Page 36 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 36

5-26

เร่ืองที่ 5.3.1 แนวคดิ เกี่ยวกบั แบบวัดความสามารถในการคิด

สาระสงั เขป

1. 	กรอบความคิดของการคดิ

       มีนักวิชาการกล่าวถึงกรอบความคิดของการคิดไว้หลายประเด็น ในท่ีน้ีจะกล่าวถึง
       1.1 	ค�ำทแ่ี สดงถึงลกั ษณะของการคิด แบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

            กลุ่มที่ 1 เป็นค�ำท่ีแสดงออกถึงการกระท�ำหรือพฤติกรรมซึ่งต้องใช้ความคิด เช่น การสังเกต
การเปรียบเทียบ การจ�ำแนกแยกแยะ ฯลฯ ค�ำต่าง ๆ เหล่าน้ีแม้จะเป็นพฤติกรรมที่ไม่มีค�ำว่า “คิด” อยู่ แต่
ก็มีความหมายของการคิดอยู่ในตัว ค�ำในกลุ่มนี้มีลักษณะของพฤติกรรม/การกระท�ำท่ีชัดเจน ซึ่งหากบุคคล
สามารถท�ำได้อย่างช�ำนาญก็จะเรียกกันว่า “ทักษะ” ดังนั้นจึงเรียกค�ำกลุ่มน้ีว่า ทักษะการคิด

            กลุ่มที่ 2 เป็นค�ำท่ีแสดงลักษณะของการคิด ซึ่งใช้ในลักษณะเป็นค�ำวิเศษณ์ เช่น คิดกว้าง
คิดถูก คิดคล่อง คิดรอบคอบ ซ่ึงค�ำไม่ได้แสดงออกถึงพฤติกรรมหรือการกระท�ำโดยตรง แต่สามารถตีความ
ไปถงึ พฤติกรรมหรือการกระท�ำประการใดประการหนง่ึ หรอื หลายประการรวมกนั ดงั นัน้ จึงเรยี กค�ำกลมุ่ นว้ี ่า
ลักษณะการคิด

            กลมุ่ ท่ี 3 เปน็ คำ� ทแี่ สดงลกั ษณะการคดิ เชน่ เดยี วกบั กลมุ่ ท่ี 2 แตเ่ ปน็ คำ� ทค่ี รอบคลมุ พฤตกิ รรม
หรือการกระท�ำหลายประการท่ีสัมพันธ์กันเป็นล�ำดับขั้นตอน คือ เป็นค�ำที่มีความหมายถึงกระบวนการใน
ระดับที่สูงกว่าหรือมากกว่า หรือซับซ้อนกว่าลักษณะการคิด การคิดท่ีต้องอาศัยพฤติกรรมหรือการกระท�ำ
หรือทักษะจ�ำนวนมากนี้ จัดให้อยู่ในกลุ่มของกระบวนการคดิ

       1.2 	มิตขิ องการคิด ได้มีการจัดมิติของการคิดไว้ 6 มิติ เพ่ือเป็นกรอบความคิดในการพัฒนาความ
สามารถทางการคดิ ของเดก็ และเยาวชนตอ่ ไป ดงั นี้ มติ ดิ า้ นขอ้ มลู หรอื เนอื้ หาทใ่ี ชใ้ นการคดิ มติ ดิ า้ นคณุ สมบตั ิ
ท่ีเอื้ออ�ำนวยต่อการคิด มิติด้านทักษะการคิด มิติด้านลักษณะการคิด มิติด้านกระบวนการคิด และมิติด้าน
การควบคุมและประเมินการคิดของตนเอง

2. 	หลักการวัดความสามารถในการคดิ

       มีการจ�ำแนกประเภทของการวัดความสามารถในการคิดออกเป็น 2 แนวทาง ดังน้ี
       2.1 	แนวทางของนกั วัดผลกล่มุ จิตมิติ (psychometric) แนวทางการวัดจิตมิติน้ีเป็นของกลุ่มนักวัด
ทางการศึกษาและจิตวิทยาที่พยายามศึกษาและวัดคุณลักษณะภายในของมนุษย์เป็นเวลามาเกือบศตวรรษ
เริม่ จากการศึกษาและวัดเชาวนป์ ัญญา (intelligence) ศึกษาโครงสรา้ งทางสมองของมนษุ ย์ด้วยความเชือ่ ว่า
มีลักษณะเป็นองค์ประกอบและมีระดับความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละคน ซ่ึงสามารถวัดได้โดยการใช้
แบบทดสอบมาตรฐาน ตอ่ มาไดข้ ยายแนวคดิ ของการวดั ความสามารถทางสมองสกู่ ารวดั ผลสมั ฤทธ์ิ บคุ ลกิ ภาพ
ความถนัด และความสามารถในด้านต่าง ๆ รวมท้ังความสามารถในการคิด
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41