอสาระเรื่อง “หลักการน�ำเสนอ ‘รายงานการทบทวน
วรรณกรรม’ ท่ีเกี่ยวข้อง” ในตอนนี้ ผู้เขียนสรุปสาระจากประสบการณ์วิจัยของผู้เขียน และสาระเร่ือง
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ที่ได้จากเอกสาร/หนังสือของ นงลักษณ์ วิรัชชัย (2538, 2542 และ 2543); นงลักษณ์
วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช (2543); Babbie (2007) Best and Kahn (1993); Cash (1983); Cozby
(1995); Dooly (1990); Glass, McGaw and Smith (1981); Kerlinger and Lee (2000); Neuman
(1991); และ Van Til (1986) สรุปสาระได้ดังต่อไปนี้
หัวใจส�ำคัญอันเป็นหลักการของ ‘รายงานการทบทวนวรรณกรรม’ อันเป็นรายงานน�ำเสนอ
วรรณกรรมท่ีเก่ียวข้องกับการวิจัย คือ การส่ือสารกับผู้อ่านรายงานวิจัยให้ผู้อ่านเข้าใจและเข้าถึงสาระที่นัก
วิจัยน�ำเสนอรวม 4 ด้าน คือ 1) สาระด้านเหตุผล ความจ�ำเป็น หรือท่ีมาของปัญหาวิจัย 2) สาระด้านความรู้
จากทฤษฎีและจากผลงานวิจัยในอดีต อันเป็นพ้ืนฐานแนวคิดส�ำหรับการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยและ
สมมติฐานวิจัย 3) สาระด้านแนวทางการด�ำเนินการวิจัย และ 4) สาระด้านคุณค่า คุณประโยชน์ที่จะได้รับ
จากการวิจัย กล่าวโดยสรุป หลักการส�ำคัญของการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง คือ การน�ำเสนอสาระ
อย่างถูกต้อง ชัดเจน สมบูรณ์ในระยะเวลาส้ัน เพ่ือให้ผู้อ่านเข้าใจและเข้าถึงที่มา ความหมาย ความส�ำคัญ
ของปัญหาวิจัย หลักทฤษฎีและผลงานในอดีตท่ีเป็นพ้ืนฐานการวิจัย แนวทางการวิจัย และคุณค่าที่จะได้รับ
จากการวิจัย หลักการดังกล่าวสรุปได้เป็น 4 ประเด็นดังต่อไปนี้
2.1 หลกั การนำ� เสนอรายงานทเี่ หมาะสมกบั ผอู้ า่ น การน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้องต้องค�ำนึงถึง
กลุ่มผู้อ่านที่เป็นเป้าหมายหลัก ซ่ึงประกอบด้วยผู้อ่าน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มนักวิชาการ การน�ำ
เสนอรายงานวิจัยฉบับสรุปส�ำหรับผู้บริหาร ใช้หลักการเสนอรายงานวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องแบบสรุปสาระ
สน้ั กะทดั รดั ไมม่ ศี พั ทเ์ ทคนคิ มากนกั ดงั นน้ั รายงานวจิ ยั ฉบบั สมบรู ณโ์ ดยเฉพาะโครงการวจิ ยั ทท่ี ำ� ตามความ
ต้องการของหน่วยงาน นักวิจัยส่วนใหญ่จึงต้องเพิ่ม “บทสรุปส�ำหรับผู้บริหาร” ไว้ด้วย ส่วนรายงานวิจัย
ฉบับสมบูรณ์หรือบทความวิจัยส�ำหรับนักวิชาการท่ัวไป ใช้หลักการเสนอรายงานการทบทวนวรรณกรรม
(ที่เกี่ยวข้อง) แบบสมบูรณ์ พร้อมสาระทางเทคนิค ในกรณีเป็นเทคนิคท่ีซับซ้อน และผู้อ่านทุกคนไม่จ�ำเป็น
ต้องรู้ ให้น�ำเสนอในภาคผนวกส�ำหรับผู้อ่านเฉพาะกลุ่มท่ีสนใจทางเทคนิค
2.2 หลักการน�ำเสนอรายงานตามวัตถุประสงค์วิจัย การน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องต้องตรง
ตามวัตถุประสงค์วิจัยเสมอ เพราะถ้าไม่ตรงตามวัตถุประสงค์วิจัย สาระจากวรรณกรรมจะกลายเป็น
‘วรรณกรรมท่ีไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัย’ ดังนั้น นักวิจัยจึงต้องค้นคืนวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องจากฐานข้อมูล
แล้วอ่านเพ่ือคัดกรองไว้เฉพาะ “วรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องกับการวิจัย” เท่านั้น และเนื่องจากงานวิจัยส่วนใหญ่
มวี ตั ถปุ ระสงคว์ จิ ยั หลายขอ้ นกั วจิ ยั จงึ ตอ้ งเรยี บเรยี งรายงานวรรณกรรมทเี่ กยี่ วขอ้ ง ใหต้ รงตามวตั ถปุ ระสงค์
วิจัยด้วย ด้วยหลักการดังกล่าวจะเห็นได้ว่ารายงานวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้องน้ัน แม้นักวิจัยสองคนจะศึกษา
วรรณกรรมชุดเดียวกันเพราะมีปัญหาวิจัยคล้ายกัน แต่ปัญหาวิจัยมีความเข้ม/ความลึกต่างกัน การน�ำเสนอ
รายงานวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องของนักวิจัยท้ังสองคนนั้น ย่อมมีส่วนท่ีต่างกันเสมอ