Page 107 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 107
การออกแบบการวิจัย 3-97
วัดหรือแบบทดสอบมีหลายประเด็นหรือมิติท่ีต้องการวัดด้วยก็ได้ ตามธรรมชาติของสิ่งที่ต้องการวัด เช่น
แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ อาจมีมิติที่ต้องการวัดสามมิติ คือ ความสามารถในการคิดอย่างคล่องแคล่ว
ความสามารถในการคิดอย่างหลากหลาย และความสามารถในการคิดอย่างละเอียดลออ เป็นต้น ดังนั้นใน
เรื่องการก�ำหนดมิติของส่ิงท่ีต้องการวัดว่าจะก�ำหนดกี่มิติ จึงควรมีหลักฐานรับรอง และด�ำเนินการพัฒนา
เครื่องมือให้สอดคล้องกับมิติของการวัด
3.6.3 การวิเคราะห์องค์ประกอบของข้อสอบ เพ่ือให้เกิดความม่ันใจว่าแบบวัดน้ันวัดได้ครบ
ถ้วนตามมิติท่ีต้องการวัด จึงควรมีการวิเคราะห์องค์ประกอบของแบบวัดด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเป็น
วิธีการส�ำรวจมิติของแบบทดสอบ ซ่ึงเป็นการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างประเภทหน่ึง
3.6.4 การศึกษาการท�ำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ (differential item functioning) ข้อสอบ
ท่ีท�ำหน้าท่ีต่างกันของข้อสอบ หมายถึง ข้อสอบท่ีขาดความยุติธรรม เพราะท�ำให้ผู้สอบท่ีมีความสามารถเท่า
กัน แต่ตอบข้อสอบข้อหน่ึง ๆ ต่างกัน เช่น กลุ่มผู้สอบที่เป็นชายตอบผิด กลุ่มหญิงส่วนใหญ่ตอบถูก ผลการ
ตรวจสอบเช่นน้ีสะท้อนว่าข้อสอบน้ันให้ประโยชน์ต่อผู้สอบที่เป็นหญิงมากกว่าชาย สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น อาจ
เป็นเพราะเนื้อหาในข้อสอบเป็นเรื่องที่เพศหญิงสนใจมากกว่าเพศชาย เช่น ข้อสอบท่ีถามว่า “หากเส้ือขาด
เป็นรูขนาดเล็ก ๆ ควรซ่อมแซมด้วยวิธีใด” เป็นข้อสอบท่ีเพศหญิงตอบถูกมากกว่าเพศชาย หากข้อสอบมี
ข้อสอบท่ีท�ำหน้าท่ีต่างกันของข้อสอบจ�ำนวนมาก จะท�ำให้การประเมินน้ันไม่ยุติธรรม เพราะจะเกิดข้อได้
เปรียบเอนเอียงเข้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งท�ำให้เกิดความไม่ยุติธรรม และเป็นปัญหาด้านความตรงของข้อสอบ
ดงั น้ัน ในการทดสอบเพื่อเปรยี บเทยี บความสามารถของผ้สู อบ ควรมีการวเิ คราะหก์ ารศึกษาการท�ำหนา้ ทต่ี า่ ง
กันของข้อสอบเพื่อตัดข้อสอบที่ท�ำหน้าท่ีต่างกันออกก่อนที่จะคิดคะแนน เพื่อท�ำให้การทดสอบนั้นมีความ
ยุติธรรมมากขึ้น
3.6.5 โมเดลการวัดทางจิตท่ีใช้วิเคราะห์ข้อมูล (psychometric model) โมเดลการวัดที่
น�ำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลมีข้อตกลงเบื้องต้นในการใช้ เช่น หากใช้โมเดลการตอบข้อสอบ (IRT) แบบสาม
พารามิเตอร์ วิเคราะห์ข้อสอบและค�ำนวณความสามารถของผู้สอบ ต้องใช้กับผลการสอบที่มีผู้สอบจ�ำนวน
มาก เช่น 1,000 คน หากน�ำไปใช้กับการสอบท่ีมีผู้สอบจ�ำนวนน้อย อาจจะท�ำให้ผลการวิเคราะห์ไม่ถูกต้อง
ทางแก้ไขก็คือ อาจเลือกใช้โมเดลการวิเคราะห์ที่มีจ�ำนวนพารามิเตอร์น้อยกว่า เช่น โมเดลการตอบข้อสอบ
(IRT) แบบหนึ่ง หรือสองพารามิเตอร์แทน
4. หลกั ฐานเก่ยี วกับความสมั พนั ธ์ของคะแนนกับตวั แปรอ่ืน ๆ (relations to other variables)
การตรวจสอบความสมั พนั ธข์ องคะแนนกับตวั แปรอ่นื เป็นหลกั การหนง่ึ ของการตรวจสอบความตรง
เชิงโครงสร้าง ความสัมพันธ์ท่ีน�ำมาตรวจสอบต้องเป็นความสัมพันธ์ท่ีอธิบายได้ด้วยทฤษฎี เพื่อให้สามารถ
ประเมินคุณภาพของการวัดได้ หลักฐานเก่ียวกับความสัมพันธ์ของคะแนนกับตัวแปรอื่น ๆ ที่ควรรวบรวม
มาตรวจสอบความตรง อาจมีดังน้ี
4.1 ความสัมพันธ์ของคะแนนกับตัวแปรอื่น การตรวจสอบความสัมพันธ์ของคะแนนจากเคร่ืองมือ
วดั กบั ตวั แปรอนื่ เปน็ การตรวจสอบความเหมาะสมของคะแนนซง่ึ เปน็ การตรวจสอบทางออ้ ม แตค่ วามสมั พนั ธ์
ท่ีตรวจสอบต้องเป็นความสัมพันธ์ท่ีอธิบายได้ด้วยทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง