Page 25 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 25
การวัดด้านเจตพิสัย 6-15
แบบวัดสถานการณ์มีข้อดีคือ คะแนนจากแบบทดสอบปรนัย ไม่มีอคติจากการตรวจให้คะแนน
ข้อจ�ำกัดของข้อทดสอบแบบนี้ก็เหมือนกับข้อจ�ำกัดของข้อทดสอบโดยทั่ว ๆ ไปก็คือ ผู้ตอบอาจคิดอย่างหนึ่ง
และตอบออกมาอีกอย่างหน่ึงก็ได้ เพ่ือที่จะไม่ให้เกิดเงื่อนไขเหล่านี้ข้ึน การทดสอบโดยใช้สถานการณ์จ�ำเป็น
ต้องมีค�ำอธิบายที่เน้นย�้ำว่า ไม่มีค�ำตอบใดถูกค�ำตอบใดผิด ให้ตอบตามความรู้สึกท่ีแท้จริงของตน
เจตพิสัยเป็นคุณลักษณะแฝงภายในบุคคล การที่จะทราบว่าบุคคลมีเจตคติหรือไม่ หรือมีคุณธรรม
ในระดับใดน้ัน ต้องใช้วิธีการวัดท่ีสามารถสะท้อนสภาพความจริงของผู้น้ันได้ ผู้ท่ีต้องการวัดเจตพิสัยจ�ำเป็น
ต้องเข้าใจหลักการวัดและวิธีการวัดด้านเจตพิสัยให้ถ่องแท้เสียก่อน
ตัวอย่างแบบวัดสถานการณ์ ด้านความซื่อสัตย์
เพื่อนรักของนักเรียนมีฐานะยากจน ต้องช่วยทางบ้านขายอาหารจนดึกด่ืนไม่มีเวลาว่าง
นักเรียนจะให้เพื่อนคนน้ีลอกการบ้านหรือท�ำกิจกรรมกลุ่มแทนเขาหรือไม่ เพราะอะไร
3. แนวทางการเลือกใชว้ ิธีการวัดเจตพสิ ัย
การเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือการวัดเจตพิสัย พิจารณาจากแนวทางต่อไปน้ี
3.1 วัตถุประสงค์ของการวัด เช่น วัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจหรือประเมินเจตคติ
เคร่ืองมือที่สะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสามารถวัดได้กับคนจ�ำนวนมาก คือ แบบสอบถามมาตร
ประมาณค่า ส่วนการวัดด้วยการสัมภาษณ์หรือพูดคุยจะได้ข้อมูลเชิงลึกท่ีดี แต่ต้องใช้เวลามาก หากเป็น
วัตถุประสงค์เพ่ือประเมินคุณธรรม จริยธรรม ควรใช้การสังเกตพฤติกรรมความประพฤติ การปฏิบัติตน
และการท�ำงานของผู้เรียนโดยตรง
3.2 ลกั ษณะ/พฤตกิ รรมทต่ี อ้ งการวดั เนื่องจากคณุ ลักษณะ/พฤติกรรมทางคณุ ธรรม จรยิ ธรรมเปน็
เจตพิสัยท่ีมีความซับซ้อน อาจแบ่งได้ 4 ประเภท ซึ่งการวัดแต่ละประเภทใช้วิธีการและเคร่ืองมือแตกต่างกัน
เช่น ต้องการวัดความรู้เชิงจริยธรรม ควรใช้แบบทดสอบ การซักถาม หากต้องการวัดเจตคติเชิงจริยธรรม
หรือความรู้สึกทางจริยธรรม ควรใช้แบบวัดสถานการณ์ แบบสอบถามท่ีเป็นมาตรวัดเจตคติ หากต้องการ
วัดเหตุผลเชิงจริยธรรม ควรใช้แบบวัดสถานการณ์ แบบสอบถาม หากต้องการวัดพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ควรใช้แบบสังเกต การตรวจสอบผลงาน เพราะได้เห็นข้อมูลตามสภาพที่เป็นจริงมากกว่าการบอกเล่าหรือ
การเขียนบรรยาย เป็นต้น
3.3 ลักษณะของข้อมูลท่ีต้องการใช้ หากประเด็นค�ำถามที่ต้องการทราบมีปริมาณค�ำถามมาก
ควรใช้แบบสอบถามมาตรประมาณค่า หากต้องการรายละเอียดของข้อมูลในเชิงลึก หรือต้องการข้อมูล
บางประเดน็ ทนี่ า่ สนใจเพม่ิ เตมิ จากแบบสอบถามมาตรประมาณคา่ กค็ วรใชว้ ธิ กี ารสมั ภาษณร์ ว่ มกบั การสงั เกต
3.4 ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง เช่น หากเก็บข้อมูลจากคนที่อ่านหนังสือไม่ออก ควรใช้การซักถาม
สัมภาษณ์ การวัดในห้องเรียน (classroom measurement) ที่ผู้วัดหรือครูรู้จักคุ้นเคยกับผู้เรียน ใช้การ
สังเกตความประพฤติการปฏิบัติตนและการท�ำงานของผู้เรียนโดยตรง การเก็บข้อมูลจากเด็กประถมต้น ๆ