Page 68 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 68

6-58 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

       พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต, 2543) กล่าวว่า คุณธรรม เป็นสภาพจิตใจหรือคุณสมบัติท่ีเสริม
สร้างจิตใจให้ดีงาม ให้เป็นจิตใจที่สูง ประณีตและประเสริฐ และให้ความหมายของจริยธรรมไว้ว่าจริยธรรม
คือการน�ำความรู้ในความจริง หรือกฎของธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการด�ำรงชีวิตท่ีดีงาม ที่ก่อให้
เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

       ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (2548) สรุปความหมายของคุณธรรม จริยธรรม
ไว้ว่า คุณธรรม หมายถึง กรอบความประพฤติ ความคิดท่ีสังคมหรือบุคคลมีความเห็นร่วมกันว่าเป็นสิ่งดี
มีประโยชน์มากกว่าโทษ ส่วนจริยธรรม หมายถึง การปฏิบัติ การท�ำดี ละเว้นความชั่วอันเป็นผลมาจาก
การคิดดี

       กระทรวงวัฒนธรรม (2550) ให้ความหมายว่า คุณธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนและประพฤติตน
ตามศีลธรรมอันดี และยึดหลักจริยธรรมความถูกต้องและดีงาม ส่วนจริยธรรม หมายถึง กฎเกณฑ์ ความ
ประพฤติที่ดีของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์เอง

       กรมการศาสนา (2551) ให้ความหมายของคุณธรรม คือ สิ่งท่ีมีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นความดี เป็น
มโนธรรม เป็นเคร่ืองประคับประคองใจให้เกลียดความชั่ว กลัวบาป ใฝ่ความดี เป็นเครื่องกระตุ้นผลักดัน
ให้เกิดความรู้สึกรับผิดชอบ เกิดจิตส�ำนึกท่ีดีมีความสงบเย็นภายในและเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังโดยเฉพาะ
เพ่ือให้เกิดข้ึนและให้เหมาะสมกับความต้องการในสังคมไทย

       จากความหมายที่กล่าวมา สรุปได้ว่า คุณลักษณะจึงมีความหมายกว้างกว่าคุณธรรม จริยธรรม
เพราะคุณลักษณะมีความหมายว่า สภาพท่ีมีอยู่ประจ�ำในบุคคลท่ีแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล
ซ่ึงพิจารณาจากคณุ ธรรม จรยิ ธรรม คา่ นยิ ม จิตสำ� นกึ ของบคุ คลนนั้ ส่วนคณุ ธรรมและจริยธรรม นักวิชาการ
มกั ใชค้ ำ� ทง้ั สองคำ� นค้ี วบคกู่ นั ในความหมายนยั เดยี วกนั ดงั นนั้ คณุ ธรรม จรยิ ธรรม (moral virtue) จงึ หมายถงึ
สภาพคุณงามความดีที่ประพฤติปฏิบัติหรือหน้าที่ท่ีควรปฏิบัติในการครองชีวิตหรือคุณธรรมตามกรอบ
จริยธรรม

2. 	แนวทางการวัดคณุ ลกั ษณะ คณุ ธรรม และจริยธรรม

       คุณธรรมและจริยธรรมเป็นการผสมผสานระหว่างความรู้ ความคิด ความรู้สึกและการกระท�ำ 
การวัดและประเมินจึงต้องศึกษาแนวคิดและทฤษฎีทางด้านจริยธรรมท่ีน�ำมากล่าวดังน้ี

       2.1 	ระดบั พฒั นาการดา้ นเจตพสิ ยั คณุ ลกั ษณะ คณุ ธรรม และจรยิ ธรรมเปน็ สว่ นหนงึ่ ของพฤตกิ รรม
ด้านเจตพิสัย การวัดโดยใช้แนวคิดล�ำดับข้ันการเกิดและพัฒนาเป็นเจตพิสัยของแครธโวลและคณะ (Krath-
worth Bloom and Others, 1964) เพื่อทราบถึงระดับพัฒนาการท่ีเกิดข้ึนกับผู้เรียนท่ีจ�ำแนกเป็น 5 ขั้น คือ

            ขั้นที่ 1  การรับ เป็นความรู้สึกที่เกิดข้ึนต่อส่ิงเร้า พฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ ความสนใจ
ต่อสิ่งของ ความคิด พฤติกรรม เรื่องราว ความสามารถ แยกแยะความแตกต่างของเรื่องราว

            ข้ันที่ 2 การตอบสนอง บุคคลเร่ิมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อส่ิงเร้า ปฏิบัติตามค�ำส่ัง ค�ำแนะน�ำ 
กฎเกณฑ์ ความตั้งใจปฏิบัติ ความพึงพอใจ ความยินดี ความสนุกสนานท่ีได้ปฏิบัติ
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73