Page 102 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 102
3-92 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
เร่ืองที่ 3.6.1 ขอบเขตของการวิจยั ดา้ นการวัดและประเมนิ ผล
การศกึ ษา
ขอบเขตของการวิจัยด้านการวัดและการประเมินผลทางการศึกษา คือ การศึกษาเกี่ยวกับความตรง
หรือเหมาะสมของการแปลผลและการใช้คะแนน (validity) มาตรฐานด้านการวัดทางจิตวิทยาฉบับแรกที่
เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1954 มีการเขียนบทอธิบายบทหนึ่งเก่ียวกับความตรง ซ่ึงเป็นประเด็นส�ำคัญด้านการวัด
ในยุคน้ัน และมาตรฐานฉบับน้ไี ด้อธบิ ายว่า ความตรงเป็นสง่ิ ทบ่ี ่งบอกระดับของความส�ำเร็จตามวัตถุประสงค์
ของการวัดของแบบวัด ซ่ึงการอธิบายในมาตรฐานน้ีเน้นให้เห็นว่าความตรงมีระดับของความมากน้อย ไม่ใช่
เป็นการแบ่งประเภทที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน คือ “ตรง” หรือ “ไม่ตรง” และมาตรฐานด้านการวัด
ฉบับนี้ได้ก�ำหนดว่าความตรงมีท้ังหมด 4 ประเภท คือ ความตรงเชิงเน้ือหา (content validity) ความตรง
เชิงท�ำนาย (predictive validity) ความตรงตามสภาพ (concurrent validity) และความตรงเชิงโครงสร้าง
(construct validity) ส�ำหรับการท�ำมาตรฐานด้านการวัดฉบับแรกน้ีมีนักวัดผลหลายคนร่วมกันเขียน โดย
มปี รมาจารย์ด้านการวดั ผลในยคุ น้นั จ�ำนวนสองคน คือ มหี ์ล (Meehl) และครอนบาค (Cronbach) ทำ� หนา้ ที่
เป็นบรรณาธิการ
ในปี ค.ศ. 1966 ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานการทดสอบข้ึน โดยการให้นิยามของความตรงก็ยังคง
ไม่ต่างจากนิยามในมาตรฐาน ปี ค.ศ. 1954 แต่มีประเด็นที่ส�ำคัญอย่างหน่ึงท่ีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ
มีการจัดกลุ่มของประเภทของความตรงเสียใหม่ โดยลดจาก 4 ประเภท เหลือ 3 ประเภท ได้แก่ ความตรง
เชิงเน้ือหา (content validity) ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (criterion-related validity) และความตรง
เชิงโครงสร้าง (construct validity) โดยความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (criterion–related validity ) เป็น
ความสามารถของเครื่องมือวัดได้ตรงกับเกณฑ์ภายนอก ซึ่งอาจเป็นเกณฑ์ในปัจจุบันหรือเกณฑ์ในอนาคต
ก็ได้ ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ความตรงตามสภาพ (concurrent-related vali-
dity) และความตรงเชิงท�ำนาย (predictive validity)
ในปี ค.ศ. 1971 ครอนบาค เสนอว่า การตรวจสอบความตรงเป็นกระบวนการตรวจสอบความถูก
ต้องของการท�ำนายหรือการอ้างถึงความสามารถของบุคคลจากผลการทดสอบที่บุคคล ๆ นั้นสอบ ครอนบาค
พยายามเสนอแนวคิดเพื่อช้ีให้เห็นว่าการตรวจสอบความตรงควรท�ำในลักษณะเหมือนกับการประเมินแบบ
องค์รวม หรือบูรณาการ ไม่ใช่การแยกพิจารณาเป็นส่วน ๆ เช่น การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (content
validity) ความตรงตามเกณฑส์ มั พนั ธ์ (criterion-related validity) และความตรงเชงิ โครงสรา้ ง (construct
validity) จากข้อเสนอในคร้ังน้ี มีสิ่งที่ส�ำคัญประการหนึ่งท่ีสามารถมองเห็นได้จากมุมมองของครอนบาคคือ
ในฐานะที่ครอนบาคเป็นนักประเมิน เขาจึงมองว่าการตรวจสอบความตรงเป็นกระบวนการคล้ายกับการ
ประเมิน กล่าวคือ เขามีความคิดเห็นว่า การตรวจสอบความตรงเป็นการประเมินของผู้พัฒนาแบบทดสอบ
ในเชิงบูรณาการ ความคิดนี้มีบทบาทส�ำคัญต่อการให้นิยามความตรงในระยะต่อมาอย่างมาก