Page 19 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 19
การออกแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 4-9
ตัวอย่างที่ 4.7 ผู้จัดการร้านหนังสือของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งต้องการส�ำรวจความพึงพอใจ
ของนักศึกษาต่อบริการของร้านหนังสือ ดังน้ัน ในช่วงเวลาพักอาหารกลางวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เธอจึงขอ
ให้นักศึกษาทุกคนท่ีเข้ามาในร้านตอบแบบสอบถามสั้น ๆ ซ่ึงรวบรวมได้ 200 ฉบับ
จากกรณีตัวอย่างดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากรณีตัวอย่างท่ี 4.4 และ 4.6 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดย
การเลือกแบบสุ่ม โดยกลุ่มตัวอย่างแต่ละคนมีโอกาสได้รับเลือกเป็นตัวแทนเท่า ๆ กัน ส่วนกรณีตัวอย่างที่
4.5 ครูในกลุ่มสาระต่าง ๆ มีโอกาสได้รับเลือกเป็นตัวแทนไม่เท่ากัน และกรณีตัวอย่างท่ี 4.7 นักศึกษาที่เข้า
มาใช้บริการร้านหนังสือในช่วงพักกลางวันจึงจะได้รับเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง
1.2 กลุม่ ตัวอยา่ งมขี นาดพอเหมาะ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีความเก่ียวข้องกับความถูกต้อง
ในการสรุปผลลักษณะของประชากร กล่าวคือ ถ้ากลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่ การประมาณค่าจะมีความ
คลาดเคลื่อนลดลง หรือกล่าวได้ว่า ความถูกต้องของการประมาณค่าจะมีมากขึ้น แต่ต้องสิ้นเปลืองเวลาและ
ค่าใช้จ่ายสูง ในทางตรงกันข้าม ถ้าขนาดของกลุ่มตัวอย่างน้อย โอกาสท่ีจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องก็จะลดลง
ตามไปด้วย แต่ไม่สิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนั้น การก�ำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจึงจ�ำเป็นต้องกระท�ำ
อย่างระมัดระวัง รายละเอียดเกี่ยวกับการก�ำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจะได้กล่าวต่อไป
2. ขนั้ ตอนการเลือกกลมุ่ ตัวอย่าง
2.1 กำ� หนดกลมุ่ ผใู้ หข้ อ้ มลู โดยพิจารณาวัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัย นักวิจัยต้อง
พิจารณาว่าเพ่ือให้ได้ค�ำตอบของปัญหาวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนดไว้ จะเก็บข้อมูลจากใคร เช่น ต้องการ
ศึกษาจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 นักวิจัยต้อง
ก�ำหนดว่าจะเก็บข้อมูลจากใคร ซ่ึงในเรื่องนี้คือ นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1
นอกจากน้ี ตอ้ งกำ� หนดขอบเขตของประชากรหรอื กลุ่มผใู้ ห้ขอ้ มลู ให้ชดั เจนว่าครอบคลมุ กล่มุ
ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มใด เช่น นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ในจังหวัดใด และในโรงเรียนสังกัดใด เช่น ส�ำนักงาน
คณะกรรมการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน สำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาเอกชน กรงุ เทพมหานคร เปน็ ตน้ นกั เรยี น
ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1 อาจมีหลายกลุ่ม ได้แก่
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ในโรงเรียนทุกสังกัด
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้ันพ้ืนฐาน
3) นกั เรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 1 ในโรงเรยี นสงั กดั สำ� นกั งานเขตพน้ื ทก่ี ารศกึ ษานนทบรุ ี
เขต 2
4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุโขทัยศึกษา จังหวัดนนทบุรี
2.2 กำ� หนดกรอบตวั อยา่ ง (sampling frame) กรอบตวั อยา่ ง หมายถงึ บญั ชขี องหนว่ ยตวั อยา่ ง
(sampling unit) ทั้งหมดของประชากรท่ีสนใจศึกษา ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างข้ันตอนเดียว กรอบตัวอย่าง
คอื รายชอื่ สมาชกิ ทงั้ หมดทปี่ ระกอบกนั เปน็ ประชากร ในกรณกี ารเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ งแบบหลายขน้ั ตอน กรอบ
ตัวอย่างจะมีหลายกรอบ เช่น ศึกษาจริยธรรมการใช้เทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ
และใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม กรอบตัวอย่างในขั้นแรก อาจเป็นรายชื่อสังกัดโรงเรียน กรอบตัวอย่างขั้นท่ีสอง