Page 20 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 20
4-10 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
อาจเป็นรายชื่อโรงเรียนแต่ละสังกัด และกรอบตัวอย่างข้ันที่สาม อาจเป็นรายชื่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 ที่สุ่มได้ เป็นต้น กรอบตัวอย่างมีความส�ำคัญมากในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การเลือกกลุ่มตัวอย่างท่ีหน่วย
ตัวอย่างทุกหน่วยมีโอกาสถูกเลือกอย่างเท่าเทียมกัน จ�ำเป็นต้องมีกรอบตัวอย่างซ่ึงประกอบด้วยหน่วย
ตัวอย่างของประชากรครบทุกหน่วย
2.3 กำ� หนดวิธีการหรอื แผนแบบการเลอื กตวั อย่าง (sampling design) เป็นการก�ำหนดว่าจะ
ใช้วิธีการใดในการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างท่ีเป็นตัวแทนท่ีดี (good representative) ของ
ประชากร วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
2.3.1 การเลอื กกล่มุ ตวั อย่างโดยไมใ่ ช้หลักความนา่ จะเปน็ (non probability sampling)
โดยวิธีการนี้ไม่ทราบโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่หน่วยตัวอย่างจะถูกเลือก การเลือกตัวอย่างประเภทนี้แบ่ง
ได้หลายแบบ ได้แก่ 1) การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (accidental sampling) 2) การเลือกตัวอย่างแบบ
โควตา (quota sampling) 3) การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) และ 4) การเลือก
ตัวอย่างแบบก้อนหิมะ (snowball sampling)
2.3.2 การเลอื กตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น (probability sampling) โดยวิธีการ
น้ีสามารถก�ำหนดได้ว่าแต่ละหน่วยของประชากรมีโอกาสเท่าใดที่จะได้รับเลือกเข้าไปเป็นตัวอย่าง โดยโอกาส
ทแ่ี ตล่ ะหนว่ ยของประชากรจะไดร้ บั เลอื กขนึ้ มาเปน็ ตวั อยา่ งมเี ทา่ ๆ กนั การเลอื กตวั อยา่ งหรอื การสมุ่ ตวั อยา่ ง
ประเภทน้ีแบ่งได้หลายแบบ ได้แก่ 1) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) 2) การสุ่ม
ตัวอย่างแบบเป็นระบบ (systematic sampling) 3) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified sampling)
และ 4) การสุ่มตัวอย่างแบบหลายข้ันตอน (multi-stage sampling)
2.4 ก�ำหนดขนาดกล่มุ ตวั อยา่ ง (sample size) ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง
ต่อการได้ข้อมูลท่ีถูกต้องท่ีจะน�ำไปวิเคราะห์ต่อไป ขนาดของกลุ่มตัวอย่างท่ีพอเหมาะจะช่วยให้การวิจัยมี
ความถกู ตอ้ ง และประหยดั คา่ ใชจ้ า่ ยตา่ ง ๆ ซงึ่ ผวู้ จิ ยั จะตอ้ งกำ� หนดขนาดของกลมุ่ ตวั อยา่ งวา่ จะตอ้ งใชจ้ ำ� นวน
ตัวอย่างเท่าใดเพื่อให้ได้ตัวแทนท่ีให้ข้อมูลได้ถูกต้อง ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจะแตกต่างกันไปในการวิจัย
แตล่ ะเร่ือง แลว้ แตว่ ตั ถุประสงคข์ องการวจิ ยั งบประมาณ และเวลาท่ีใช้ในการวิจยั การกำ� หนดขนาดตัวอยา่ ง
ที่นิยมใช้คือ การก�ำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรค�ำนวณ และการก�ำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตาราง
ส�ำเร็จรูป
2.5 ด�ำเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่าง (sampling) ตามแผนแบบท่ีก�ำหนด ในขั้นตอนน้ีเป็น
การด�ำเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรการวิจัยตามแผนแบบและขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ก�ำหนด
หลังจากศกึ ษาเนอ้ื หาสาระเรอ่ื งที่ 4.1.2 แลว้ โปรดปฏบิ ัตกิ ิจกรรม 4.1.2
ในแนวการศกึ ษาหน่วยที่ 4 ตอนที่ 4.1 เร่ืองท่ี 4.1.2