Page 16 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 16
4-6 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ในการวิจัย เราสนใจศึกษาคุณลักษณะหรือค่าที่ได้จากประชากร ถ้าประชากรมีขนาดเล็ก เราก็
สามารถศึกษาข้อมูลจากประชากรท้ังหมดได้ แต่โดยทั่วไปประชากรมักมีขนาดใหญ่ เราจึงไม่ทราบค่าของ
ประชากรท่ีสนใจศึกษา ดังนั้น จึงนิยมศึกษาข้อมูลจากตัวแทนบางส่วนของประชากรที่เรียกว่า กลุ่มตัวอย่าง
แล้วน�ำไปประมาณค่าของประชากรโดยอาศัยวิธีการทางสถิติ
2. ประโยชนข์ องการใชข้ อ้ มลู จากกลมุ่ ตวั อย่าง
2.1 ประหยดั เวลา แรงงาน และคา่ ใชจ้ า่ ย ในการวิจัยที่ศึกษาจากทุกหน่วยของประชากรซึ่งมีจ�ำนวน
มาก ท�ำให้ต้องเสียเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล อันจะส่งผลต่อการส้ินเปลืองในด้าน
วัสดุ อุปกรณ์ และก�ำลังคน การสุ่มตัวอย่างที่สามารถเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรจะช่วยประหยัดเวลา
แรงงาน และท�ำให้ส้ินเปลืองค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินการน้อยกว่าเม่ือเปรียบเทียบกับการศึกษาข้อมูลจาก
ทุกหน่วยของประชากร
2.2 การรายงานผลการวิจัยทำ� ได้รวดเรว็ ขึ้น การวิจัยท่ีประชากรมีจ�ำนวนมาก หากใช้วิธีการศึกษา
ท้ังประชากรต้องใช้เวลาด�ำเนินการวิจัยนาน เช่น การส�ำมะโนประชากร ซึ่งใช้เวลาด�ำเนินการหลายปี การ
รายงานผลการวิจัยจากการเก็บรวบรวมข้อมูลนานเกินไป อาจท�ำให้ผลการวิจัยล้าสมัย และการวิจัยบางเร่ือง
ตอ้ งการใชผ้ ลวจิ ยั รวดเรว็ เชน่ การสำ� รวจความนยิ มของประชาชนทม่ี ตี อ่ เรอ่ื งใดเรอ่ื งหนง่ึ ถา้ สามารถรายงาน
ผลการวิจัยได้อย่างรวดเร็วก็สามารถน�ำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้ทันกับความต้องการ
2.3 ควบคุมการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ดีกว่า การรวบรวมข้อมูลจากประชากรท้ังหมด ท�ำให้ข้อมูล
มคี วามถกู ตอ้ งเชอื่ ถอื ไดม้ ากกวา่ ในการวจิ ยั ทปี่ ระชากรมจี ำ� นวนมาก จะตอ้ งใชผ้ เู้ กบ็ รวบรวมขอ้ มลู ภาคสนาม
เป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้ข้อมูลที่ได้มีความคลาดเคลื่อนมากกว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
2.4 ช่วยท�ำให้เก็บข้อมูลได้กว้างขวางมากข้ึน เม่ือส่ิงท่ีต้องการศึกษามีขนาดท่ีเล็กลง ย่อมท�ำให้มี
โอกาสในการเก็บข้อมูลได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ผู้วิจัยสามารถตั้งค�ำถามที่จะรวบรวมข้อมูลได้มากข้ึน
การศกึ ษาในเรอ่ื งนนั้ ยอ่ มมคี วามเปน็ ไปไดท้ ง้ั ในระดบั กวา้ งและลกึ และมโี อกาสทง่ี านวชิ าการจะพฒั นารดุ หนา้
2.5 ในกรณปี ระชากรมจี ำ� นวนไมจ่ ำ� กดั หรอื ไมส่ ามารถแจงนบั ไดค้ รบถว้ น นักวิจัยไม่ทราบจ�ำนวน
ประชากรทแี่ นช่ ดั วา่ มเี ทา่ ใด จงึ ไมส่ ามารถทำ� การรวบรวมขอ้ มลู จากทกุ หนว่ ยไดค้ รบถว้ น จงึ จำ� เปน็ ตอ้ งศกึ ษา
ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เช่น ประชาชนที่มีค่านิยมในการรับราชการ จ�ำนวนนักเรียนในห้างสรรพสินค้า
จ�ำนวนสัตว์ในป่า เป็นต้น
3. คำ�ศพั ท์ท่เี กีย่ วขอ้ งกบั การเลือกกลุ่มตัวอยา่ ง
ในการศึกษาวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง มีค�ำศัพท์ท่ีเกี่ยวข้องซ่ึงควรทราบความหมายของค�ำดังกล่าว
ก่อน ดังต่อไปนี้
3.1 หนว่ ยตวั อยา่ ง (sampling unit) หมายถึง หน่วยที่เป็นที่เกิดของข้อมูลท่ีต้องการวัด เช่น ศึกษา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หน่วยตัวอย่างคือ นักเรียน หรือต้องการศึกษาการด�ำเนินงานของ
โรงเรียน หน่วยตัวอย่างคือ โรงเรียน หรือต้องการศึกษารายได้ของครอบครัว หน่วยตัวอย่างคือ ครอบครัว