Page 64 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 64

6-54 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

       การพิจารณาว่าคุณลักษณะใดเป็นค่านิยมหรือไม่ (Rath and others อ้างถึงใน จุฑารัตน์
เอ้ืออ�ำนวย, 2549, น. 215) พิจารณาได้จาก

            1) 	การเลอื ก เปน็ การเลอื กอยา่ งเสรี หากมกี ารบงั คบั ไมเ่ รยี กวา่ เปน็ คา่ นยิ มทแี่ ทจ้ รงิ การเลอื ก
จากค่านิยมหลาย ๆ ประการ บุคคลสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติของค่านิยมต่าง ๆ ได้ หลังจากพิจารณา
ผลต่อเน่ือง อันเกิดจากการปฏิบัติตามค่านิยมแต่ละอย่างแล้ว

            2) 	การเทิดทูน รักษาค่านิยมที่เลือกแล้วและมีความพึงพอใจในค่านิยมน้ัน และพร้อมที่จะ
ยืนหยัดในค่านิยมนั้นอย่างแท้จริง

            3) 	การกระท�ำ  เป็นการกระท�ำตามค่านิยมน้ันตามที่ได้ยึดถือ และกระท�ำเป็นประจ�ำใน
การดำ� เนินชวี ติ

       ความเก่ยี วข้องเจตคตกิ ับค่านยิ ม เจตคติเป็นความรู้สึกด้านอารมณ์ (พอใจ/ไม่พอใจ) ส่วนค่านิยม
เป็นสิ่งท่ีเราเห็น เป็นความรู้สึกท่ีมีความเชื่อเป็นพื้นฐาน ท้ังสองอย่างมีความสัมพันธ์ท่ีใกล้ชิดกันมาก

       เจตคติเป็นแนวโน้มท่ีบุคคลตอบสนองต่อส่ิงหน่ึงส่ิงใด ส่วนค่านิยมเป็นส่ิงที่บุคคลคิดว่าเป็นความ
เชื่อถือ เป็นส่ิงท่ีบุคคลในกลุ่มมีความเห็นเหมือน ๆ กัน เช่น สังคมท่ีมีความเจริญทางวัตถุ คนมองเห็นว่า
เงินและอ�ำนาจเป็นค่านิยม อาจจะแตกต่างกับค่านิยมของบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งท่ีเห็นเรื่องของนํ้าใจ คุณธรรม
เป็นค่านิยมท่ีส�ำคัญกว่า

2. 	วิธกี ารและเคร่ืองมือทใี่ ช้วดั คา่ นยิ ม

       วิธีการวัดค่านิยม ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตกิริยาท่าทาง สีหน้า การพูด
และการให้ท�ำแบบวัดสถานการณ์ วิธีการวัดความพึงพอใจกระท�ำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม
มาตรประมาณค่า การสัมภาษณ์ การสังเกตกิริยาท่าทาง สีหน้า การพูด และความถ่ีของการมาขอรับบริการ
ทั้งน้ีข้ึนอยู่กับความสะดวกความเหมาะสม ตลอดจนจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของการวัด เครื่องมือที่ใช้วัด
ได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า อาจจะเป็นมาตรวัดแบบลิเคิร์ท มาตรวัดแบบเทอร์สโตน มาตรวัด
แบบออสกูด แบบวัดสถานการณ์ แบบสัมภาษณ์ เป็นต้น

3. 	การสรา้ งและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวดั คา่ นยิ ม

       ข้ันตอนการสร้างเช่นเดียวกับการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดเจตคติ แบ่งได้เป็น
3 ระยะ คือ การเตรียมสร้างมาตรวัดเจตคติ การลงมือสร้างมาตรวัดความพึงพอใจ และการน�ำไปใช้ ส่วนท่ี
แตกต่างกันคือ การลงมือสร้างมาตรวัดค่านิยมที่มีขั้นตอนเป็นล�ำดับ ดังนี้

       3.1 	ก�ำหนดความหมาย ตัวช้ีวัด และพฤติกรรมที่บ่งช้ีของคุณลักษณะเจตพิสัยจากที่ได้ศึกษา
ค้นคว้ามา ส�ำหรับก�ำหนดความหมายเขียนเป็นนิยามปฏิบัติการ ตัวชี้วัดของเป้าหมายการวัด ว่าผู้ท่ีมี
เจตพิสัยต่อเป้าหมายมีการแสดงออกอย่างไร
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69