Page 85 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 85

การวัดด้านเจตพิสัย 6-75

ความตรงตามโครงสร้างมีความส�ำคัญมากท่ีสุดส�ำหรับเคร่ืองมือทางเจตพิสัย จุดเด่นของความตรงตาม
โครงสร้างคือ การมีทฤษฎีเป็นพื้นฐาน ส่วนความตรงชนิดอ่ืนเน้นถึงผลเชิงประจักษ์มากกว่าทฤษฎี การ
หาความตรงตามโครงสร้างท�ำได้หลายวิธี ได้แก่

                1)		เทคนคิ กลมุ่ ทรี่ ชู้ ดั (known group technique) เป็นการทดสอบว่าผลที่ได้จากการวัด
ด้วยเคร่ืองมือสามารถจ�ำแนกกลุ่มบุคคลที่มีและไม่มีคุณสมบัติตามโครงสร้างทางทฤษฎี วิธีการวิเคราะห์หา
ค่าความตรงอาจใช้การเปรียบเทียบคะแนนเฉล่ียระหว่างกลุ่มโดยใช้ t-test ทั้งนี้ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ
ระดับการวัดของตัวแปรท่ีได้จากการวัดโดยใช้เคร่ืองมือน้ัน

                2) 	วิธีเมทริกซ์หลากลักษณะ-หลายวิธี (multitrait-mutimethod matrix method) ด้วย
การนำ� หลกั การความตรงเชงิ รว่ ม (convergent validity) และความตรงเชงิ จำ� แนก (discriminant validity)
มาประยุกต์ด้วยการใช้วิธีการวัดหลายวิธีและสร้างตามโครงสร้างของทฤษฎีท่ีมีหลายองค์ประกอบ ไปวัดกับ
กลุ่มตัวอย่างเดียวกัน การหาความตรงแบบนี้พิจารณาจากเมทริกซ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของตัวแปร
โครงสร้าง (intercorrelation matrix) ที่ได้จากการวัดทุกวิธี ค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรโครงสร้างแต่ละตัว
ท่ีวัดด้วยวิธีต่างกันควรจะสูง เพราะเป็นการวัดองค์ประกอบตัวเดียวกัน และค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
โครงสร้างแต่ละคู่ท่ีวัดด้วยวิธีเดียวกันควรจะต่ําเพราะเป็นคนละองค์ประกอบไม่ควรเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

                3) 	วธิ วี เิ คราะหอ์ งคป์ ระกอบ (factor analysis) การวเิ คราะหอ์ งค์ประกอบท�ำได้สองแบบ
คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) เป็นการส�ำรวจว่าแบบวัด
นี้ประกอบด้วยกี่โครงสร้างหรือองค์ประกอบ ส่วนการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory
factor analysis) เป็นการตรวจสอบว่าแบบวัดน้ีประกอบด้วยโครงสร้างหรือองค์ประกอบตามทฤษฎี
หรือไม่ ความตรงของผลการวัดแสดงได้ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบท่ีจะวัดกับคะแนนที่เป็นผล
จากการวัด หรือค่าผลรวมสัดส่วนความแปรปรวนองค์ประกอบร่วมแต่ละองค์ประกอบในคะแนนผลการวัด
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันท่ีวิเคราะห์ด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM)

            5.1.2	 ความตรงตามเน้ือหา (content validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือท่ีมีเนื้อหา
เปน็ ตวั แทนทด่ี ี ตรง และครอบคลมุ พฤตกิ รรมทต่ี อ้ งการวดั อยา่ งครบถว้ น วธิ กี ารตรวจสอบคอื ใชก้ ารตดั สนิ ใจ
ของผู้เชี่ยวชาญตามนิยามของพฤติกรรมที่ต้องการวัดหรือเกณฑ์ท่ีจะใช้ตรวจสอบ แล้วค�ำนวณค่าดัชนี IOC
(Index of Item Objective Congruence)

            5.1.3	 ความตรงเชงิ เกณฑส์ มั พนั ธ์ (criterion-related validity) หมายถึง คุณสมบัติของการวัด
ที่ให้ผลการวัดสอดคล้องกับคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่มุ่งวัดท่ีใช้เป็นเกณฑ์ (criteria) แบ่งเป็น 2 ชนิด
คือ ความตรงเชิงพยากรณ์การวัดซ่ึงให้ผลการวัดที่ช่วยให้นักวิจัยตัดสินใจได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนจะประสบ
ความส�ำเร็จในการเรียนในอนาคตท่ีระดับใด และความตรงร่วมสมัย (concurrent validity) หมายถึง
ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากเคร่ืองมือวิจัยกับคะแนนที่เป็นเกณฑ์ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

       5.2 	ความเท่ียงของผลการวัด (reliability) หมายถึง คุณสมบัติท่ีวัดพฤติกรรมที่ต้องการวัดไม่ว่า
จะวัดก่ีครั้ง หรือวัดในสภาพการณ์ที่แตกต่างกันไปก็ยังคงได้ผลการวัดคงเดิม วิธีท่ีนิยมใช้คือ การหาความ
เที่ยงในรูปของความคงเส้นคงวาภายใน (internal consistency) เป็นวิธีการน�ำแบบวัดไปทดลองเพียง
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90