Page 69 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 69

การวัดด้านเจตพิสัย 6-59

            ข้ันที่ 3 การเห็นคุณค่า การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม พยายามปฏิบัติให้
บ่อยขึ้น สนับสนุน ช่วยเหลือ เข้าร่วมด�ำเนินการ คัดค้านการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับคุณค่า

            ขน้ั ท่ี 4  การมรี ะบบ เปรยี บเทยี บ มเี หตมุ ผี ลในการเลอื กกระทำ� อยา่ งใดอยา่ งหนง่ึ จาก 2 อยา่ ง
โดยพัฒนาไปสู่การมีล�ำดับความส�ำคัญที่ชัดเจน ยึดม่ันและปฏิบัติอย่างสม�่ำเสมอจนเป็นแบบแผน

            ข้ันท่ี 5 การสรา้ งลกั ษณะนิสยั แสดงออกอย่างสม�่ำเสมอจนเป็นนิสัยประจ�ำตัวของตน
       2.2 	ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
มีรากฐานมาจากทฤษฎีของเพียเจต์ การเกิดจริยธรรมตามความเห็นของโคลเบิร์ก มิได้มาจากการเรียนรู้
หรือสังคมแวดลอ้ ม แตม่ าจากการคิดไตร่ตรองตามเหตผุ ลของแตล่ ะคน บุคคลจะมีพัฒนาการทางจรยิ ธรรม
ไปตามล�ำดับขั้นจากขั้นต่ําไปสู่ขั้นที่สูงกว่าไม่มีการข้ามขั้น โคลเบิร์กแบ่งระดับพัฒนาการออกเป็น 3 ระดับ
แต่ละระดับยังแบ่งพัฒนาการออกเป็น 2 ข้ัน รวมเป็น 6 ข้ัน เรียงตามล�ำดับ ดังน้ี

            ระดับท่ี 1 ต่ํากว่ากฎเกณฑส์ งั คม (preconventional level) แบ่งเป็น
                ขั้นที่ 1 การลงโทษและการเช่ือฟัง (punishment–obedience) บุคคลท�ำและไม่ท�ำ

เพ่ือหลีกเล่ียงการถูกลงโทษ ถือเอาอัตตาของตนเป็นใหญ่
                ขนั้ ท่ี 2 การแสวงหารางวัล (exchange) การตอบสนองความต้องการและแลกเปลี่ยน

อย่างเสมอภาคตามที่ตกลง เพ่ือแสวงหารางวัล
            ระดับที่ 2 ตามกฎเกณฑส์ ังคม (conventional level) แบ่งเป็น
                ขั้นท่ี 3 ต้องการการยอมรับจากผู้อ่ืน (conformity) การท�ำตามรูปแบบตามที่ผู้อื่น

เห็นชอบ เป็นการแลกเปล่ียนความคาดหวังและศรัทธาไว้วางใจจากผู้อื่น
                ขน้ั ท่ี 4 การท�ำหน้าที่ในสังคม (social system) ต้องการเป็นคนดีในทรรศนะของตน

และของบุคคลต่าง ๆ ในสังคม ต้องการรักษากฎเกณฑ์ทางสังคม เพ่ือให้สถาบันต่าง ๆ ของสังคมด�ำรงอยู่
ต่อไป

            ระดับที่ 3 สูงกวา่ กฎเกณฑส์ งั คม (postconventional level) แบ่งเป็น
                ข้นั ท่ี 5 การสร้างสรรค์สังคม (social contract) มีอุดมคติในการสร้างสรรค์สังคมให้

มีความรัก ความเสมอภาคและไม่มีการแบ่งชนชั้น เพื่อประโยชน์และพิทักษ์สิทธิของทุกคนในสังคม
                ข้นั ท่ี 6 การยึดในมโนธรรมตามหลักสากล (universal ethical principles) ท�ำตาม

หลกั จรยิ ธรรมสากล ความยตุ ธิ รรมไมข่ นึ้ กบั วฒั นธรรมของสงั คมใดสงั คมหนง่ึ เทา่ นนั้ ไดแ้ ก่ ความเสมอภาค
ในสิทธิของมนุษย์ และการเคารพในศักดิ์ศรีของมนุษย์

       2.3 	องค์ประกอบทางคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคล ตามแนวคิดของโคลเบิร์ก จ�ำแนกได้ 4
ประเภท คือ ความรู้ทางจริยธรรม เจตคติทางจริยธรรม เหตุผลทางจริยธรรม และพฤติกรรมทางจริยธรรม

            1) 	ความรู้ทางจริยธรรม หมายถึง การมีความรู้เก่ียวกับสังคมและสามารถบอกได้ว่าการ
กระท�ำชนิดใดดีและควรกระท�ำ การกระท�ำชนิดใดเลวและไม่ควรกระท�ำ พฤติกรรมลักษณะใดเหมาะสม

            2) 	เจตคติทางจริยธรรม หมายถึง การมีความรู้สึกต่อพฤติกรรมทางจริยธรรมในทางท่ีชอบ
หรือไม่ชอบมากน้อยเพียงใด เจตคติทางจริยธรรมมีความหมายกว้างขวางกว่าความรู้ทางจริยธรรมเพราะ
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74