Page 108 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 108
3-98 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
4.2 ความตรงเชิงลู่เข้า (convergent correlation) หมายถึง ความสัมพันธ์ของตัวแปรเดียวกันแต่
วัดด้วยวิธีการต่างกัน ซึ่งควรมีความสัมพันธ์กันสูง จึงจะถือว่าการวัดนั้นมีความเหมาะสม เช่น การหาความ
สัมพันธ์ของคะแนนความสนใจในการอ่านท่ีได้มาจากการประเมินตนเอง และการประเมินของครู เป็นการ
หาความสัมพันธ์ของตัวแปรเดียวกัน ดังน้ันจึงคาดว่าความสัมพันธ์ควรมีค่าสูงพอสมควร จึงจะสามารถน�ำ
ไปสรุปได้ว่าการวัดความสนใจมีความเหมาะสมแล้ว
4.3 ความตรงเชิงลู่ออก (divergent correlation) หมายถึง ความสัมพันธ์ของคะแนนที่วัดกับ
คะแนนของการวัดคุณลักษณะอื่นท่ีคล้ายกัน แต่ไม่ใช่คุณลักษณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ของสองส่ิงนี้ไม่
ควรสูงมาก หากความสัมพันธ์สูงมากแสดงว่าการวัดน้ันยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะยังมีความคาบเก่ียวกับการ
วัดส่ิงอื่น
4.4 ความสมั พนั ธข์ องคะแนนกบั แบบทดสอบอน่ื ๆ ความสมั พนั ธก์ บั แบบสอบอน่ื ทเ่ี ปน็ แบบทดสอบ
มาตรฐาน เป็นการตรวจสอบความตรงตามสภาพ เหมาะสมที่จะตรวจสอบเม่ือมีการพัฒนาแบบวัดใหม่
ข้ึนมา ดังน้ันจึงต้องตรวจสอบว่าแบบวัดใหม่สามารถวัดได้สอดคล้องกับแบบวัดอื่นท่ีเป็นมาตรฐานหรือไม่
4.5 ความสามารถในการสรุปอ้างอิงของหลักฐานความตรง เป็นการตรวจสอบความตรงของแบบ
ทดสอบในบริบทอื่นท่ีเป็นเง่ือนไขของการทดสอบ การวิเคราะห์น้ีจะต้องใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง (generali-
zability theory)
5. หลักฐานเก่ียวกับผลกระทบของการใช้คะแนน (consequential evidence)
การทดสอบที่เหมาะสมไม่ควรส่งผลกระทบทางลบต่อผู้สอบ ผู้ใช้ผลสอบ การจัดการเรียนการสอน
ของครู และสังคม ไม่ว่าจะเป็นระยะส้ันหรือระยะยาว ดังน้ันการตรวจสอบความเหมาะสมของการทดสอบ
ควรเก็บรวบรวมข้อมูลเก่ียวกับผลกระทบของการทดสอบ ประเด็นส�ำคัญที่ส่งผลกระทบคือ คะแนนจุดตัด
เพราะคะแนนจุดตัดเป็นเกณฑ์ในการตัดสินผลสอบ หลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้คะแนนที่อาจ
รวบรวมมาตรวจสอบความตรง อาจมีดังนี้
5.1 ผลกระทบของคะแนน หรือผลคะแนนต่อผู้สอบ และสังคม เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อตรวจสอบ
ว่าการใช้คะแนนจากการทดสอบจะท�ำให้เกิดผลเชิงลบต่อสังคมหรือไม่ ผลกระทบมีต่อบุคคลใดมากกว่ากัน
เช่น การใช้คะแนน O-NET เพ่ือเป็นเกณฑ์ในการส�ำเร็จการศึกษาของนักเรียน ซ่ึงอาจท�ำให้เกิดการเรียน
พิเศษมากขึ้น ครูอาจมุ่งสอนเน้ือหาเพื่อให้สอบได้มากกว่าสอนตามหลักสูตร เหล่าน้ีเป็นหลักฐานท่ีควรน�ำมา
พิจารณาในการประเมินผลกระทบของการใช้คะแนน
5.2 ผลต่อผู้เรียน และการเรียนรู้ในอนาคตของผู้เรียน ผลต่อผู้เรียน เช่น ความสนใจ ความได้
เปรียบเสียเปรียบของการสอบ เป็นต้น
5.3 ผลกระทบเชิงบวกมากกว่าผลกระทบเชิงลบ ในการประเมินผลกระทบควรน�ำผลกระทบเชิง
บวกและผลกระทบเชิงลบมาเปรียบเทียบกัน ดังน้ันการเก็บรวบรวมข้อมูลเพ่ือประเมินความตรงจึงต้องเก็บ
ข้อมูลผลกระทบอย่างหลากหลาย เพ่ือน�ำมาเป็นหลักฐานในการประเมินความเหมาะสมของการใช้คะแนน