Page 25 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 25
การออกแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 4-15
จะได้ k = 48/5 = 9.6 หรือประมาณ 10
สมมติว่าสุ่มตัวเลขเริ่มต้นระหว่าง 1-10 ได้เลข 9 ดังน้ัน หน่วยตัวอย่างท่ีสุ่มได้ คือ 9, 19,
29, 39, 1
2.2 ขอ้ ดีและขอ้ จ�ำกัดของการสุม่ กลุม่ ตวั อย่างแบบเป็นระบบ
2.2.1 ขอ้ ดขี องการสุม่ ตวั อยา่ งแบบเป็นระบบ การสุ่มตัวอย่างแบบนี้เป็นวิธีท่ีท�ำได้ง่าย เสีย
เวลาและค่าใช้จ่ายน้อย และในกรณีประชากรมีการเรียงล�ำดับหน่วยตัวอย่างไว้อย่างสุ่ม วิธีการน้ีจะมี
ประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีสุ่มสิ่งตัวอย่างแบบง่าย
2.2.2 ข้อจ�ำกัดของการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ประสิทธิภาพของตัวประมาณข้ึนอยู่กับ
การจัดเรียงหน่วยตัวอย่างในประชากร ในกรณีที่ n หาร N ไม่ลงตัว (N ≠ nk) จะได้ตัวประมาณที่เอนเอียง
และในกรณีที่ประชากรมีแนวโน้มการเปล่ียนแปลงข้ึนลงเป็นรอบ (periodicity) ก็อาจได้กลุ่มตัวอย่างท่ี
ล�ำเอียง
3. การสุ่มตัวอย่างแบบแบง่ ช้ัน
3.1 วธิ กี ารสมุ่ ตวั อยา่ งแบบแบง่ ชนั้ หมายถึง การสุ่มตัวอย่างจากแต่ละช่วงช้ันของประชากร โดยที่
ประชากรถูกแบ่งออกเป็นช้ัน (stratum) การจัดประชากรเป็นชั้นยึดหลักให้ประชากรในช้ันเดียวกันมีความ
คล้ายคลึงกันมากที่สุด และต่างชั้นมีความแตกต่างกันมากท่ีสุด ตัวแปรที่น�ำมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งช้ัน
อาจมีมากกว่า 1 ตัว แต่ถ้าตัวแปรที่น�ำมาเป็นเกณฑ์การแบ่งช้ันมีมากเกินไปอาจท�ำให้การแบ่งช้ันไม่มี
ประโยชน์ ตัวแปรท่ีน�ำมาแบ่งช้ันควรมีสหสัมพันธ์สูงกับตัวแปรท่ีจะศึกษา
ส�ำหรับการสุ่มตัวอย่างจากแต่ละช้ันอาจใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย หรือการสุ่มตัวอย่างแบบเป็น
ระบบ หรือการสุ่มแบบใดก็ได้ตามความเหมาะสม ถ้าสุ่มตัวอย่างจากชั้นโดยการสุ่มแบบง่าย เรียกว่า การ
สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นแบบง่าย (stratified simple random sampling) ถ้าสุ่มตัวอย่างจากแต่ละชั้นโดย
การสุ่มแบบเป็นระบบ เรียกว่า การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งช้ันแบบเป็นระบบ (stratified systematic sam-
pling)
การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น มีข้ันตอนการสุ่ม ดังนี้
3.3.1 แบง่ กลมุ่ ประชากรเปน็ ชนั้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผู้วิจัยจ�ำเป็น
ต้องรู้ลักษณะของประชากรเป็นอย่างดี โดยจะต้องศึกษาลักษณะของประชากรเพ่ือน�ำมาใช้เป็นแนวทางใน
การแบ่งช้ัน ดังภาพที่ 4.1