Page 38 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 38
4-28 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
เร่ืองที่ 4.3.1 การกำ�หนดขนาดกลมุ่ ตัวอยา่ งโดยใช้สตู รคำ�นวณ
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง นอกจากนักวิจัยจะพิจารณาว่าจะใช้วิธีการใดในการสุ่ม
ตัวอย่างแล้ว ยังต้องพิจารณาว่าจะใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดเท่าไรจึงจะได้กลุ่มตัวอย่างขนาดเหมาะสม ถ้าใช้
กลมุ่ ตวั อยา่ งจ�ำนวนมาก ผวู้ จิ ยั ทจี่ ะเสยี เวลาในการรวบรวมขอ้ มลู และเสยี คา่ ใชจ้ า่ ยมาก แตถ่ า้ ใชก้ ลมุ่ ตวั อยา่ ง
น้อยเกินไป ก็อาจท�ำให้ข้อมูลที่ได้ขาดความถูกต้องและเชื่อถือได้น้อย ดังนั้น นักวิจัยจึงต้องพิจารณาว่าควร
ใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อยท่ีสุดเท่าไรที่จะท�ำให้ผลการวิจัยมีความถูกต้องและเชื่อถือได้มากท่ีสุด ในเรื่องนี้
จะไดก้ ลา่ วถงึ ปจั จยั ทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั การกำ� หนดขนาดกลมุ่ ตวั อยา่ ง และวธิ กี ารคำ� นวณหาของขนาดกลมุ่ ตวั อยา่ ง
1. ปจั จยั ทเี่ ก่ียวข้องกับการกำ�หนดขนาดตัวอยา่ ง
การก�ำหนดว่าจะใช้ขนาดตัวอย่างเท่าไร ในการวิจัยมีปัจจัยท่ีควรพิจารณาหลายประการ ดังน้ี
1.1 คุณภาพของตัวประมาณ คุณภาพของตัวประมาณขึ้นอยู่กับ
1.1.1 ลกั ษณะการกระจายของประชากร ถ้าประชากรมลี ักษณะเป็นเอกพนั ธ์ุ (homogeneity)
หรือมีความคล้ายคลึงกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ก็ไม่จ�ำเป็นต้องมากนัก เช่น เลือดในร่างกายของคนคนหนึ่ง
สามารถแสดงลักษณะของเลือดในร่างกายได้ ตัวอย่างเลือดท่ีจะน�ำไปตรวจก็ไม่จ�ำเป็นต้องใช้มาก แต่
ถ้าลักษณะของประชากรท่ีต้องการตรวจสอบมีลักษณะวิวิธพันธ์ (heterogeneity) หรือมีความแตกต่างกัน
แสดงว่าประชากรมีการกระจายมาก
กรณีเช่นนี้จ�ำเป็นต้องใช้ขนาดตัวอย่างมากจึงจะครอบคลุมประชากรท่ีมีลักษณะหลากหลาย
กลุ่มตัวอย่างท่ีจะน�ำมาเป็นตัวแทนในการศึกษาก็ควรมีจ�ำนวนมาก
1.1.2 ความถูกตอ้ งของคา่ ประมาณ ค่าที่ค�ำนวณได้จากกลุ่มตัวอย่าง หรือท่ีเรียกว่า ค่าสถิติ
นั้นเป็นค่าที่จะใช้ประมาณค่าของประชากร (เรียกว่า ค่าพารามิเตอร์) นักวิจัยต้องการค่าสถิติที่ใกล้เคียงกับ
ค่าของประชากรให้มากที่สุด แต่ค่าสถิติที่ได้อาจมีความคลาดเคลื่อนไปจากค่าท่ีแท้จริงของประชากร ถ้า
ความคลาดเคล่ือนมีน้อยจะท�ำให้ความถูกต้องของค่าประมาณมีมาก ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจึงข้ึนอยู่กับ
ความคลาดเคลื่อนของค่าประมาณที่นักวิจัยจะยอมรับได้ เคอร์ลิงเจอร์ (Kerlinger, 2000, p. 175) ช้ีให้เห็น
วา่ ขนาดตวั อยา่ งใหญ่ ความคลาดเคลือ่ นจะมีน้อย แต่ถ้าขนาดตวั อย่างนอ้ ยลง ความคลาดเคลื่อนจะมากขน้ึ
การก�ำหนดขนาดตัวอย่างจึงใช้การก�ำหนดขอบเขตความคลาดเคล่ือน (limit of error: e) ท่ียอมรับได้
1.2 งบประมาณ โดยท่ัวไปในการวิจัยมักถูกก�ำกับด้วยงบประมาณในการด�ำเนินงาน หากงบ
ประมาณมีจ�ำนวนจ�ำกัด เมื่อทราบค่าใช้จ่ายในการรวบรวมข้อมูล และค่าใช้จ่ายของการเก็บรวบรวมข้อมูล
เฉลยี่ ตอ่ หนว่ ย กส็ ามารถกำ� หนดขนาดตวั อยา่ งได้ เชน่ งานวจิ ยั มงี บประมาณการรวบรวมขอ้ มลู 30,000 บาท
และทราบว่าค่าใช้จ่ายในการรวบรวมข้อมูลต่อหน่วยเป็น 100 บาท ดังนั้น สามารถก�ำหนดขนาดตัวอย่างได้
300 หน่วย เป็นต้น