Page 54 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 54
6-44 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
เรอ่ื งที่ 6.3.1 การสร้างและตรวจสอบคณุ ภาพแบบวัดเจตคติ
พฤติกรรมด้านเจตพิสยั เริ่มจากการรบั รสู้ ่งิ แวดลอ้ ม ความรู้ ความเชอ่ื แล้วมคี วามรสู้ กึ ตอ่ ส่ิงทร่ี บั รู้
จนกระทั่งเป็นลักษณะนิสัยประจ�ำตัวของแต่ละบุคคล เจตคติเป็นลักษณะหน่ึงของเจตพิสัยด้านความรู้สึก
การจะสร้างเครื่องมือวัดเจตคติ จ�ำเป็นต้องทราบความหมาย ดังนี้
1. แนวคดิ เก่ยี วกบั เจตคติ
เจตคติ หรือทัศนคติ (attitudes) มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า aptus แปลว่า โน้มเอียง
ซึ่งนักวิชาการแต่ละท่านได้ให้ความหมายของทัศนคติไว้อย่างแตกต่างกันตามทรรศนะของตน ดังนี้
เจตคติ เปน็ ระดบั ความมากนอ้ ยของความรสู้ กึ ในดา้ นบวกหรอื ลบทม่ี ตี อ่ สง่ิ หนงึ่ (Thurstone, 1946)
เจตคติ เปน็ การประมวลความรสู้ กึ ที่มีต่อส่ิงเรา้ ทางสงั คม จะแสดงออกใน 2 ลักษณะ คือ สนับสนนุ
หรือคัดค้าน (Krech et al., 1960 อ้างถึงใน วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, 2544, น. 6)
เจตคติ หมายถึง สภาพของจิตใจที่เกิดจากความเช่ือ ความรู้สึก การไตร่ตรองที่มีต่อคน สิ่งของ
ต่าง ๆ และแนวโน้มแสดงออกในทางบวกหรือทางลบ (Glietman, 1992, p. 309)
เจตคติ เป็นความรู้สึกเชิงบวกหรือเชิงลบ เป็นสภาวะจิตใจในการพร้อมท่ีจะส่งผลกระทบต่อการ
ตอบสนองของบุคคลนั้น ๆ ต่อบุคคลอื่น ๆ ต่อวัตถุหรือต่อสถานการณ์ โดยที่ทัศนคติน้ีสามารถเรียนรู้หรือ
จัดการได้โดยใช้ประสบการณ์ (Gibson, 2000, p. 102)
เจตคติ เป็นความรู้สึกโน้มเอียงทางจิตใจของบุคคลท่ีมีต่อส่ิงใดส่ิงหนึ่ง ความโน้มเอียงดังกล่าวเป็น
ไปทั้งในทิศทางท่ีพึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนาก็ได้ พร้อมที่จะปฏิบัติต่อสิ่งน้ันให้สอดคล้องกับทิศทาง
ความรู้สึกที่ตนมี ขอบเขตของคุณลักษณะด้านทัศนคติเร่ิมจากบุคคลเลือกรับรู้เฉพาะสิ่งท่ีตนอยากรับรู้แล้ว
ตอบสนองต่อส่ิงน้ัน จึงเกิดความรู้สึกนิยมชมชอบต่อส่ิงน้ัน (สมบูรณ์ ชิตพงศ์, 2550, น. 4-7)
สรุปได้ว่า เจตคติ คือ ความรู้สึกชื่นชอบ หรือไม่ชื่นชอบของบุคคลท่ีมีต่อส่ิงใดสิ่งหน่ึง และมี
แนวโน้มที่จะตอบสนองต่อส่ิงนั้นตามความรู้สึกของตน
เจตคติมีทิศทางท้ังทางบวกและทางลบ เจตคติเชิงบวกเป็นความรู้สึกท่ีดีต่อสิ่งน้ัน จะแสดงออกใน
ลักษณะความชอบ ความพึงพอใจ ความสนใจ เห็นด้วย อยากท�ำ อยากได้ ส่วนเจตคติทางลบเป็นความรู้สึก
ท่ีไม่ดีต่อสิ่งนั้น จะแสดงออกในลักษณะไม่ชอบ ไม่พึงพอใจ ไม่สนใจ ไม่เห็นด้วย
ลักษณะที่ส�ำคัญของเจตคติมีหลายประการ (Shaw & Wright, 1996) คือ
1) เจตคติเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์และความรู้ ไม่ได้ติดตัวมาแต่ก�ำเนิด
2) เจตคติมีส่วนประกอบทางด้านความคิดหรือความรู้ ความเข้าใจ เป็นส่วนประกอบข้ันพ้ืนฐาน
3) เจตคติมีลักษณะของการประเมินความคิดความเชื่อ (evaluation nature) แล้วท�ำให้เกิดการ
ตอบสนอง