Page 21 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 21

การวัดด้านเจตพิสัย 6-11

            1.2.4 	การใช้แบบวัดสถานการณ์ เป็นการน�ำเอาเร่ืองราวปัญหาเชิงคุณธรรม จริยธรรมมา
กระตุ้นให้ผู้ตอบแสดงความรู้สึกออกมา จึงเป็นการวัดในเชิงแนวโน้มของพฤติกรรมทางจริยธรรม วิธีนี้
มักใช้ในกรณีที่ผู้วัดไม่รู้จักคุ้นเคยกับผู้เรียน ต้องวัดผู้เรียนจ�ำนวนมากในเวลาไม่มากนัก เครื่องมือท่ีใช้ใน
วิธีการน้ีคือ แบบวัดสถานการณ์ การสร้างเคร่ืองมือประเภทนี้ผู้สร้างจะต้องมีแนวคิดทฤษฎีรองรับ ข้อจ�ำกัด
ของวิธีนี้คือ เป็นการวัดทางอ้อมท่ีผู้ตอบอาจตอบด้วยความรู้สึกท่ีแท้จริงหรืออาจตอบเพื่อให้ดูดี ซึ่งผู้สร้าง
เครื่องมือจะต้องพยายามใช้หลาย ๆ สถานการณ์เพื่อเข้าถึงความจริงใจในการตอบ

            1.2.5 การซักถาม/สัมภาษณ์ เป็นการที่ครูพูดคุยซักถามกับผู้เรียนโดยตรง ข้อดีของการ
สัมภาษณ์คือ ท�ำให้ได้ข้อมูลลึกซึ้งและละเอียดข้ึน ได้ความเห็นในมุมมองที่กว้างขวางกว่าการตรวจจาก
ผลงานแต่อย่างเดียว ครูจะได้ทราบเบื้องหลังของแนวคิดของการสร้างสรรค์งาน ความร่วมมือในการท�ำงาน
กลุ่ม การขวนขวาย ตั้งใจท�ำงาน แต่มีข้อจ�ำกัดคือ เสียเวลามากกว่าวิธีอ่ืน ๆ เคร่ืองมือท่ีใช้ในวิธีการน้ีคือ
แบบสัมภาษณ์

            1.2.6 	การใหท้ ำ� แบบสงั คมมติ ิ (sociometry) เป็นการให้เพื่อนนักเรียนในห้องท�ำเครื่องมือที่ใช้
วัดศึกษาความสัมพันธ์เชิงสังคมของผู้เรียนกับเพ่ือน ๆ ในห้องเรียน ตรงกับหลักจิตวิทยาท่ีว่า การจะศึกษา
บคุ คลใดบคุ คลหนงึ่ แตเ่ พยี งผเู้ ดยี วยอ่ มท�ำใหไ้ มเ่ ขา้ ใจถอ่ งแทไ้ ด้ จำ� เปน็ ตอ้ งศกึ ษาบคุ คลทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั สงั คม
ท่ีอยู่ด้วย

            1.2.7 	เทคนิคด้านจิตวิเคราะห์ ได้แก่ เทคนิคการฉายออก (projective techniques) เป็น
การวัดเจตคติโดยการให้สร้างจินตนาการจากภาพ โดยใช้ภาพเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลน้ันแสดงความคิดเห็น
ออกมา เพื่อสังเกตและวัดได้ว่าบุคคลนั้นมีความรู้สึกอย่างไร ซึ่งบุคคลน้ันจะแสดงออกตามประสบการณ์
ของตนเอง และแต่ละคนจะมีลักษณะของการแสดงออกท่ีไม่เหมือนกัน

2. 	เคร่ืองมือวัดด้านเจตพสิ ัย

       2.1 	แบบบนั ทกึ การสงั เกต เปน็ เครอ่ื งมือทีใ่ ชเ้ ก็บข้อมูลด้วยวิธีการสงั เกตพฤตกิ รรม การทำ� งานของ
ผู้เรยี น แบบบนั ทกึ การสังเกตสว่ นใหญ่ใช้กับการวดั ดา้ นทักษะพิสัยและดา้ นเจตพสิ ัย พฤติกรรมท่ีแสดงออก
ด้านเจตพิสัย ได้แก่ การวัดเจตคติ ความพึงพอใจ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น

       ผู้บันทึกผลในแบบบันทึกการสังเกต ใช้กับวิธีการสังเกตเฝ้าดูพฤติกรรมเฉพาะด้านเจตพิสัยของ
ผู้เรียนแต่เพียงอย่างเดียวตามสภาพความเป็นจริง เช่น สังเกตพฤติกรรมการมีวินัยของนักเรียน หรือใช้
สงั เกตพฤตกิ รรมดา้ นเจตพสิ ยั รว่ มกบั กจิ กรรมดา้ นทกั ษะพสิ ยั เชน่ ขณะทผี่ เู้ รยี นลงมอื ปฏบิ ตั งิ านการเกษตร
สังเกตเจตพิสัยด้านความรักษาความสะอาด ความรับผิดชอบร่วมด้วย หรือเป็นการตรวจแบบฝึกหัด
ผลงาน/แฟ้มสะสมงานท่ีมอบหมาย เป็นต้น แบบบันทึกการสังเกตมีข้อดีคือ ได้เห็นข้อมูลท่ีเป็นจริง
ครูสามารถสังเกตพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างไปพร้อมกัน เหมาะกับการวัดในช้ันเรียน ข้อจ�ำกัดคือ สังเกตได้
เฉพาะพฤติกรรมปัจจุบัน และเป็นวิธีที่ใช้เวลานานกว่าวิธีอ่ืน หากเป็นการเก็บข้อมูลนอกสถานที่ต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายมาก
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26