Page 33 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 33
5-23
เร่อื งที่ 5.2.4 การตรวจสอบคณุ ภาพแบบทดสอบ
สาระสังเขป
การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ เป็นการด�ำเนินการก่อนการวัดและประเมินผล เพ่ือตรวจสอบ
คณุ ภาพของเครอ่ื งมอื ทจ่ี ะใชใ้ นการวดั และประเมนิ ผล เพอื่ ใหแ้ นใ่ จวา่ จะสามารถใหข้ อ้ มลู ทถ่ี กู ตอ้ ง เหมาะสม
ยุติธรรมส�ำหรับผู้สอบทุกคน หากเคร่ืองมือวัดมีคุณภาพย่อมให้ข้อมูลหรือคะแนนท่ีน่าเช่ือถือได้ เมื่อน�ำ
คะแนนเหลา่ นไี้ ปใชใ้ นการประเมนิ ผล ยอ่ มมคี วามถกู ตอ้ งและเชอ่ื ถอื ไดด้ ว้ ย การตรวจสอบคณุ ภาพแบบทดสอบ
ควรด�ำเนินการในประเด็นต่อไปน้ี
1. ตรวจสอบคุณภาพโดยการพิจารณาความเหมาะสม เป็นวิธีพื้นฐานส�ำหรับตรวจสอบคุณภาพ
โดยใช้ดุลยพินิจพิจารณาตามความเหมาะสมถูกต้องตามหลักการ โดยผู้สอนจะเป็นผู้พิจารณาเองหรือให้
ผู้อ่ืนที่มีความเช่ียวชาญเป็นผู้พิจารณาก็ได้
2. ตรวจสอบคณุ ภาพโดยการทดลองใช้ (try out) เป็นการน�ำแบบทดสอบท่ีจะด�ำเนินการวัดและ
ประเมินผลไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างที่จะเก็บข้อมูลจริง เพื่อน�ำผลมา
วิเคราะห์คุณภาพของเคร่ืองมือก่อนน�ำไปใช้จริง สามารถตรวจสอบได้ ดังน้ี
2.1 วเิ คราะหค์ ณุ ภาพรายขอ้ มีการหาค่าดังต่อไปน้ี
2.1.1 ค่าความยาก หมายถงึ สดั สว่ นหรอื เปอรเ์ ซน็ ตข์ องผสู้ อบทต่ี อบแตล่ ะขอ้ คำ� ถามถกู
2.1.2 คา่ อำ� นาจจำ� แนก หมายถึง ความสามารถของข้อสอบที่จะจ�ำแนกให้เห็นถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคล เช่น จ�ำแนกคนเก่งกับคนไม่เก่งออกจากกัน จ�ำแนกคนท่ีมีความถนัดต่างกันออกจาก
กัน โดยยึดหลักการว่าคนเก่งจะต้องท�ำข้อสอบข้อนั้นถูก คนไม่เก่งต้องท�ำผิด
2.2 วเิ คราะห์คุณภาพทั้งฉบบั มีการหาค่าดังต่อไปนี้
2.2.1 ความตรง (validity) หมายถึง ความสามารถในการวัดส่ิงที่ต้องการจะวัด การ
ตรวจสอบความตรง สามารถตรวจสอบได้หลายวิธี ได้แก่ ความตรงตามเน้ือหา ความตรงตามโครงสร้าง
และความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์
2.2.2 ความเทยี่ ง (reliability) หมายถึง ความคงเสน้ คงวาของผลการวัด ไมว่ า่ จะท�ำการ
วัดเม่ือใดก็ตาม สามารถตรวจสอบได้หลายวิธี ได้แก่ วิธีสอบซ้�ำ วิธีใช้ฟอร์มท่ีสมมูลกัน วิธีแบ่งคร่ึง วิธีของ
คูเดอร์และริชาร์ดสัน และวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอยี ดในประมวลสาระชดุ วิชาหน่วยที่ 5 ตอนที่ 5.2 เร่อื งท่ี 5.2.4)