Page 29 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 29
การออกแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 4-19
ต้องการเก็บข้อมูล ในกรณีท่ีมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างต้ังแต่ 2 ข้ันตอนขึ้นไปเรียกว่า การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ
กลุ่มแบบหลายขั้นตอน
4.2 ขอ้ ดีและขอ้ จำ� กดั ของการสมุ่ ตัวอยา่ งแบบกลุ่ม
4.2.1 ข้อดีของการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม การสุ่มตัวอย่างแบบนี้ใช้ได้ในกรณีท่ีประชากรไม่มี
กรอบตัวอย่างหรือไม่สะดวกในการจัดเตรียมกรอบตัวอย่าง ซึ่งท�ำให้ประหยัดเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการ
ด�ำเนินงานน้อย รวมท้ังการปฏิบัติงานภาคสนามสามารถท�ำได้สะดวก ซ่ึงจะช่วยลดความคลาดเคล่ือนในการ
รวบรวมข้อมูลได้
4.2.2 ขอ้ จำ� กดั ของการสมุ่ ตวั อยา่ งแบบกลมุ่ การส่มุ แบบนมี้ ักจะมปี ระสทิ ธภิ าพตาํ่ กวา่ การส่มุ
ตัวอย่างแบบอ่ืน ๆ เพราะการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มจะเก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยตัวอย่างที่อยู่ใกล้เคียง
ภายในกลุ่มเดียวกัน ข้อมูลท่ีได้อาจไม่ได้เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร
5. วิธกี ารสุ่มตัวอย่างแบบหลายข้ันตอน
การสุ่มตัวอย่างแบบหลายข้ันตอนเป็นการสุ่มตัวอย่างที่กระท�ำเป็นขั้น ๆ มากกว่า 2 ขั้นตอน การ
สุ่มกลุ่มตัวอย่างแต่ละขั้นจะใช้การสุ่มแบบใดก็ได้ และการเก็บข้อมูลจะเก็บจากหน่วยตัวอย่างขั้นสุดท้ายที่
สุ่มได้
การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายข้ันตอนเป็นแผนแบบการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่สืบเนื่องมาจากการสุ่ม
กลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ซึ่งนิยมใช้กับการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ประชากรมีขนาดใหญ่ และมีขอบเขตกว้างขวาง
ผู้วิจัยสามารถศึกษาประชากรเพ่ือการวิจัยได้โดยการแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มใหญ่ แล้วจึงแบ่งเป็นกลุ่ม
ย่อยไปเร่ือย ๆ จากน้ันก็ให้ท�ำการสุ่มเป็นกลุ่ม โดยสุ่มจากกลุ่มใหญ่ไปหากลุ่มย่อย เมื่อได้กลุ่มย่อยแล้วก็
ท�ำการสุ่มหน่วยตัวอย่างจากกลุ่มย่อยที่สุ่มได้ การแบ่งกลุ่มใหญ่ออกเป็นกลุ่มย่อยน้ีแบ่งตามความเหมาะสม
ตัวอย่างเช่น สมมติงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน
จะเห็นได้ว่าประชากรในที่นี้ ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งอายุ 18 ปีขึ้นไปท่ัวประเทศ ผู้วิจัยจะ
ต้องแบ่งประชาชนท้ังประเทศเป็นภาค จากภาคเป็นจังหวัด และจากจังหวัดเป็นอ�ำเภอ ต�ำบล และหมู่บ้าน
ตามล�ำดับ ดังนี้
สุ่มมาภาคละ 2 จังหวัด ได้ 12 จังหวัด
สุ่มอ�ำเภอจากจังหวัด มาจังหวัดละ 3 อ�ำเภอ จะได้ 36 อ�ำเภอ
สุ่มต�ำบลจากอ�ำเภอ มาอ�ำเภอละ 3 ต�ำบล จะได้ 72 ต�ำบล
สุ่มหมู่บ้าน มาจากต�ำบล ต�ำบลละ 4 หมู่บ้าน จะได้ 288 หมู่บ้าน
สุ่มครัวเรือนจากหมู่บ้าน มาหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน จะได้ 5,760 ครัวเรือน
จะเห็นได้ว่าการสุ่มวิธีน้ีผู้วิจัยไม่สามารถรู้บัญชีรายชื่อประชากรท้ังหมด บัญชีรายชื่อที่สามารถรู้ได้
ก็คือ จ�ำนวนหน่วยตัวอย่างในกลุ่มย่อยสุดท้ายน่ันเอง ดังตัวอย่างข้างต้น ขอบข่ายของประชากรจริง ๆ ได้แก่
ครัวเรือนในหมู่บ้านท่ีสุ่มมานั่นเอง