Page 15 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 15
การวัดด้านเจตพิสัย 6-5
เรอื่ งท่ี 6.1.1 ความหมายและพฤติกรรมด้านเจตพสิ ัย
วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาหลักสูตรระดับต่าง ๆ ครอบคลุมพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยท่ี
มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ด้านเจตพิสัยท่ีมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดี และด้านทักษะพิสัยท่ีมุ่งให้ผู้เรียนมีความช�ำนาญ
ปฏิบัติกิจกรรมได้ ในหน่วยนี้กล่าวเฉพาะพฤติกรรมด้านเจตพิสัย
1. ความหมายของเจตพสิ ัย
มีนักการศึกษาหลายท่านกล่าวถึงความหมายเจตพิสัย (affective domain) ดังนี้
เจตพิสัย เป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับความรู้สึกอารมณ์ คุณลักษณะ (character) และจิตส�ำนึก
(conscience) แสดงออกถึงความสนใจ เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม (Krathwohl, Bloom, &
Masia, 1964)
การแสดงออกของเจตพสิ ยั เกยี่ วขอ้ งกบั ความคดิ เหน็ ความเชอื่ หรอื การประเมนิ ของคณุ คา่ (Smith
& Ragan, 1999, p. 95)
เจตพิสัย เป็นลักษณะท่ีเกี่ยวข้องกับความรู้สึกของบุคคล จึงมิใช่เร่ืองท่ีจะบอกได้ว่าถูกต้องหรือ
ไม่ถูกต้อง ความรู้สึกมีความหลากหลายในด้านระดับ มีความเข้มข้นของอารมณ์จ�ำแนกได้หลายระดับ
ไม่ว่าจะเป็นความช่ืนชม ความซาบซึ้ง จนถึงความภูมิใจ นอกจากน้ันมีทิศทางท้ังบวกและลบ ปรากฏออกมา
เป็นค่านิยม คุณธรรม (โกวิท ประวาลพฤกษ์, 2535, น. 627)
เจตพิสัย หมายถึง ความรู้สึกต่อส่ิงใดสิ่งหนึ่ง เป็นความคิด ความเช่ือ หรือการกระท�ำ หลักการ
วัตถุสิ่งของหรืออื่น ๆ ที่เก่ียวข้องกับค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม กระบวนการของบุคคล (กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ, 2539, น. 4-6)
สรุปได้ว่า เจตพิสัย หมายถึง คุณลักษณะแฝงภายในของบุคคล ที่เป็นด้านจิตใจและความรู้สึก
ได้แก่ ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมที่แสดงออกมาทั้งการพูดแสดงความคิดเห็น
การกระท�ำ และพฤติกรรมอื่น ๆ
2. พฤติกรรมดา้ นเจตพสิ ัย
บลูม และคณะ (Bloom and others, 1954) จัดระบบหมวดพฤติกรรมการเรียนรู้ของบุคคลโดย
จ�ำแนกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย (cognative domain) เป็นพฤติกรรมสติปัญญา ด้านเจตพิสัย
(affective domain) เป็นพฤติกรรมเก่ียวกบั จิตใจความรูส้ กึ และด้านทักษะพิสยั (psychomotor domain)
เปน็ พฤตกิ รรมเกยี่ วกบั การใชอ้ วยั วะในการเคลอื่ นไหวและปฏบิ ตั งิ าน ในหนงั สอื Taxonomy of Educational
Objectives เล่ม 1 บลูมกล่าวถึงรายละเอียดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย แต่อีก 2 ด้านที่เหลือมิได้กล่าวไว้