Page 67 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 67
การวัดด้านเจตพิสัย 6-57
เร่อื งท่ี 6.4.1 แนวคดิ เกย่ี วกบั การวดั คณุ ลกั ษณะคณุ ธรรมจรยิ ธรรม
คุณลักษณะ คุณธรรม จริยธรรม เป็นพฤติกรรมด้านเจตพิสัยส�ำคัญที่ท�ำให้บุคคลในสังคมอยู่ร่วม
กันอย่างมีความสุข แต่เน่ืองจากคุณธรรม จริยธรรมมีความแตกต่างและซับซ้อนกว่าเจตพิสัยอื่น ๆ ที่กล่าว
มาแล้ว การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดคุณธรรม จริยธรรมจึงมีรายละเอียดดังน้ี
1. ความหมายของคณุ ลักษณะ คุณธรรม จรยิ ธรรม
คุณลักษณะ “attribute” หรือธรรมเนียมปฏิบัติ “custom” หมายถึง หลักการ (principles) หรือ
มาตรฐาน (standards) ของความประพฤติของมนุษย์ บางครั้งเรียกว่า คุณธรรม ความหมายระหว่าง
จริยธรรมกับคุณธรรม มี 2 แนวความคิด บางท่านกล่าวว่า จริยธรรมเป็นองค์รวม ส่วนคุณธรรมเป็น
ส่วนย่อยของจริยธรรม คือ ความประพฤติที่ดีท้ังหมดเป็นจริยธรรม แต่ถ้าแตกแยกย่อยลงมาเฉพาะเรื่อง
เป็นคุณธรรม เช่น ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ บางท่านกล่าวว่า คุณธรรมเป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นภายใน
เป็นคุณสมบัติท่ีเกิดภายในจิต ส่วนจริยธรรมเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมา กล่าวคือ คุณธรรมเป็นความคิด
ท่ีก�ำหนดจริยธรรม (somprasong nuambunlue, 2554 my.opera.com/somprasong/blog)
คุณลักษณะ (attribute) มีความหมายว่า สภาพที่มีอยู่ประจ�ำในบุคคลที่แสดงให้เห็นความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล ซ่ึงพิจารณาจากคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตส�ำนึกของบุคคล (ส�ำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548)
คุณธรรม (virtue) และจริยธรรม (moral or ethics) มีความหมายเก่ียวข้องสัมพันธ์กัน
ราชบัณฑติ ยสถานให้นิยามว่า คุณธรรม หมายถงึ สภาพคุณงามความดี และใหน้ ิยามวา่ จรยิ ธรรม หมายถงึ
ธรรมท่ีเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ความประพฤติหรือหน้าที่ท่ีชอบท่ีควรปฏิบัติในการครองชีวิต ส�ำหรับ
ความหมายแต่ละค�ำมีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
โคลเบิร์ก (Kohlberk, 1964) กล่าวว่า จริยธรรม เป็นความรู้สึกผิดชอบช่ัวดี เป็นกฎเกณฑ์และ
มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในสังคม บุคคลจะพัฒนาขึ้นจนกระท่ังมีพฤติกรรมของตนเอง การกระท�ำ
ผิดหรือถูกโดยสังคมจะเป็นตัวตัดสิน
พระเมธีธรรมาพร (2541) ให้ความหมาย จริยธรรม (ethics) มาจากภาษากรีกว่า ethos คือ
habit นน่ั คอื นสิ ยั ดงั นนั้ จรยิ ธรรมและจรยิ ศาสตรจ์ งึ เปน็ เรอื่ งของการฝกึ นสิ ยั ตามทฤษฎขี องชาวกรกี กลา่ ววา่
คนเราเกิดมาเหมือนผ้าขาวแล้วมาฝึกกันโดยต้องท�ำบ่อย ๆ ท�ำซ้�ำ ๆ จนเป็นนิสัย แล้วจะกลายเป็นคุณธรรม
เป็นการเร่ิมจากภายนอกเข้าไปสู่ภายใน เป็นลักษณะนิสัย เป็นคุณสมบัติท่ีดีในจิตใจ ฉะนั้นการท�ำดีต้องท�ำ
บ่อย ๆ จนเป็นนิสัย