Page 29 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 29
5-19
เรือ่ งที่ 5.2.2 การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิท์ างการเรยี น
สาระสังเขป
การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีข้ันตอนการสร้างท่ีส�ำคัญ 3 ข้ันตอน ดังนี้
ขน้ั ที่ 1 ข้นั วางแผนการสร้างเคร่ืองมือ ประกอบด้วย
1.1 การก�ำหนดจุดมุ่งหมายของการสอบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการด�ำเนิน
การสอบ เพื่อวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนจะต้องท�ำการวิเคราะห์หลักสูตร เพ่ือท�ำความเข้าใจถึง
จุดมุ่งหมาย เนื้อหาและกิจกรรมในหลักสูตร ส�ำหรับวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและก�ำหนด
จุดมุ่งหมายของการสอบให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
1.2 การก�ำหนดเนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด เน้ือหาท่ีต้องการวัดได้จากจุดมุ่งหมาย
ของการทดสอบ ผู้สร้างข้อสอบจะต้องวิเคราะห์จ�ำแนกเน้ือหาที่ต้องการวัดให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด
1.3 การจัดท�ำตารางวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและแผนผังการออกข้อสอบ มี
เปา้ หมายเพอ่ื ใหจ้ ดุ มงุ่ หมายของการเรยี นรู้ กจิ กรรมการเรยี นการสอน และการสรา้ งแบบทดสอบมคี วามสมั พนั ธ์
และสอดคล้องกัน
1.4 การก�ำหนดลักษณะหรือรูปแบบของแบบทดสอบ ข้อสอบแต่ละรูปแบบมีคุณลักษณะ
และความสามารถในการวัดผลการเรียนรู้ท่ีแตกต่างกัน การเลือกรูปแบบของข้อสอบแต่ละชนิดจึงควรเลือก
ให้เหมาะสมกับผลการเรียนรู้ที่มุ่งวัด
ขน้ั ที่ 2 ขัน้ ดำ� เนนิ การสรา้ งแบบทดสอบ ประกอบด้วย
2.1 การเขียนข้อสอบ มีขั้นตอนการเขียนดังน้ี ก�ำหนดลักษณะของข้อสอบ ร่างข้อสอบ
และทบทวนร่างข้อสอบ
2.2 การจัดท�ำต้นร่างแบบทดสอบ เม่ือผู้สอนสร้างข้อสอบครบทุกข้อแล้ว ควรน�ำมาจัดท�ำ
ต้นร่างแบบทดสอบ โดยน�ำข้อสอบมาเรียบเรียงรวมกันเป็นแบบทดสอบซ่ึงพร้อมที่จะน�ำไปทดลองใช้
ข้นั ที่ 3 ขน้ั ตรวจสอบคุณภาพข้อสอบกอ่ นนำ� ไปใช้ ประกอบด้วย
3.1 การตรวจสอบคุณภาพโดยการพิจารณาความเหมาะสม เป็นวิธีพื้นฐานส�ำหรับตรวจสอบ
คุณภาพโดยใช้ดุลยพินิจพิจารณาตามความเหมาะสมถูกต้องตามหลักการ โดยผู้สอนจะเป็นผู้พิจารณาเอง
หรือให้ผู้อ่ืนท่ีมีความเชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณาก็ได้
3.2 ตรวจสอบคุณภาพโดยการทดลองใช้ เป็นการน�ำแบบทดสอบท่ีจะด�ำเนินการวัดและ
ประเมินผลไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายท่ีมีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อน�ำผลมาวิเคราะห์คุณภาพของ
เคร่ืองมือก่อนน�ำไปใช้จริง สามารถตรวจสอบได้ดังนี้ คุณภาพของแบบทดสอบรายข้อ ได้แก่ ความยาก และ
อ�ำนาจจ�ำแนก และคุณภาพของแบบทดสอบทั้งฉบับ ได้แก่ ความตรง และความเท่ียง
(โปรดอ่านเนอ้ื หาสาระโดยละเอยี ดในประมวลสาระชดุ วชิ าหน่วยที่ 5 ตอนที่ 5.2 เร่อื งที่ 5.2.2)