Page 82 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 82

6-72 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

            5) การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดสถานการณ์ คือ (1) การตรวจสอบคุณภาพด้านความ
ตรงตามเนื้อหาของรายการสังเกตด้วยผู้เช่ียวชาญ (2) การตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงตามโครงสร้าง
ของแบบวัดสถานการณ์ด้วยการหาความสอดคล้องระหว่างข้อที่วัดคุณธรรม จริยธรรมเดียวกัน ด้วยการ
วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation) ค่าสหสัมพันธ์
ระหว่างข้อท่ีอยู่ในเรื่องเดียวกันควรมีค่าสูง และสูงกว่าสหสัมพันธ์ระหว่างข้อของข้อที่วัดคนละเร่ืองกัน
(3) การตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงของแบบวัดสถานการณ์ด้วยการวิเคราะห์ค่าแอลฟาของครอนบาค
และ (4) การหาประสิทธิภาพของตัวเลือก โดยพิจารณาจากร้อยละของการเลือกแต่ละตัวเลือกไม่ควรน้อย
กว่าร้อยละ 5

3.	 การสร้างแบบวัดสถานการณท์ ่ใี ชว้ ดั เหตผุ ลทางจริยธรรม

       วิธีการวัดเหตุผลทางจริยธรรม ได้แก่ การให้ท�ำแบบวัดสถานการณ์ การซักถามสัมภาษณ์ การให้
ท�ำแบบสอบถาม เครื่องมือที่วัด ได้แก่ แบบวัดเชิงสถานการณ์ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบวัดส่วนใหญ่
เป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ ตัวเลือกจะแสดงถึงเหตุผลของการกระท�ำ ให้ผู้รับการทดสอบตัดสินและอธิบาย
เหตุผลของการตัดสินใจ การวัดประเภทน้ีไม่ตัดสินพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้รับการทดสอบ แต่ค�ำนึง
ถึงเหตุผลของการตัดสินเพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างการวัดเหตุผลทางจริยธรรมด้วยแบบวัดสถานการณ์

       ข้ันตอนการสร้างและตรวจสอบเหตุผลทางจริยธรรม มีข้ันตอนเช่นเดียวกับการสร้างเครื่องมือวัด
เจตพิสัยท่ัวไป แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการเตรียมสร้างเคร่ืองมือวัด ระยะท่ีสองคือ การสร้าง
เครื่องมือวัด และระยะที่สามคือ การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดสถานการณ์และการน�ำไปใช้

       ระยะแรกประกอบด้วย 1) ก�ำหนดพฤติกรรมที่ต้องการวัด ตัวอย่างการวัดเหตุผลทางจริยธรรม
และ 2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ผลการศึกษาเกี่ยวกับการวัดเหตุผลทางจริยธรรม ส่วนระยะท่ีสองเป็นการ
สรา้ งแบบวดั สถานการณ์ ประกอบดว้ ย 1) การกำ� หนดความหมาย ตวั ชว้ี ดั และพฤตกิ รรมทบ่ี ง่ ชขี้ องจรยิ ธรรม
หรอื คณุ ลกั ษณะทพ่ี งึ ประสงคท์ ต่ี อ้ งการวดั ดงั ตวั อยา่ งการกำ� หนดความหมาย ตวั ชวี้ ดั และพฤตกิ รรมทบ่ี ง่ ชี้
ของจิตสาธารณะที่กล่าวมาแล้วในเรื่องท่ี 6.4.2 และ 2) ออกแบบวิธีการวัด/เคร่ืองมือ และก�ำหนดเกณฑ์
การให้คะแนนของแบบวัดสถานการณ์ และระยะท่ีสามเป็นการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด

       สถานการณ์เป็นเรื่องราวปัญหาเชิงคุณธรรมจริยธรรมท่ีมากระตุ้นให้ผู้ตอบแสดงความรู้สึกออกมา
อย่างเด่นชัด เหมือนกับแบบวัดสถานการณ์ในการวัดพัฒนาการของเจตคติในหัวข้อท่ีกล่าวมา แต่ต่างกัน
ตรงที่มาของตัวเลือกที่สะท้อนระดับพัฒนาการเหตุผลทางจรยิ ธรรม ตามคะแนนทก่ี ำ� หนดใหแ้ ตล่ ะตวั เลอื ก
เชน่ 4, 3, 2, 1 แทนคา่ พฒั นาการเหตผุ ลทางจรยิ ธรรม ดงั นี้

            1 คะแนน ตัวเลือกเป็นเหตุผล เพ่ือต้องการหลีกเล่ียงการถูกลงโทษหรือการได้รางวัล
                    สิ่งตอบแทน

            2 คะแนน ตัวเลือกเป็นเหตุผล เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง	 	
            3 คะแนน ตัวเลือกเป็นเหตุผล เพื่อต้องการเป็นคนดีในทรรศนะของตนและการยอมรับจาก

                    ผู้อื่น
            4 คะแนน ตัวเลือกเป็นเหตุผล เพ่ือรักษากฎเกณฑ์ทางสังคม เพ่ือให้ความดีงามคงอยู่ การ

                    ปฏิบัติตามหน้าท่ีของตนและหลักศาสนา
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87