Page 63 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 63

การวัดด้านเจตพิสัย 6-53

เรอ่ื งที่ 6.3.3 การสร้างและตรวจสอบคณุ ภาพแบบวัดคา่ นิยม

       ค่านิยมเป็นเจตพิสัยกลุ่มท่ีเป็นด้านความรู้สึกเช่นเดียวกับเจตคติและความพึงพอใจ แต่เป็น
ความเชื่อที่บุคคลยึดถือว่าเป็นส่ิงมีคุณค่า มีความส�ำคัญ ใช้เป็นแนวทางในการด�ำเนินชีวิต

1. 	แนวคิดเกี่ยวกับค่านยิ ม

       ค่านิยม มาจากการจัดระบบความรู้และการก่อรูปจากเจตคติ (attitude) ความเชื่อ (belief) และ
ความคิดเห็น (opinions) ของแต่ละบุคคล (Rokeach, 1970, p. 132)

       ค่านิยม หมายถึง มาตรฐานของความต้องการที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเป้าหมาย
เชิงพฤติกรรม หรือแนวทางในการด�ำรงชีวิตของบุคคล (Williams, 1968, p. 42)

       ค่านิยม หมายถึง หลักการ แนวคิด หรือความเช่ือที่บุคคลยึดถือเป็นคุณค่าหรือแนวทางในการ
ด�ำรงชีวิต ซ่ึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มบุคคลและวัฒนธรรม (ทิศนา แขมมณี, 2543, น. 116)

       ค่านิยมเป็นความเช่ือท่ีมีลักษณะค่อนข้างถาวร และเช่ือว่าวิถีปฏิบัติบางอย่าง หรือเป้าหมายบาง
อย่างนั้น เป็นสิ่งที่ตัวเองหรือสังคมเห็นสมควรที่จะยึดถือหรือปฏิบัติ ค่านิยมจึงเป็นความส�ำคัญท่ีบุคคลนั้น
ให้กับสิ่งใดส่ิงหน่ึง และส่ิงนั้นมีคุณค่าพร้อมที่จะปฏิบัติตามความเชื่อนั้น ค่านิยมของแต่ละคนขึ้นอยู่กับ
ประสบการณ์ที่แต่ละคนได้รับ ค่านิยมที่เรายึดถือจึงแตกต่างกันไปแม้อยู่ในสังคมเดียวกัน แต่ค่านิยมมีการ
เลียนแบบ บางคนมีค่านิยมท่ีคล้อยตามคนอ่ืน โดยเฉพาะบุคคลท่ีส�ำคัญและมีอิทธิพลต่อความเช่ือ ความ
ศรัทธาของเขา นอกจากนี้ค่านิยมมีลักษณะของการเปล่ียนแปลงไปตามวุฒิภาวะและประสบการณ์ของแต่ละ
บุคคล (นวลศิริ เปาโรหิต, 2545, น. 132)

       สรุปได้ว่า ค่านิยม (values) เป็นแนวคิดหรือความเชื่อท่ีบุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นคุณค่าหรือ
แนวทางในการด�ำเนินชีวิต ค่านิยมเป็นมาตรฐานในการเลือกและตัดสินใจ และมีความคงที่ยาวนาน การท่ี
บุคคลมีค่านิยมต่อส่ิงใดส่ิงหน่ึง เนื่องจากมีความเชื่อว่าสิ่งน้ันมีคุณค่า ให้ความส�ำคัญและพร้อมที่จะปฏิบัติ
ตามความเช่ือนั้น

       ค่านิยมอาจแบ่งเป็น  2  ประเภท คือ
       1.1 	ค่านิยมเชิงสังคม (social value) เช่น สังคมไทยมีค่านิยมเร่ืองความเมตตา และยึดทาง
สายกลาง สังคมอเมริกามีค่านิยมเรื่องความเป็นอิสระ หรือบางสังคมให้ความส�ำคัญกับการเคร่งครัดต่อ
ระเบียบวินัย บางสังคมยอมรับความยืดหยุ่นผ่อนปรน เป็นต้น ค่านิยมของสังคมสังเกตได้จากพฤติกรรม
เด่น ๆ ท่ีคล้ายคลึงกันของสมาชิกในสังคม
       1.2 ค่านิยมเฉพาะตัว (individual value) บุคคลแต่ละคนมีค่านิยมที่ต่างกันตามความเช่ือ
จากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมท่ีคล้อยตามบุคคลที่ส�ำคัญและมีอิทธิพลต่อความเช่ือ ความศรัทธา
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68