Page 33 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 33

การออกแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 4-23

ตารางที่ 4.1 (ตอ่ )

 วธิ กี ารสมุ่               ลกั ษณะ                      ข้อดี ข้อจำ�กัด

วิธีการสุ่ม          ประชากรถูกแบ่งเป็นกลุ่ม     -	 ท�ำได้ง่ายแม้ไม่มีรายชื่อ - 	ถ ้ากลุ่มตัวอย่างภายใน
แบบกลุ่ม             ย่อยท่ีภายในกลุ่มย่อยมี
                     ลกั ษณะสมาชกิ ทห่ี ลากหลาย  ประชากร                	 ก ลุ่มย่อยมีลักษณะคล้าย
                     แต่ระหว่างกลุ่มย่อยจะมี
                     ความคล้ายคลึงกันแล้วสุ่ม    - 	เสียค่าใช้จ่ายน้อย  กัน จะมีประสิทธิภาพต่ํา
                     กลุ่มย่อยบางกลุ่มมาศึกษา
                                                 - 	การควบคุมงานภาคสนาม	 กว่าวธิ ีสุ่มอืน่ ๆ ข้อมูลท่ไี ด้

                                                 	 ท�ำได้อย่างสะดวก     อาจไม่ได้เป็นตัวแทนท่ีดี

                                                                        ของประชากร

                     หลังจากศกึ ษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 4.2.1 แล้ว โปรดปฏิบตั กิ ิจกรรม 4.2.1
                             ในแนวการศึกษาหน่วยท่ี 4 ตอนท่ี 4.2 เร่อื งท่ี 4.2.1

เรอื่ งท่ี 4.2.2 	การเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ งโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น

       การเลือกกลุ่มตัวอย่างเพ่ือเป็นตัวแทนของประชากรในการวิจัยนั้น ควรเลือกโดยใช้หลักความน่า
จะเปน็ เพอื่ ใหค้ ณุ ลกั ษณะทศี่ กึ ษาสามารถอา้ งองิ ไปยงั ประชากรได้ แตใ่ นทางปฏบิ ตั อิ าจมขี อ้ จำ� กดั บางประการ
ท�ำให้ไม่สามารถเลือกตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็นได้ จึงต้องเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความ
น่าจะเป็น เช่น ไม่ทราบจ�ำนวนประชากร ไม่สามารถก�ำหนดกรอบตัวอย่าง (sampling frame) ได้ เนื่องจาก
ไม่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน เช่น จ�ำนวนผู้เข้าชมงานนิทรรศการ หรือด้วยเหตุผลที่การวิจัย/ประเมิน
มีวัตถุประสงค์เฉพาะที่ไม่ได้มุ่งการสรุปอ้างอิง หรือกรณีผู้ให้ข้อมูลหลักในเรื่องที่ศึกษาเป็นบุคคลที่ก�ำหนด
โดยต�ำแหน่งงาน เช่น ผู้บริหาร ผู้อ�ำนวยการ ผู้รับผิดชอบงานมิใช่บุคลากรท่ัวไป การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดย
ไม่ใช้หลักความน่าจะเป็นอาจท�ำให้เกิดความสะดวกและประหยัดในการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่ก็ท�ำให้เกิด
ข้อจ�ำกัดในการประมาณค่าประชากร เน่ืองจากกลุ่มตัวอย่างท่ีได้อาจไม่ใช่ตัวแทนที่ดีของประชากร ดังนั้น
กรณีที่ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น นักวิจัยพึงระวังในการสรุปผลข้อมูล

       การเลือกตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็นมีหลายวิธี ได้แก่ การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ
(accidental sampling) การเลือกตัวอย่างแบบโควตา (quota sampling) การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง
(purposive sampling) และการเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ หรือแบบก้อนหิมะ (snowball sampling)
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38