Page 151 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 151
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง 2-141
2.3 หลักการวางโครงร่าง (outline) รายงานการทบทวนวรรณกรรม การวางโครงร่างรายงานการ
ทบทวนวรรณกรรม (ที่เก่ียวข้อง) เป็นสิ่งที่นักวิชาการและนักวิจัยยึดถือปฏิบัติตลอดมา เพราะโครงร่าง
รายงานการทบทวนวรรณกรรม เป็นกรอบ/แนวทาง/รูปแบบส�ำหรับการจัดท�ำ “รายงานการทบทวน
วรรณกรรม” ลักษณะโครงร่างรายงานการทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วยหัวข้อท่ีเริ่มจากภาพรวม
กว้าง ๆ แล้วค่อย ๆ แคบลง เพื่อน�ำเข้าสู่ปัญหาวิจัย กรอบแนวคิด (conceptual framework) ส�ำหรับการ
วิจัย และสมมติฐานวิจัย มีหลักการส�ำคัญในการก�ำหนดหัวข้อในโครงร่างรายงานการทบทวนวรรณกรรม
รวม 3 ประการ คือ 1) ทุกหัวข้อต้องมีลักษณะตรงกรณี (relevance) หรือเก่ียวข้อง (related) กับปัญหา
วิจัย 2) ทุกหัวข้อต้องต่อเน่ืองเช่ือมโยงถึงกัน และ 3) ทุกหัวข้อมีส่วนที่นักวิจัยน�ำไปใช้สร้างกรอบแนวคิด
และสมมติฐานวิจัย หรือน�ำไปใช้ในงานวิจัยส่วนอ่ืนได้ ด้วยหลักการดังกล่าว โครงร่างรายงานการทบทวน
วรรณกรรมของนักวิจัยสองคนท่ีศึกษาวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้องชุดเดียวกัน จึงอาจมีหัวข้อในโครงร่างรายงาน
วิจัยแตกต่างกันได้ ตามลักษณะของงานวิจัย และปัญหาวิจัยของแต่ละคน
2.4 หลักการใช้ภาษาในการเขียนรายงานการทบทวนวรรณกรรม การเขียนรายงานการทบทวน
วรรณกรรม (ท่ีเก่ียวข้อง) มีหลักการใช้ภาษาเช่นเดียวกับหลักการในการเขียนผลงานวิชาการอื่น ๆ ประกอบ
ด้วย หลักการที่ส�ำคัญ คือ การใช้ภาษาท่ีถูกต้องตามหลักภาษา และได้รายงานวรรณกรรมที่เก่ียวข้องที่มี
คณุ สมบตั ิ ‘เจด็ ความ’ (seven C’s) ประกอบดว้ ย ความถกู ตอ้ ง (correctness) ความมเี หตผุ ลรองรบั มน่ั คง
(cogency) ความกระจ่างแจ้ง (clarity) ความสมบูรณ์ (completeness) ความกะทัดรัด (concise) ความ
สม่ําเสมอหรือความคงเส้นคงวา (consistency) และความเช่ือมโยง (concatenation) ส่วนการจัดพิมพ์
รายงานต้องยึดหลักการพิมพ์ตามรูปแบบ (format) การพิมพ์เอกสารทางวิชาการที่สถานศึกษาก�ำหนด
3. ขน้ั ตอนการนำ� เสนอรายงานการทบทวนวรรณกรรม
การน�ำเสนอรายงานการทบทวนวรรณกรรม เป็นการเขียนรายงานผลการสังเคราะห์ท่ีได้จากการ
ศึกษาวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้องตามรูปแบบและหลักการที่นักวิจัยใช้ มีขั้นตอนการด�ำเนินงานเช่นเดียวกับการ
เขียนรายงานหรือผลงานวิชาการทั่วไป สรุปได้เป็น 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
3.1 การวางโครงร่าง (Outline) รายงาน นักวิจัยควรก�ำหนดโครงร่างของสาระที่จะท�ำรายงานให้
สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง ซึ่งนักวิจัยได้ก�ำหนดไว้ การก�ำหนดโครงร่าง
อาจทำ� ไดท้ งั้ แบบกำ� หนดหวั ขอ้ และ/หรอื แบบกำ� หนดประโยคสำ� คญั การกำ� หนดหวั ขอ้ ในการนำ� เสนอรายงาน
วรรณกรรมที่เก่ียวข้อง อาจน�ำเสนอจากเร่ืองทั่วไปแล้วจึงน�ำเสนอเรื่องที่เฉพาะเจาะจง น�ำไปสู่ประเด็นที่
ตอ้ งการนำ� เสนอ หลกั การสำ� หรบั การวางโครงรา่ งทดี่ ี คอื หลกั ของความตรงกรณี (relevance) หรอื เกยี่ วขอ้ ง
(related) กับปัญหาวิจัย นักวิจัยควรถามตนเองว่า หัวข้อแต่ละหัวข้อน้ันตรงหรือเกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัย
หรือไม่ เก่ียวข้องกับงานวิจัยหรือจะน�ำไปใช้ประโยชน์อย่างไรในงานวิจัย
3.2 การเขียนร่างรายงานฉบับแรก (First Draft) ข้ันตอนน้ีนักวิจัยน�ำสาระที่ได้จากการศึกษา
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมาเขียนรายงานตามโครงร่าง และตามหัวข้อในโครงร่างรายงานที่ก�ำหนดไว้ โดยเขียน
เป็นตอน (part) ตามหัวข้อในโครงร่าง ในแต่ละตอนแบ่งเป็นย่อหน้า (paragraph) โดยท่ีต้องมีการอธิบาย