Page 55 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 55

การวัดด้านเจตพิสัย 6-45

       4) 	มรี ะดับความเข้ม (intensity) ทจ่ี ะบอกถงึ ความแตกตา่ งของเจตคตใิ นแต่ละบุคคล ถา้ ชอบมาก
หรือเห็นด้วยอย่างยิ่งแสดงว่ามีความเข้มสูง ถ้าไม่ชอบเลยหรือไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งก็แสดงว่ามีความเข้มสูง
แต่เป็นคนละทิศทาง

       5) 	มีเป้าหมาย (attitude object) เจตคติความคงทน (permanence) เจตคติเป็นส่ิงที่บุคคล
ยึดม่ัน ท�ำให้การเปลี่ยนแปลงเจตคติเกิดขึ้นได้ยาก และมีส่วนในการก�ำหนดพฤติกรรม

       6) 	มีลักษณะแสดงความสัมพันธ์ (relation) ระหว่างบุคคลกับสิ่งของหรือสถานการณ์

2. 	การวดั เจตคติ

       การวัดเจตคติเป็นการวัดถึงความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อเป้าหมายส่ิงใดสิ่งหน่ึง ท่ีไม่สามารถวัดได้
โดยตรง เป็นการวัดทางอ้อมจากแนวโน้มที่บุคคลจะแสดงออกหรือปฏิบัติ การวัดเจตคติไม่ใช่เป็นการศึกษา
เฉพาะทิศทางเจตคติของบุคคลเหล่าน้ัน แต่ศึกษาถึงระดับความมากน้อยหรือความเข้มของเจตคติอีกด้วย

       วิธีการที่ใช้วัดเจตคติมีหลายวิธี แต่ท่ีนิยมใช้กันมาก ได้แก่ การให้ท�ำแบบสอบถามมาตรวัดเจตคติ
นอกจากนั้นยังมีการวัดด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์ เคร่ืองมือประเภทนี้ ได้แก่ มาตรวัดลิเคิร์ท มาตรวัด
เทอร์สโตน มาตรวัดออสกูด ซึ่งแต่ละชนิดมีข้อดีข้อจ�ำกัดแตกต่างกัน

       การเลือกวัดมาตรวัดขึ้นกับวัตถุประสงค์และปริมาณผู้ท่ีถูกวัด เช่น การวัดเจตคติของผู้เรียนใน
ห้องเรียน (classroom measurement) ที่ผู้วัดหรือครูรู้จักคุ้นเคยกับผู้เรียน อาจใช้วิธีพูดคุยสอบถาม การ
สังเกต หรือให้ท�ำแบบสอบถามมาตรวัดเจตคติ แต่หากเป็นการวัดคนกลุ่มใหญ่ เช่น วัดเจตคติของผู้เรียน
ท้ังอ�ำเภอ ท้ังเขต ในระดับควรให้ท�ำแบบสอบถามมาตรวัดเจตคติ

3. 	การสร้างมาตรวดั เจตคติ

       ขั้นตอนการสร้างและตรวจสอบมาตรวัดเจตคติ แบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ การเตรียมสร้างมาตรวัด
เจตคติ การด�ำเนินการสร้างมาตรวัดเจตคติ ตรวจสอบคุณภาพมาตรวัดเจตคติ และการสร้างคู่มือการใช้
รายละเอียดมีดังนี้

       3.1 	การเตรียมสรา้ งมาตรวัดเจตคติ
            3.1.1 	กำ� หนดพฤตกิ รรมทตี่ อ้ งการวดั วา่ วดั อะไร กบั ใคร เปา้ หมายการวดั คอื เรอ่ื งใด เปน็ การ

ก�ำหนดขอบเขตการวัด เช่น วัดเจตคติของนักเรียนเก่ียวกับการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ วัดเจตคติของ
ประชาชนต่อละครทางโทรทัศน์ เป็นต้น

            3.1.2 	ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ผลการศึกษาเก่ียวกับเจตคติ เป้าหมายการวัด เร่ิมด้วยการ
ค้นคว้าศึกษาสิ่งที่เป็นเป้าหมายว่ามีความหมายอย่างไร มีองค์ประกอบหรือโครงสร้างแบบใด เพ่ือให้เข้าใจ
พฤติกรรมที่ต้องการวัดให้ถ่องแท้ หากเป็นการวัดกับนักเรียน จ�ำเป็นต้องวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ตาม
หลกั สตู ร เพอ่ื เป็นแนวทางในการกำ� หนดความหมาย ตัวชีว้ ัด และพฤติกรรมทบี่ ง่ ชข้ี องเปา้ หมายสง่ิ ที่ต้องการ
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60