Page 18 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 18
6-8 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
นอกจากนี้ แครธโวล และคณะแสดงความเก่ียวพันของเจตพิสัยดังกล่าวจ�ำแนกตามระดับ
พฒั นาการดา้ นจติ ใจ ดงั นี้ ความสนใจจะเรมิ่ พฒั นาตง้ั แตข่ น้ั การรบั รู้ สนใจตดิ ตามรบั สนใจตอบสนอง จนถงึ
สนใจอย่างมุ่งม่ัน (3.3) ความซาบซ้ึงมีช่วงแคบกว่าความสนใจ ยังไม่ถึงขั้นมุ่งม่ัน เริ่มจากติดตาม สนใจรับ
(1.3) จนถึงข้ันนิยมยกย่อง (3.2) ส่วนเจตคติ มีระดับพัฒนาการระดับสูง เร่ิมจากระดับเต็มใจ ตอบสนอง
(2.2) ค�ำนึงถึงผลการกระท�ำ ครอบคลุมไปถึงการสร้างความเข้าใจหรือมีสังกัปของความรู้สึก (4.1) ส่วน
คุณธรรมและจริยธรรม เริ่มพัฒนาตั้งแต่ขั้นการรับรู้ (1.1) จนถึงสร้างนิสัยประจ�ำตัว (5.2)
3. ลกั ษณะทสี่ ำ�คญั ของเจตพสิ ัย
เจตพิสัย มีธรรมชาติที่แตกต่างจากคุณลักษณะภายในอื่น ๆ 5 ประการ คือ 1) เป็นพฤติกรรมท่ี
เกยี่ วขอ้ งกบั ความรสู้ กึ หรอื อารมณ์ (feeling/emotion) การแสดงออกใหป้ รากฏอาจเปลย่ี นแปลงตามเงอื่ นไข
หรือสถานการณ์ 2) เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล (typical) บุคคลอาจมีความรู้สึกเหมือนกัน
แต่มีพฤติกรรมแสดงออกแตกต่างกัน การจะตัดสินพฤติกรรมท่ีแสดงออกว่าควรหรือไม่ควร ต้องใช้เกณฑ์
ปกติหรือมาตรฐานสังคมของบุคคลนั้น 3) เป็นคุณลักษณะท่ีมีทิศทาง (direction) ได้สองทาง ทิศทางบวก
จะเปน็ ทพ่ี งึ ปรารถนามากกวา่ ทศิ ทางลบ คณุ ลกั ษณะทศิ ทางบวก ไดแ้ ก่ ขยนั ซอื่ สตั ย์ ชอบ สว่ นทศิ ทางลบ ไดแ้ ก่
เกียจคร้าน คดโกง เกลียด 4) เป็นคุณลักษณะที่มีระดับความมากน้อย (intensity) เช่น รักมาก
รักน้อย ขยัน ก็จะขยันมาก ขยันน้อย และ 5) เป็นคุณลักษณะท่ีมีเป้าหมาย (target) อาจจะเป็นคน สัตว์
สิ่งของ เหตุการณ์ หรือสภาวะใด ๆ ก็ได้ เช่น ขยันต่ออะไร เจตคติต่ออะไร ได้แก่ ขยันท�ำงานบ้าน ขยันอ่าน
หนังสือ เจตคติต่ออาชีพ เป็นต้น ความซับซ้อนของพฤติกรรมเจตพิสัยอาจจ�ำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
3.1 กลุ่มความรู้สึก (feeling) เป็นสภาวะจิตใจที่ตอบสนองต่อส่ิงเร้า หลังจากการที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ
ด้วยประสาทสัมผัส เกิดเป็นความรู้สึกสนใจ ชื่นชอบ จนเป็นความต้องการที่แน่วแน่ให้เกิดผลสัมฤทธ์ิ
กลุ่มความรู้สึก ได้แก่ ความสนใจ เจตคติ ความพึงพอใจ การสร้างเครื่องมือกลุ่มนี้จะกล่าวถึงในตอนท่ี 6.3
3.2 กลมุ่ คณุ ลกั ษณะ (characteristic) เปน็ ลกั ษณะนสิ ยั ทม่ี ปี ระจำ� ในบคุ คล แสดงออกเปน็ ประพฤติ
ปฏิบัติ ซ่ึงพิจารณาจากคุณธรรมและจริยธรรม (moral) ค่านิยม คุณงามความดีท่ีเป็นที่ยอมรับของสังคม
ได้แก่ ความมีวินัย ความซ่ือสัตย์ ความเมตตา เป็นต้น การสร้างเครื่องมือกลุ่มคุณธรรม จริยธรรม
และคุณลักษณะจะกล่าวถึงในตอนท่ี 6.4
สรุปได้ว่า ลักษณะที่ส�ำคัญของเจตพิสัยคือ เก่ียวข้องกับจิตใจและความรู้สึก เป็นพฤติกรรมท่ี
เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์แวดล้อมและเง่ือนไข เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล มีทิศทาง
ได้สองทาง มีระดับความมากน้อย และมีเป้าหมาย
4. คุณลกั ษณะในศตวรรษท่ี 21
สาระส�ำคัญของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ท่ีเป็นทักษะแห่งอนาคตใหม่ (ส�ำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาข้ันพื้นฐาน, น. 2559ก) ทักษะแห่งอนาคตใหม่เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มีองค์ประกอบ
3 ส่วน คือ เน้ือหาการเรียนรู้ คุณลักษณะ และทักษะ ส�ำหรับคุณลักษณะคนในศตวรรษท่ี 21 คือ การเป็น