Page 79 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 79

การวัดด้านเจตพิสัย 6-69

       ระยะที่สาม การตรวจสอบคุณภาพเคร่ืองมือวัด
       การสร้างแบบวัดสถานการณ์มีล�ำดับขั้น ดังน้ี

            1) 	ก�ำหนดจ�ำนวนข้อค�ำถามในแต่ละตัวชี้วัด ตามนํ้าหนักความส�ำคัญของตัวชี้วัด แล้วจึง
สร้างข้อค�ำถามที่เป็นสถานการณ์และตัวเลือกเป็นระดับเหตุผลทางจริยธรรม ตามแนวคิดและทฤษฎีท่ีเลือก
ใช้ให้ครอบคลุมตัวชี้วัดและพฤติกรรมชี้วัด

            2) 	การเขียนสถานการณ์ สถานการณ์ท่ีใช้เป็นโจทย์ปัญหาเชิงจริยธรรม เป็นสถานการณ์ท่ี
บุคคลในสถานการณ์ปฏิบัติคล้อยตามหรือขัดแย้งกัน การเขียนสถานการณ์ต้องเขียนกระชับ รัดกุม หากวัด
นักเรียนสถานการณ์ต้องเหมาะสมกับระดับช้ัน การใช้ภาพประกอบจะท�ำให้เข้าใจง่ายข้ึน เพ่ือให้เกิดแง่มุมที่
จะให้นักเรียนพิจารณาเลือกเหตุผลทางจริยธรรมท่ีตรงกับความรู้สึกของตน

            3)	 การเขยี นตวั เลอื ก เปน็ ขอ้ ความทแี่ สดงถงึ ความรสู้ กึ หรอื ความคดิ เหน็ ทสี่ ะทอ้ นพฒั นาการ
ตามแนวคดิ ของแครธโวล และคณะ การกำ� หนดจำ� นวนระดบั ขน้ั พฒั นาการขนึ้ กบั ระดบั ชนั้ ทม่ี งุ่ วดั เชน่ ระดบั
ประถมศึกษานิยมวัด 3 ข้ันแรก คือ ข้ันรับ ขั้นตอบสนอง และขั้นเห็นคุณค่า ส่วนระดับมัธยมศึกษาข้ึนไป
นิยมวัด 4 ข้ันแรก เพราะข้ันท่ี 5 ที่เป็นการสร้างลักษณะนิสัย เป็นพฤติกรรมการแสดงออกที่จะต้องวัดด้วย
การสังเกต

       ตัวอย่างการวัดล�ำดับข้ันของพฤติกรรมด้านความรู้สึก 3 ขั้นแรก คือ ข้ันรับ ข้ันตอบสนอง และขั้น
เห็นคุณค่า ในข้ันตอบสนองและขั้นเห็นคุณค่าอาจเลือกเอาข้ันย่อยท่ีมีลักษณะเด่นของพฤติกรรมมาใช้อีก
ข้ันละ 2 ขั้นย่อย ฉะน้ัน รวมเป็นขั้นของพฤติกรรมด้านความรู้สึกท่ีน�ำมาใช้ แบ่งใหม่ได้เป็น 4-5 ข้ัน แล้ว
ก�ำหนดตัวเลือกท่ีสะท้อนระดับพัฒนาการของเจตพิสัย เช่น คะแนน 4, 3, 2, 1 แทนค่าระดับของเจตพิสัย
โดยตรง เช่น 1 แทนการรับรู้ 2 แทนการตอบสนองแบบท�ำตามค�ำส่ัง 3 แทนการตอบสนองด้วยความเต็มใจ
และ 4 แทนการเห็นคุณค่า

       วิธีการท่ีจะได้ตัวเลือกท่ีดีเหมาะสมกับผู้ตอบ คือ น�ำสถานการณ์ท่ีสร้างข้ึนเป็นรูปภาพหรือเขียน
เป็นเรื่องราว ไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างท่ีมีลักษณะเดียวกับกลุ่มที่ต้องการวัด จ�ำนวน 20-30 คน ให้เขียน
ค�ำตอบตามความคิดเห็นของตนโดยเสรี แล้วน�ำค�ำตอบของกลุ่มตัวอย่างมาปรับใช้เป็นข้อความที่แสดงถึง
ความรสู้ กึ หรอื ความคดิ เหน็ ทส่ี ะทอ้ นถงึ พฤตกิ รรมในแตล่ ะขน้ั ของพฤตกิ รรมทางดา้ นความรสู้ กึ สรปุ ลกั ษณะ
ส�ำคัญของพฤติกรรมเป็นแนวทางของการเขียนตัวเลือก ดังนี้
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84