Page 78 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 78

6-68 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

       ขัน้ ตอนท่ี 3 การตรวจสอบคุณภาพแบบสงั เกต
            1. 	การตรวจสอบความตรงเชงิ เนอื้ หาโดยผเู้ ชยี่ วชาญ เปน็ การใหผ้ เู้ ชย่ี วชาญตรวจสอบคณุ ภาพ

โดยผู้เช่ียวชาญคือ ผู้ท่ีเป็นท่ียอมรับของคนในวงการ/สาขางานท่ีเก่ียวข้องกับเนื้อหาหรือเร่ืองที่สอบวัด
และผู้เชีย่ วชาญในศาสตร์การวัดและประเมินผล ควรมีจำ� นวน 3-5 คน ผเู้ ชย่ี วชาญควรตรวจสอบในประเดน็
ต่อไปนี้

                1) 	รายการสงั เกตตรง และครอบคลมุ ตวั ชวี้ ดั ของคณุ ธรรม จรยิ ธรรมทตี่ อ้ งการวดั หรอื ไม่
                2) 	รายการสังเกตมีความเป็นปรนัย เหมาะสม ชัดเจนหรือไม่ ระดับภาษาเหมาะสมกับ
กลุ่มเป้าหมายท่ีต้องการวัดหรือไม่ ควรเพ่ิมเติมหรือตัดทอนข้อใด
                3) 	การให้นํ้าหนักคะแนนแต่ละรายการสังเกตเหมาะสม ยุติธรรมหรือไม่ แล้วน�ำความ
คิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ด้วยดัชนีความสอดคล้อง IOC
            2. 	การตรวจสอบคุณภาพด้านความเท่ียงของแบบบันทึกการสังเกต โดยการให้ผู้สังเกต 2-4
คน สังเกตให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนนของแต่ละรายการ หากเคร่ืองมือวัดผลมีเกณฑ์การให้คะแนน
ชดั เจนเปน็ ปรนยั แลว้ ผลการสงั เกตควรไดใ้ กลเ้ คยี งกนั หรอื มคี วามสอดคลอ้ งกนั แลว้ นำ� คะแนนของผสู้ งั เกต
มาวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation) กลุ่มผู้สังเกต
ใหค้ ะแนนผเู้ รยี นใกลเ้ คยี งกนั และมคี วามสอดคลอ้ งกนั จะไดค้ า่ ความสมั พนั ธส์ งู เขา้ ใกล้ 1.0 (ตงั้ แต่ 0.70-1.0)
แสดงว่าเคร่ืองมือวัดผลด้านทักษะพิสัยมีค่าความเที่ยงสูง

2. 	การสร้างแบบวดั สถานการณ์วัดพัฒนาการของคุณลกั ษณะ คุณธรรม จริยธรรม

       แบบวัดสถานการณ์ท่ีสร้างตามกรอบแนวคิดแครธโวล และคณะ (affective domain) เป็นการวัด
พัฒนาการของคุณลักษณะ คุณธรรม จริยธรรม แบบวัดสถานการณ์เป็นเคร่ืองมือวัดที่ก�ำหนดสถานการณ์
เร่ืองราวปัญหาเชิงคุณธรรม จริยธรรม มากระตุ้นให้ผู้ตอบแสดงความรู้สึกออกมาอย่างเด่นชัด จึงเป็นการ
วัดในเชิงแนวโน้มของพฤติกรรมทางจริยธรรม วิธีน้ีมักใช้ในกรณีท่ีต้องการวัดมวลชนขนาดใหญ่ (large
scale measurement) ที่มีข้อจ�ำกัดด้านเวลาการเก็บข้อมูล ข้ันตอนการสร้างเคร่ืองมือ มีข้ันตอนเช่นเดียว
กับการสร้างเคร่ืองมือวัดเจตพิสัยท่ัวไป แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

       ระยะแรก เป็นการเตรียมสร้างเคร่ืองมือวัด ประกอบด้วย
            1.1 	ก�ำหนดพฤติกรรมท่ีต้องการวัด ตัวอย่างการวัดเหตุผลทางจริยธรรม
            1.2 	ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ผลการศึกษาเกี่ยวกับการวัดเหตุผลทางจริยธรรม การสร้าง

แบบวัดสถานการณ์ การมีจิตสาธารณะของคนในสังคม
       ระยะท่ีสอง ด�ำเนินการสร้างเคร่ืองมือวัด คือ
            2.1 	การก�ำหนดความหมาย ตัวช้ีวัด และพฤติกรรมท่ีบ่งช้ีของจริยธรรมหรือคุณลักษณะท่ี

พึงประสงค์ท่ีต้องการวัด ตัวอย่างการก�ำหนดความหมาย ตัวชี้วัด และพฤติกรรมที่บ่งช้ีของจิตสาธารณะ
ท่ีกล่าวมาแล้วในเรื่องที่ 6.4.1

            2.2 	ออกแบบวิธีการวัด/เครื่องมือ และก�ำหนดเกณฑ์การให้คะแนนของแบบวัดสถานการณ์
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83