Page 30 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 30

6-20 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

เรื่องท่ี 6.2.1 	การสร้างแบบสอบถาม

       เครอ่ื งมือวดั เจตพิสัยสามารถใช้ไดห้ ลายประเภท ขน้ึ กบั สถานการณแ์ ละกลมุ่ เปา้ หมายทตี่ ้องการวดั
แต่เคร่ืองมือที่สะดวกใช้กันท่ัวไปคือแบบสอบถาม ขอกล่าวถึงความรู้เบ้ืองต้นเก่ียวกับแบบสอบถาม ดังนี้

1. 	ความหมายและสว่ นประกอบแบบสอบถาม

       1.1 	ความหมายของแบบสอบถาม แบบสอบถาม (questionnaire) คือ ชุดของของค�ำถาม (items)
ท่ีใช้สอบถามข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็นของผู้ตอบ ค�ำตอบท่ีได้จากแบบสอบถามไม่มีการตัดสินว่าถูก
หรอื ผดิ (วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, 2544, น. 5) แบบสอบถามเป็นเครื่องมือท่ีเหมาะสมกับการเก็บข้อมูลกับ
กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ แต่มีข้อจ�ำกัดด้านเวลา แรงงาน และทุนทรัพย์เกินกว่าจะใช้วิธีการแบบอ่ืนได้ ข้อมูล
ที่เหมาะกับการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความคิดเห็น ความเช่ือ ทัศนคติ
และความสนใจ วิธีการสร้างแบบสอบถามมีความยุ่งยากน้อยกว่าการสร้างแบบทดสอบ จึงท�ำให้การรวบรวม
ข้อมูลด้วยแบบสอบถามเป็นวิธีท่ีได้รับความนิยมมาก

       1.2 	สว่ นประกอบของแบบสอบถาม ส่วนมากมีส่วนประกอบที่ส�ำคัญ 3 ส่วน คือ
            1.2.1 	สว่ นนำ� เป็นการแจ้งวัตถุประสงค์ของการจัดท�ำแบบสอบถาม การน�ำผลการตอบไปใช้

ชื่อบุคคล หรือหน่วยงานที่จัดท�ำแบบสอบถาม
            1.2.2 	ส่วนที่เป็นข้อมูลทั่วไป หรือบางครั้งเรียกว่า ข้อมูลส่วนตัว เป็นการถามข้อมูลของ

ผู้ตอบ เช่น เพศ สถานภาพทางครอบครัว การศึกษา ต�ำแหน่ง ลักษณะเป็นตัวเลือก และแบบเติมค�ำตอบ
            1.2.3 	ส่วนที่เป็นค�ำถามในประเด็นท่ีต้องการศึกษา ซ่ึงเป็นส่วนที่ส�ำคัญของแบบสอบถาม

การก�ำหนดเน้ือหาของแบบสอบถาม ซึ่งอาจแบ่งเป็นหลายตอน ขึ้นกับจ�ำนวนตัวแปรหรือสิ่งท่ีต้องการวัด
       1.3 	รูปแบบของขอ้ ความของแบบสอบถาม มีหลายรูปแบบ รายละเอียดดังน้ี
            1.3.1 	แบบมีตัวเลือก เป็นค�ำถามท่ีก�ำหนดค�ำตอบไว้ให้เลือกตอบ ตัวเลือกต้องครอบคลุม

ค�ำตอบท่ีเป็นไปได้ท้ังหมด หากคาดว่าจะมีค�ำตอบอื่นอีก ให้เพ่ิมตัวเลือกว่า อื่น ๆ (โปรดระบุ) ……. ตัวอย่าง
            การศึกษาของท่าน    ตํ่ากว่าปริญญาตรี       ปริญญาตรี         สูงกว่าปริญญาตรี
            1.3.2 	แบบให้เรียงล�ำดับ เช่น ความนิยม ความส�ำคัญ ความจ�ำเป็นเร่งด่วน เป็นต้น การ

วิเคราะห์โดยการก�ำหนดให้น้ําหนักคะแนนเรียงตามล�ำดับความส�ำคัญในการเลือก เช่น เรียงล�ำดับความ
ส�ำคัญ 4 ล�ำดับ ล�ำดับแรกท่ีมีความส�ำคัญมากท่ีสุดให้คะแนน 4 รองลงมาคือ 3, 2 และ 1 คะแนน ตามล�ำดับ
เป็นต้น
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35