Page 34 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 34
4-24 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
1. การเลอื กกลุ่มตัวอยา่ งแบบบงั เอิญ
การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ หมายถึง การเลือกตัวอย่างที่เป็นใครก็ได้ที่สามารถให้ข้อมูล
ท่ีต้องการได้โดยไม่ก�ำหนดกฎเกณฑ์แน่นอน เช่น ต้องการทราบความคิดเห็นของผู้ชมนิทรรศการ 50 คน
นกั วจิ ยั อาจไปยนื ทปี่ ระตทู างเขา้ -ออกของงานนทิ รรศการ และสอบถามความคดิ เหน็ ของผชู้ มงานทอ่ี อกมาให้
ได้ครบตามจ�ำนวน หรือต้องการทราบความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการจัดกิจกรรมของโรงเรียน นักวิจัย
ก็ไปเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองท่ีมาประชุม โดยไม่ได้ค�ำนึงถึงผู้ปกครองคนอื่น ๆ ท่ีไม่ได้มาประชุมในวันที่
นักวิจัยไปเก็บข้อมูล เป็นต้น
การเลือกกลุ่มตัวอย่างวิธีน้ี อาจเรียกได้ว่า การเลือกตัวอย่างตามความสะดวก (convenience
sampling) เนื่องจากยึดความสะดวกของผู้วิจัยเป็นหลักในการเลือกตัวอย่าง
2. การเลือกกล่มุ ตวั อย่างแบบโควตา
การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการก�ำหนดโควตาหรือจ�ำนวน
หน่วยตัวอย่างให้กับกลุ่มย่อย ๆ ของประชากร ซ่ึงถูกแบ่งตามลักษณะหรือตัวแปรที่ก�ำหนดไว้ล่วงหน้าโดย
ไม่ระบุว่าหน่วยตัวอย่างใดจะถูกเลือก เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจะรวบรวมข้อมูลจากหน่วยต่าง ๆ โดยไม่มี
กฎเกณฑต์ ายตวั แตเ่ ลอื กตามความเหน็ ของผรู้ วบรวมขอ้ มลู จนไดจ้ ำ� นวนครบตามทตี่ อ้ งการ เชน่ ในการสำ� รวจ
ความคิดเห็นของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมตอนต้นแห่งหนึ่ง สมมติว่าทราบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิด
เห็นในเร่ืองนั้น ได้แก่ ระดับการศึกษา และเพศ ผู้วิจัยจะแบ่งนักเรียนตามระดับชั้นเป็น 6 ระดับชั้น และใน
แต่ละระดับช้ันแบ่งนักเรียนตามเพศเป็นเพศหญิงและเพศชาย เม่ือแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามเพศ
และระดับการศึกษาแล้ว ก็คาดว่านักเรียนในกลุ่มเดียวกันจะมีความคิดเห็นต่อเรื่องที่สอบถามคล้ายคลึงกัน
จึงก�ำหนดตัวอย่างตามขนาดของประชากรในแต่ละกลุ่ม ดังตารางท่ี 4.2
ตารางที่ 4.2 ประชากรและกลมุ่ ตวั อยา่ งนักเรยี นชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้
กลุ่มท่ี ประชากร จำ�นวนกลมุ่ ตวั อยา่ ง
1. ชั้น ม.1 เพศชาย 270 41
2. ช้ัน ม.1 เพศหญิง 230 35
3. ชั้น ม.2 เพศชาย 250 38
4. ช้ัน ม.2 เพศหญิง 250 38
5. ช้ัน ม.3 เพศชาย 200 30
6. ช้ัน ม.3 เพศหญิง 250 38
รวม 1,450 220