Page 149 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 149
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 2-139
การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมานโดยท่ัวไป มีการด�ำเนินการแยกเป็น 2 ตอน
คือ 1) การน�ำผลการวิจัยมาประมาณค่าดัชนีมาตรฐานก่อน เพื่อให้ผลงานวิจัยทุกเรื่องอยู่ในหน่วยเดียวกัน
จากนั้นจึงตรวจสอบว่าดัชนีมาตรฐานเหล่าน้ันแตกต่างกันอย่างไร ถ้าไม่แตกต่างกันก็สามารถสรุปสังเคราะห์
งานวิจัยได้ และ 2) กรณีท่ีดัชนีมาตรฐานแตกต่างกัน ต้องศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมาตรฐานกับ
คุณลักษณะงานวิจัย เพ่ืออธิบายว่าผลการวิจัยแตกต่างกันเนื่องจากความคลาดเคล่ือน หรือเน่ืองมาจาก
ตัวแปรปรับ หรือตัวแปรก�ำกับ (moderator variables) ที่เป็นคุณลักษณะใดของงานวิจัย
วิธกี ารวเิ คราะหอ์ ภิมาน (meta analysis) แยกยอ่ ยเปน็ 5 วธิ ี คอื 1) วธิ ขี อง Glass, McGaw
and Smith (1981) เน้นการใช้ขนาดอิทธิพล (effect size) เป็นหน่วยวิเคราะห์ 2) วิธีของ Kulik and
Kulik (1989) ใช้แนวคิดของ Glass แต่ใช้ผลการวิจัยแต่ละเร่ืองเป็นหน่วยการวิเคราะห์ 3) วิธีของ
Hedges and Olkin (1985) และวิธีของ Rosenthal & Rosnow (1991) เน้นการทดสอบความเป็น
เอกพันธ์ของขนาดอิทธิพลก่อนการสังเคราะห์ และการใช้ค่าสถิติทดสอบ Q ซ่ึงมีความถูกต้องมากข้ึน 4) วิธี
ของ Hunter and Schmidt (1990) เนน้ การสงั เคราะหค์ า่ สมั ประสทิ ธส์ิ หสมั พนั ธท์ ปี่ รบั แกค้ วามคลาดเคลอื่ น
ใช้มากในการสรุปนัยท่ัวไปของความตรง (validity generalization) และจิตมิติ (psychometrics) และ
5) วิธีของ Mullen (1989) เน้นการสังเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ท่ีเปล่ียนเป็น Fisher’s z โดยใช้
โปรแกรม BASIC Meta-analysis ทั้งนี้การวิเคราะห์อภิมานทุกวิธีอาจให้ผลต่างกันเล็กน้อย Adams &
Schvaneveldt (1991) กล่าวว่าการวิเคราะห์อภิมานเป็นวิธีการสังเคราะห์งานวิจัยท่ีใช้กันแพร่หลายมาก
ยิ่งข้ึน Glass, McGaw and Smith (1981) กล่าวว่า การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมาน
อาจท�ำได้ 2 วิธี คือ 1) ท�ำเป็นงานวิจัย และ 2) ท�ำเป็นรายงานวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง ในรายงานวิจัยก็ได้
เมื่อพิจารณาเฉพาะงานวิจัยด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา นักวิจัยสามารถน�ำรูปแบบ
การเสนอวรรณกรรมทุกรูปแบบที่น�ำเสนอข้างต้น มาใช้ในการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องได้เช่นเดียวกัน
การเลือกใช้แบบใดขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการจ�ำแนกประเภทท้ัง 5 เกณฑ์ ที่น�ำเสนอข้างต้น คือ วัตถุประสงค์
ของการวิจัย ลักษณะเน้ือหาสารสนเทศ วิธีการสังเคราะห์ ระดับการเรียนรู้ และรูปแบบการสังเคราะห์
รูปแบบการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เก่ียวข้องทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น ไม่ว่านักวิจัยจะเลือกใช้
รูปแบบใดรูปแบบหน่ึง หรือเลือกใช้รูปแบบหลายรูปแบบผสมผสานกัน ล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือเพื่อ
ส่ือสารให้ผู้อ่านรายงานวิจัย ได้เห็นความต่อเนื่องของความรู้จากผลงานวิจัยในอดีตกับความรู้ใหม่ท่ีจะได้
จากงานวิจัยที่จะทำ� ใหม่ วิธีการน�ำเสนอรายงานวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องทุกรูปแบบมหี ลักและข้ันตอนเดียวกัน
2. หลกั การน�ำเสนอ “รายงานการทบทวนวรรณกรรม”
โดยท่ีนักวิจัยส่วนใหญ่ท�ำวิจัยโดยอาศัยความรู้พ้ืนฐานจากผลงานวิจัยในอดีต รายงานวิจัย
ส่วนใหญ่จึงเป็นการวิจัยต่อยอด (extension) สืบเน่ืองจากผลงานวิจัยในอดีตในเรื่องที่ตรงกับปัญหาวิจัยท่ี
นักวิจัยจะท�ำ วัตถุประสงค์ส�ำคัญของการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง คือ การน�ำเสนอสาระจาก
วรรณกรรมในอดีตท่ีเกี่ยวข้องกับงานวิจัยท่ีจะท�ำว่า มีประเด็นใดบ้างท่ีรู้แล้ว และมีประเด็นใดบ้างที่ยังไม่รู้
และเป็นประเด็นที่จะได้เรียนรู้จากงานวิจัยท่ีจะท�ำ อันเป็นการสร้างเสริมเพิ่มองค์ความรู้ท่ีมีอยู่เดิม การน�ำ