Page 105 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 105

การออกแบบการวิจัย 3-95

ของผู้สอบเป็นวธิ กี ารท่ีสะท้อนสิง่ ทผี่ ู้วัดกำ� ลังวดั หรอื ไม่ และ 2) สถานการณ์ในสง่ิ เร้าสามารถกระตุ้นให้ผสู้ อบ
แสดงคุณลักษณะท่ีมุ่งวัดได้หรือไม่ หลักฐานเกี่ยวกับกระบวนการตอบของผู้สอบที่ควรตรวจสอบมีดังน้ี

       2.1		ความคุ้นเคยกับรูปแบบของการทดสอบ หรือรูปแบบข้อสอบท่ีใช้ การใช้รูปแบบการสอบท่ี
ผู้สอบไม่คุ้นเคยอาจท�ำให้เกิดการเดา หรือมีปัจจัยอื่นท่ีส่งผลต่อการตอบของผู้สอบ

       2.2		คุณภาพของเครื่องตรวจนับคะแนน หากเครื่องตรวจให้คะแนนตรวจให้คะแนนผิดพลาด
ย่อมจะท�ำให้ผลคะแนนไม่ตรงกับส่ิงที่ต้องการวัด

       2.3		กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของการเฉลยค�ำตอบ เพ่ือให้เกิดความมั่นใจว่าค�ำตอบที่
ถูกเป็นส่ิงที่ตรงกับส่ิงที่ต้องการวัด

       2.4		ความเหมาะสมของการรวมคะแนน หรือการคิดคะแนนรวมแต่ละมาตรฐาน บางครั้งอาจมีการ
รวมคะแนนจากมาตรฐานหลาย ๆ มาตรฐานเข้าด้วยกัน ประเด็นท่ีควรพิจารณา คือ ควรต้องมีการถ่วง
นำ้� หนกั หรอื ไม่ อยา่ งไร การถว่ งนำ�้ หนกั คะแนนเปน็ ทำ� ใหม้ าตรฐานหนง่ึ มคี วามสำ� คญั กวา่ มาตรฐานอนื่ นำ้� หนกั
ท่ีน�ำมาถ่วงน้�ำหนักมีความเหมาะสม ตรงกับทฤษฎีหรือไม่

       2.5		การวิเคราะห์คะแนนย่อย (subscore) ของแบบวัด หรือการรายงานคะแนนมิติย่อยของโดเมน
ของการวัดว่ามีความเหมาะสมถูกต้องหรือไม่ เช่น การวัดความสามารถด้านการอ่าน เขียน และคิดวิเคราะห์
อาจจะต้องมีการรายงานคะแนนรวม และคะแนนย่อย คือ ความสามารถด้านการอ่าน ความสามารถด้านการ
เขียน และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ประเด็นท่ีควรพิจารณา คือ การคิดคะแนนรวม และการคิด
คะแนนย่อยต่าง ๆ มีความเหมาะสมหรือไม่

       2.6		การตัดสินผลการสอบ เช่น ตก ผ่าน ประเด็นที่ควรพิจารณา คือ การตัดสินผ่าน หรือตก
น้ันมาจากการประเมินผู้เรียนด้านใด มิติใด

       2.7		การควบคุมการรายงานผลคะแนนว่ามีความถูกต้อง ไม่มีการเปล่ียนแปลงคะแนนของผู้สอบ
การเปลี่ยนแปลงคะแนนสอบจะท�ำให้คะแนนไม่สะท้อนกระบวนการคิดของผู้สอบ และเป็นการวัดที่ไม่ถูก
ต้อง จึงขาดความเหมาะสมในการน�ำไปใช้

       2.8		ผู้ใช้เข้าใจการแปลความหมายคะแนน การรายงานผลคะแนนต้องอธิบายให้ผู้ใช้เข้าใจการ
แปลผลคะแนน ว่าคะแนนแปลความหมายอย่างไร คิดคะแนนมาอย่างไร

3. 	หลกั ฐานเกย่ี วกับโครงสร้างภายในของแบบทดสอบ/แบบวดั (internal structure)

       ประเด็นส�ำคัญของการวิเคราะห์โครงสร้างภายในของแบบทดสอบ/แบบวัด คือ ความต้องการ
ประเมินคุณภาพข้อสอบท่ีพัฒนาข้ึน กล่าวคือ ข้อสอบหรือข้อค�ำถามที่มุ่งวัดสิ่งเดียวกันควรมีความ
สัมพันธ์กัน และข้อสอบต่าง ๆ ท่ีพัฒนาข้ึนควรวัดมิติหรือประเด็นท่ีต้องการวัดเพียงสิ่งเดียว ไม่ควรวัดมิติ
อ่ืนหรือประเด็นอ่ืนท่ีไม่ใช่เป้าหมายของการวัด

       หลักฐานเก่ียวกับโครงสร้างภายในของแบบทดสอบ/แบบวัด ท่ีควรรวบรวมมาตรวจสอบความตรง
อาจมีดังน้ี
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110