Page 35 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 35
การออกแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 4-25
จากประชากรนักเรียน 3 ระดับช้ัน จ�ำนวน 1,450 คน ถ้าก�ำหนดสัดส่วนตัวอย่างร้อยละ 15 จะได้
กลุ่มตัวอย่างขนาด 220 คน โดยก�ำหนดโควตานักเรียนแต่ละระดับชั้นดังแสดงในตารางท่ี 4.2
3. การเลือกกลุ่มตวั อยา่ งแบบเจาะจง
การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยโดย
ไม่ค�ำนึงถึงการเลือกแบบสุ่ม (random) ผู้วิจัยเป็นผู้ตัดสินว่าจะเลือกใครเป็นกลุ่มตัวอย่าง เช่น การเลือก
ผเู้ ชยี่ วชาญพจิ ารณาหรอื ใหข้ อ้ มลู เรอ่ื งใดเรอื่ งหนง่ึ เมอ่ื กำ� หนดคณุ สมบตั ขิ องผเู้ ชย่ี วชาญทต่ี อ้ งการและสำ� รวจ
รายช่ือผู้เช่ียวชาญแล้ว ผู้วิจัยจะเลือกผู้เช่ียวชาญท่ีต้องการรวบรวมข้อมูลตามจ�ำนวนท่ีก�ำหนด หรือการ
รวบรวมข้อมูลการด�ำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้วิจัยเลือกประธานกรรมการสถานศึกษา และ
เลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษาแต่ละคณะเป็นผู้ให้ข้อมูล เนื่องจากเห็นว่าบุคคลท้ังสองต�ำแหน่งเป็น
ผู้ท่ีมีความรู้ในเร่ืองที่ต้องการศึกษามากกว่ากรรมการคนอ่ืน ๆ เป็นต้น
การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจะได้กลุ่มตัวอย่างท่ีเป็นตัวแทนท่ีดีของประชากรเพียงใดข้ึนอยู่
กับประสบการณ์และความช�ำนาญของผู้วิจัยในการเลือกตัวอย่าง
การเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ งแบบเจาะจง และการเลอื กตวั อยา่ งแบบโควตามคี วามคลา้ ยคลงึ กนั ในประเดน็
ท่ีมีการก�ำหนดเกณฑ์การเลือกกลุ่มตัวอย่าง แต่มีข้อแตกต่างที่ว่า การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา ผู้วิจัย
ก�ำหนดสัดส่วนของตัวอย่างแต่ละกลุ่มของประชากรไว้ล่วงหน้า ส่วนการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยจะก�ำหนด
ว่าตัวอย่างลักษณะใดสามารถให้ข้อมูลได้เหมาะสมและครบถ้วนตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย
4. การเลือกกลมุ่ ตัวอย่างแบบลกู โซ่ หรือแบบกอ้ นหิมะ หรอื แบบสโนวบ์ อล
การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ หมายถึง การเลือกกลุ่มตัวอย่างท่ีผู้วิจัยเลือกตัวอย่างจ�ำนวนหนึ่ง
ดว้ ยวธิ กี ารเลอื กโดยใชห้ ลกั ความนา่ จะเปน็ หรอื เลอื กโดยไมใ่ ชห้ ลกั ความนา่ จะเปน็ กต็ ามแลว้ ใหก้ ลมุ่ ตวั อยา่ ง
จ�ำนวนนี้แนะน�ำตัวอย่างที่มีลักษณะตามที่ต้องการอีกจ�ำนวนหน่ึง เพื่อท่ีผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลจากตัวอย่างที่ได้
รับการแนะน�ำเพ่ิมข้ึนอีกจ�ำนวนหนึ่ง และท�ำเช่นน้ีเรื่อยไปจนกว่าจะเก็บข้อมูลได้ครบตามจ�ำนวนที่ต้องการ
กลา่ วโดยสรปุ การเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ งโดยไมใ่ ชห้ ลกั ความนา่ จะเปน็ มีหลายวิธี วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง
ตามความสะดวกเป็นวิธีท่ีง่ายท่ีสุด แต่เช่ือถือได้น้อยท่ีสุด การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบน้ีเหมาะกับประชากร
ท่ีมีลักษณะทั่วไปคล้ายกัน ผู้วิจัยไม่ต้องการลักษณะพิเศษของหน่วยตัวอย่าง แต่ในกรณีท่ีผู้วิจัยเห็นว่าควร
ก�ำหนดขนาดตัวอย่างตามลักษณะของประชากรแต่ละกลุ่มควรใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา ในกรณี
ที่ผู้วิจัยทราบว่าหน่วยตัวอย่างใดสามารถให้ข้อมูลได้เหมาะสมและครบถ้วน อาจใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
แบบเจาะจง ส่วนในกรณีที่ผู้วิจัยไม่สามารถระบุหน่วยตัวอย่างได้ อาจใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่
จะท�ำให้ได้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจ�ำนวนมากเท่าท่ีต้องการ