Page 22 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 22

4-12 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

เรือ่ งท่ี 4.2.1 	การเลือกกลมุ่ ตัวอยา่ งโดยใชห้ ลักความน่าจะเป็น

       เม่ือนักวิจัยตัดสินใจที่จะศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง นักวิจัยต้องพยายามเลือกกลุ่มตัวอย่างท่ี
เป็นตัวแทนท่ีดีของประชากร วิธีการท่ีจะได้ตัวแทนที่ดีของประชากรคือ การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม
(random sampling) การเลือกตัวอย่างแบบสุ่ม เป็นการเลือกตัวอย่างท่ีก�ำหนดให้กลุ่มตัวอย่างแต่ละหน่วย
มโี อกาสเปน็ ตวั แทน กลา่ วคอื เปน็ การเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ งโดยใชห้ ลกั ความนา่ จะเปน็ (probability sampling)
การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็นมีลักษณะ ดังน้ี

       1. 	ทราบหน่วยตัวอย่างทั้งหมดของประชากร
       2. 	มีโอกาสท่ีหน่วยตัวอย่างแต่ละหน่วยที่จะถูกสุ่มเป็นตัวอย่าง และทราบความน่าจะเป็นท่ีหน่วย
ตัวอย่างแต่ละหน่วยจะถูกสุ่ม ความน่าจะเป็นท่ีหน่วยตัวอย่างแต่ละหน่วยจะถูกเลือกจะมีค่าเท่ากันหรือ
ไม่เท่ากันก็ได้ แต่ค่าความน่าจะเป็นต้องมีค่ามากกว่าศูนย์
       3. 	มีวิธีการเลือกตัวอย่างตามหลักการเลือกแบบสุ่ม เพ่ือให้หน่วยตัวอย่างแต่ละหน่วยมีโอกาส
ถูกเลือกตามแผนการที่ก�ำหนดไว้
       4. 	มีวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมส�ำหรับการเลือกกลุ่มตัวอย่างแต่ละแบบ
       การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น หรือเรียกว่า การสุ่มตัวอย่าง มีวิธีการท่ีนิยมใช้
หลายวิธี ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ
(systematic sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม
(cluster sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบหลายข้ันตอน (multi-stage sampling) วิธีการสุ่มแต่ละวิธี
มีรายละเอียด ดังน้ี

1. 	การสมุ่ ตวั อยา่ งแบบงา่ ย

       การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย หมายถึง การสุ่มตัวอย่างขนาด n จากประชากรขนาด N โดยความน่าจะ
เป็นท่ีตัวอย่างแต่ละชุดจะถูกสุ่มได้เท่ากัน

       1.1 	วธิ ีการสุ่มตัวอยา่ งแบบงา่ ย การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายท�ำได้ 3 วิธี ดังนี้
            1.1.1 วิธีจับสลาก วิธีการน้ีนิยมใช้กับงานท่ีประชากรมีขนาดเล็ก วิธีการสุ่มท�ำโดยท�ำสลาก

ชนิดเดียวกันและให้หมายเลขก�ำกับสลากตามจ�ำนวนประชากรต้ังแต่หมายเลข 1 ถึง N การสุ่มตัวอย่างจะ
จับสลากขึ้นมาคร้ังละ 1 ใบ จนได้ตัวอย่างครบตามจ�ำนวนท่ีต้องการ ถ้าเป็นการสุ่มแบบไม่ใส่คืน สลากท่ี
ถูกสุ่มขึ้นมาแล้วจะไม่มีโอกาสถูกสุ่มซ�้ำอีก แต่ถ้าเป็นการสุ่มแบบใส่คืน เมื่อสุ่มสลากใบใดขึ้นมาแล้ว ให้ใส่
สลากใบนั้นคืนกลับเข้าไปก่อน ดังนั้น สลากบางใบอาจถูกสุ่มขึ้นมาเป็นตัวแทนได้อีก

            1.1.2 วธิ ใี ช้ตารางเลขสมุ่ (random number) ตารางเลขสุ่มเป็นตารางส�ำเร็จรูปที่ได้จัดเตรียม
ไว้ส�ำหรับการสุ่มตัวอย่างโดยเฉพาะ การใช้ตารางเลขสุ่มเหมาะส�ำหรับการวิจัยท่ีประชากรมีขนาดใหญ่
วิธีการใช้ตารางเลขสุ่มเพื่อสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ท�ำได้ดังน้ี
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27