Page 18 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 18

4-8 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

เร่อื งที่ 4.1.2 	หลกั การและข้ันตอนการเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ ง

       การเลือกกลุ่มตัวอย่างมีหลักการและขั้นตอน ดังน้ี
       1. 	 หลกั การออกแบบการเลือกกลมุ่ ตัวอย่าง ในการวิจัย นักวิจัยนิยมศึกษาคุณลักษณะต่าง ๆ ของ
ประชากรจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วสรุปอ้างอิงไปยังคุณลักษณะของประชากร เนื่องจากมีข้อดีหลายประการดัง
ได้กล่าวแล้วน้ัน การออกแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่างยึดหลักการเลือกกลุ่มตัวอย่างให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ดี
เพอื่ ให้ผลการวจิ ัยสามารถอ้างอิงไปยังประชากรทสี่ นใจได้ การเลือกกลุ่มตัวอย่างท่มี ปี ระสทิ ธิภาพ ต้องค�ำนงึ
ถึงหลักการ 2 ประการ คือ

            1.1 	ความเป็นตัวแทนของประชากร (representative) กลุ่มตัวอย่างต้องมีลักษณะของ
ประชากรที่จะศึกษาอย่างครบถ้วน หรือมากท่ีสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังน้ัน ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างจึงต้อง
ระมัดระวังมิให้เกิดความล�ำเอียง เช่น ในการศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการเลือกต้ังสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร ผู้วิจัยจะต้องเลือกประชาชนท่ีเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของประชาชนได้
โดยที่ควรจะต้องเลือกประชาชนในภาคต่าง ๆ ซ่ึงแต่ละภาคอาจจะเลือกบางจังหวัด นอกจากน้ี ควรเลือก
ประชาชนท่ีเป็นกลุ่มตัวอย่างท่ีมีอาชีพแตกต่างกันให้ครอบคลุมทุกอาชีพ หรืออาจจะเลือกจากประชาชน
ท้ังท่ีมีฐานะทางเศรษฐกิจดี ประชาชนท่ีมีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง และประชาชนท่ีมีฐานะทางเศรษฐกิจ
ยากจน ผวู้ จิ ยั ไมค่ วรเลอื กประชากรทเี่ ปน็ กลมุ่ ตวั อยา่ งมาเพยี งบางลกั ษณะเทา่ นน้ั เชน่ เลอื กเฉพาะประชาชน
ที่มีฐานะปานกลาง หรือเลือกศึกษาเฉพาะอาชีพเกษตรกรรม เป็นต้น ซ่ึงการเลือกควรจะเลือกให้คละกันไป
เพ่ือให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนท่ีดีของประชากรต้องได้มา
โดยการเลือกแบบสุ่ม (random sampling)

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยอาจได้มาโดยการเลือกแบบสุ่ม (random sampling) หรือได้มา
โดยการเลือกแบบไม่สุ่ม (nonrandom sampling) ดังกรณีตัวอย่างต่อไปนี้

            ตัวอย่างท่ี 4.4 ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนต้องการส�ำรวจความคิดเห็นของครูเก่ียวกับการจัดการ
เรียนการสอน ผู้อ�ำนวยการน�ำรายชื่อครูทั้งโรงเรียนจ�ำนวน 150 คนใส่กล่อง แล้วหยิบรายช่ือข้ึนมา 30 คน
เพื่อประชุมรับฟังความคิดเห็น

            ตัวอย่างที่ 4.5 ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนต้องการส�ำรวจความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการจัดการ
เรียนการสอน ผู้อ�ำนวยการจึงให้หัวหน้ากลุ่มสาระส่งรายช่ือครูในกลุ่มสาระ กลุ่มละ 4 คน เพ่ือเป็นตัวแทน
ในการประชุมรับฟังความคิดเห็น

            ตัวอย่างที่ 4.6 นักวิจัยต้องการศึกษาความคิดเห็นของครูภาษาไทยเกี่ยวกับการอ่านของ
นักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีครูผู้สอนภาษาไทยจ�ำนวน 750 คน รายชื่อครูจัดเรียง
ตามล�ำดับอักษร ก�ำหนดให้เรียงล�ำดับจากหมายเลข 1 ถึง 750 นักวิจัยใช้ตารางเลขสุ่มท่ีมีในหนังสือสถิติ
เลอื กครู 100 คน มาเป็นกลุ่มตัวอย่าง
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23