Page 49 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 49

5-39

แนวตอบกจิ กรรม 5.1.3
       การสร้างเครื่องมือด้านพุทธิพิสัยให้เป็นเครื่องมือวัดที่ดี ประกอบด้วย
       1. 	ถามให้ครอบคลุมครบตามหลักสูตร เคร่ืองมือวัดที่ดีควรจะวัดให้ครอบคลุม ครบถ้วนตาม

หลักสูตรหรือเป้าหมายการจัดการศึกษาท่ีก�ำหนดไว้ โดยพิจารณาต้ังแต่เป้าหมายระดับชาติ เป้าหมายของ
การศึกษาระดับหลักสูตร เป้าหมายของการศึกษาระดับกลุ่มสาระวิชา และเป้าหมายของการศึกษาระดับ
รายวิชา ซ่ึงการวางแผนการสอนน้ัน ผู้สอนจะต้องน�ำเป้าหมายดังกล่าวมาก�ำหนดเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะให้
ชัดเจนวา่ ต้องการให้ผ้เู รยี นมีความเจริญงอกงามไปในทางใด ตลอดจนกำ� หนดเปน็ จดุ ม่งุ หมายเชงิ พฤตกิ รรม
ซึ่งจุดประสงค์นั้น ๆ จะสามารถท�ำการวัดและสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนได้เมื่อท�ำการวัดผลการศึกษาแล้ว

       2. 	ถามให้ลึกครบทุกพฤติกรรม เคร่ืองมือวัดที่ดีต้องถามให้ครอบคลุมทุกระดับพฤติกรรมต้ังแต่
ระดับความรู้ความจ�ำ จนถึงระดับประเมินค่าโดยไม่เน้นการถามเฉพาะความรู้ความจ�ำหรือความเข้าใจ
อย่างเดียว

       3. 	ถามเฉพาะสิ่งท่ีส�ำคัญ เครื่องมือวัดท่ีดีควรจะสะท้อนถึงเนื้อหาสาระ และกระบวนการโดยมี
สัดส่วนสัมพันธ์กับความส�ำคัญและจุดมุ่งเน้นของแต่ละรายวิชา โดยถามในสิ่งท่ีเป็นประเด็นส�ำคัญ ๆ ที่เป็น
ตัวแทนของพฤติกรรมหรือตัวแทนเน้ือหา เพื่อน�ำมาสร้างเป็นเคร่ืองมือท่ีเป็นตัวแทนท่ีสามารถวัดความรู้
ความสามารถท่ีแท้จริงของผู้เรียนได้

       4. 	ถามในสิ่งที่เป็นแบบอย่างท่ีดี เคร่ืองมือวัดท่ีดีควรจะถามในสิ่งที่เป็นแบบอย่างท่ีดี ท่ีผู้สอบ
สามารถน�ำความรู้ท่ีได้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการด�ำรงชีวิตมากกว่าที่จะถามในประเด็นที่ไม่ใช่สิ่งดีที่ควร
ปฏิบัติ

       5. 	ถามให้เฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ เคร่ืองมือวัดที่ดีควรจะถามให้เฉพาะเจาะจง มีความชัดเจน
ท่ีผู้ถามและผู้ตอบจะมีความเข้าใจความหมายของค�ำถามตรงกัน ไม่ใช้ค�ำถามที่จะท�ำให้ผู้ตอบเกิดความ
สับสน หรือคลุมเครือ เช่น ใช้ค�ำถามปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เป็นต้น

ตอนที่ 5.2 การสรา้ งและตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ

แนวตอบกจิ กรรม 5.2.1
       ข้อดีและข้อจ�ำกัดของข้อสอบเลือกตอบ แสดงดังตารางต่อไปนี้
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54