Page 59 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 59

การวัดด้านเจตพิสัย 6-49

เรื่องที่ 6.3.2 	การสรา้ งและตรวจสอบคณุ ภาพแบบวดั ความพงึ พอใจ

       ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกประเภทหน่ึงในขอบเขตพฤติกรรมด้านเจตพิสัยที่มีความหมาย
ใกลเ้ คยี งกบั เจตคติ การสรา้ งและตรวจสอบคณุ ภาพเครอื่ งมอื วดั ความพงึ พอใจจงึ มสี ว่ นคลา้ ยคลงึ กบั เจตคติ

1. 	แนวคิดเก่ียวกับความพึงพอใจ

       ความพึงพอใจ (satisfaction) เป็นความรู้สึก (feeling) ที่มีความสุขเมื่อได้รับผลส�ำเร็จตามความ
มุ่งหมาย ตามความต้องการหรือตามแรงจูงใจของบุคคลน้ัน (Wolman, 1973, p. 384)

       ความพึงพอใจเป็นสภาพหรือระดับ ความพึงพอใจเป็นผลมาจากความสนใจ และเจตคติที่บุคคล
มีต่อสิ่งน้ัน (Good, 1973, p. 320)

       ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่มีความสุขหรือความพอใจเม่ือได้รับความส�ำเร็จ หรือได้รับ
สิ่งที่ต้องการ (Quirk, 1987)

       เจตคติและความพึงพอใจต่อส่ิงหนึ่งส่ิงใดสามารถใช้แทนกันได้ เพราะทั้งสองค�ำหมายถึงผลท่ีได้
จากการที่บุคคลเข้าไปมีส่วนร่วมในส่ิงน้ัน เจตคติทางบวกจะแสดงให้เห็นสภาพความพึงพอใจในสิ่งนั้น
เจตคติทางลบแสดงให้เห็นความไม่พึงพอใจ (Vroom, 1964)

       การวัดความพึงพอใจ จึงเป็นการวัดความรู้สึกท่ีดีหรือเจตคติทางบวกของบุคคลที่เกิดจากการได้
รับการตอบสนองตามท่ีตนต้องการ ตรงกันข้ามหากความต้องการไม่ได้รับการตอบสนอง ความไม่พึงพอใจ
ก็จะเกิดข้ึน การวัดความพึงพอใจท่ีมีต่อการใช้บริการจะเกิดข้ึนหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงลักษณะของ
การให้บริการขององค์กร ประกอบกับระดับความรู้สึกของผู้มารับบริการในมิติต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล

       โคร์แมน (Korman, 1977, pp. 140-143) จ�ำแนกทฤษฎีความพึงพอใจในงานว่ามี 2 กลุ่ม คือ
       1) 	ทฤษฎีการสนองความต้องการ กลุ่มนี้ถือว่าความพึงพอใจในงาน เกิดจากความต้องการ
ส่วนบุคคลท่ีมีความสัมพันธ์ต่อผลที่ได้รับจากงานกับการประสบความส�ำเร็จตามเป้าหมายส่วนบุคคล
       2) 	ทฤษฎีการอ้างอิงกลุ่ม ความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับคุณลักษณะของงาน
ตามความปรารถนาของกลุ่ม ซ่ึงสมาชิกให้กลุ่มเป็นแนวทางในการประเมินผลการท�ำงาน

2. 	การวดั ความพึงพอใจ

       วิธีการวัดความพึงพอใจกระท�ำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต
กิริยาท่าทาง สีหน้า การพูด และความถี่ของการมาขอรับบริการ ทั้งนี้ข้ึนอยู่กับความสะดวก ความเหมาะสม
ตลอดจนจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของการวัด เครื่องมือที่ใช้วัดจึงได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า
อาจจะเป็นมาตรวัดแบบลิเคิร์ท มาตรวัดแบบเทอร์สโตน มาตรวัดแบบออสกูด แบบบันทึกการสังเกต
แบบสัมภาษณ์ เป็นต้น
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64