Page 17 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 17

การออกแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 4-7

ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกในครอบครัว ดังนั้น จะเห็นว่าหน่วยตัวอย่างอาจมีสมาชิกเพียง 1 หน่วย หรือหน่วย
ตัวอย่างอาจประกอบด้วยสมาชิกหลายหน่วยได้

       3.2 	กรอบตวั อยา่ ง (sampling frame) หมายถงึ บญั ชรี ายชอ่ื ของหนว่ ยตวั อยา่ งทงั้ หมดของประชากร
ทศี่ กึ ษา เชน่ ศกึ ษาผลสมั ฤทธขิ์ องนกั เรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 1 ในจงั หวดั นนทบรุ ี กรอบตวั อยา่ งคอื รายชอื่
นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ในจังหวัดนนทบุรีทุกคน ในกรณีที่มีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กรอบ
ตัวอย่างจะมีหลายกรอบ เช่น ศึกษาข้อมูลนักวิจัยไทย กรอบตัวอย่างในข้ันแรกอาจได้แก่ รายชื่อหน่วยงาน
ท่ีนักวิจัยสังกัด และกรอบตัวอย่างในข้ันที่สอง ได้แก่ รายชื่อนักวิจัยของหน่วยงานท่ีสุ่มเลือกได้ เป็นต้น

       3.3 	แผนแบบการสุม่ ตัวอยา่ ง (sampling design) หมายถึง การก�ำหนดวิธีการเลือกตัวอย่าง และ
วิธีประมาณค่าประชากรจากตัวอย่าง

       3.4 	พารามิเตอร์ (parameter) หมายถึง ค่าท่ีแสดงคุณลักษณะของประชากร เช่น ค่าเฉลี่ย (m)
ความแปรปรวน (s2) คา่ สดั สว่ น (P) ในการวจิ ยั เราตอ้ งการศกึ ษาคา่ ทไ่ี ดจ้ ากประชากรซง่ึ กค็ อื คา่ พารามเิ ตอร์

       3.5 	คา่ สถติ ิ (Statistics) หมายถึง ค่าท่ีแสดงคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ค่าเฉลี่ย (X) ความ
แปรปรวน (S2) ค่าสัดส่วน (P) ในการวิจัยเราศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแล้ววัดค่าสถิติจากกลุ่มตัวอย่าง
เพ่ือน�ำไปประมาณค่าพารามิเตอร์ เช่น ศึกษาค่าเฉลี่ย (X) ของกลุ่มตัวอย่าง แล้วน�ำไปประมาณค่า m ซ่ึงเป็น
ค่าของประชากร เป็นต้น

       3.6 	ความคลาดเคลอื่ นของการสมุ่ (sampling error) หมายถงึ ความคลาดเคลอื่ นทเ่ี กดิ ขนึ้ เนอ่ื งจาก
การใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการอธิบายคุณลักษณะของประชากร แทนท่ีจะอธิบายคุณลักษณะของ
ประชากรโดยเก็บข้อมูลจากทุกหน่วยของประชากร

       การค�ำนวณค่าความคลาดเคล่ือนของการสุ่ม ค�ำนวณจากความแตกต่างของค่าสถิติกับพารามิเตอร์
สมมติว่า θ เป็นพารามิเตอร์ และ θ^ เป็นค่าสถิติท่ีได้จากกลุ่มตัวอย่างท่ีสุ่มจากประชากรที่ต้องการศึกษา
ดังนั้น

            ความคลาดเคลื่อนของการสุ่ม  =  θ^ — θ

       ความคลาดเคล่ือนท่ีเกิดข้ึนในการวิจัยแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ความคลาดเคลื่อนของการสุ่ม
ดังได้กล่าวมาแล้ว กับความคลาดเคลื่อนท่ีไม่ได้เกิดจากการสุ่ม (nonsampling error) เช่น ความคลาด
เคล่ือนในการสร้างกรอบตัวอย่าง (ไม่สมบูรณ์ ไม่ครบถ้วน) ความคลาดเคล่ือนเน่ืองจากเคร่ืองมือวัด
ความคลาดเคลื่อนในการเก็บรวบรวมข้อมูล ความคลาดเคลื่อนในการประมวลผลข้อมูล ดังนั้น การศึกษา
ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอาจเกิดความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง และความคลาดเคล่ือนท่ีไม่ได้เกิด
จากการสุ่ม ส่วนการศึกษาข้อมูลจากประชากรเกิดความคลาดเคลื่อนได้เฉพาะความคลาดเคล่ือนท่ีไม่ได้
เกิดจากการสุ่ม

              หลังจากศกึ ษาเนือ้ หาสาระเร่ืองที่ 4.1.1 แล้ว โปรดปฏบิ ัติกิจกรรม 4.1.1
                      ในแนวการศึกษาหนว่ ยท่ี 4 ตอนท่ี 4.1 เรอื่ งท่ี 4.1.1
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22