Page 48 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 48
5-38
1. จ�ำแนกตามคุณลักษณะท่ีวัด แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.1 วัดผลสัมฤทธ์ิ (achievement) หมายถึง เครื่องมือท่ีใช้วัดปริมาณความรู้ความสามารถ
ทกั ษะเกย่ี วกบั ด้านวชิ าการที่ได้เรียนรู้มาในอดตี ว่ารบั รู้ไว้ได้มากนอ้ ยเพยี งไร โดยท่ัวไปแล้วมกั ใชว้ ดั หลังจาก
ท�ำกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว เพื่อประเมินการเรียนการสอนว่าได้ผลเพียงไร
1.2 วินิจฉัย (diagnosis) เป็นเคร่ืองมือท่ีใช้ส�ำหรับค้นหาจุดบกพร่องของผู้ทดสอบเป็น
รายบุคคล โดยสามารถท่ีจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อน หรือจุดบกพร่องของผู้ทดสอบ เพ่ือน�ำไปใช้เป็นแนวทางใน
การรพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้ทดสอบต่อไป
1.3 วัดความถนัด (aptitude) เป็นเคร่ืองมือที่ใช้วัดความสามารถท่ีเกิดจากการสะสม
ประสบการณ์ท่ีได้เรียนรู้มาในอดีต เคร่ืองมือท่ีวัดความถนัดส่วนมากใช้ในการท�ำนายสมรรถภาพทางสมอง
ของบุคคลว่าสามารถเรียนด้านใด โดยมีจุดมุ่งหมายเพ่ือพยากรณ์อนาคตของเด็กโดยอาศัยข้อเท็จจริง
ทั้งในปัจจุบันและประสบการณ์ในอดีตเป็นรากฐานการท�ำนาย
2. จ�ำแนกตามผู้สร้าง แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 ครูสร้างข้ึนเอง (teacher–made) เป็นเคร่ืองมือที่ครูผู้สอนเป็นคนสร้างข้ึนมาใช้เอง เพ่ือ
ใช้ทดสอบผลสัมฤทธิ์และความสามารถทางวิชาการของผู้เรียน เคร่ืองมือประเภทน้ีมักเป็นแบบทดสอบท่ี
ครอบคลุมเนอื้ หาเฉพาะตามหลักสูตรทีส่ อน การตรวจใหค้ ะแนนและการแปลผลคะแนนมกั จะเทียบกับกลุ่ม
ท่ีสอบด้วยกันหรือเทียบกับเกณฑ์ท่ีผู้สอนเป็นผู้ก�ำหนด
2.2 เคร่ืองมือที่เป็นมาตรฐาน (standardized) เป็นเคร่ืองมือท่ีสร้างขึ้นด้วยกระบวนการ
มาตรฐาน เมื่อสร้างขึ้นแล้วมีการน�ำไปทดลองสอบ แล้วน�ำผลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติหลายครั้ง
หลายหนเพ่ือปรับปรุงให้มีคุณภาพดี มีความเป็นมาตรฐาน สามารถน�ำไปใช้วัดได้กว้างขวางกว่าแบบแรก
เคร่ืองมือท่ีเป็นมาตรฐานต้องมีความเป็นมาตรฐาน 2 อย่าง คือ 1) มาตรฐานในการด�ำเนินการสอบ และ
2) มาตรฐานในการแปลความหมายคะแนน
3. จ�ำแนกตามรูปแบบการแสดงออก แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
3.1 แบบเขียนตอบ (paper-pencil) เป็นเครื่องมือที่ใช้เขียนตอบทุกชนิด เช่น แบบทดสอบ
แบบเขียนตอบ และเลือกตอบ ซ่ึงต้องใช้กระดาษ ดินสอหรือปากกาเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการสอบ แม้ใน
ปัจจุบันนี้จะมีการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ (e-learning) การเขียนตอบก็ยังเป็นส่ิงที่ส�ำคัญท่ียังคงใช้
กันอยู่
3.2 แบบปฏิบัติ (performance) เป็นเคร่ืองมือที่ใช้ในภาคปฏิบัติทั้งหลาย เช่น วิชาพลศึกษา
ท่ีให้ผู้เรียนเรียนกีฬา วิชาดนตรี ให้ผู้เรียนขับร้องเพลง วิชางานบ้าน ให้ผู้เรียนท�ำกระทงเพ่ือไปลอยใน
วันลอยกระทง การให้คะแนนภาคปฏบิ ัติต้องพิจารณาทัง้ ดา้ นคุณภาพของผลงาน ความถกู ต้องของวิธีปฏบิ ตั ิ
รวมท้ังความคล่องแคล่วและปริมาณของผลงานด้วย
3.3 แบบปากเปล่าหรือวาจา (oral) เป็นเครื่องมือท่ีใช้ในการสอบด้วยวาจา แทนท่ีจะเป็น
การเขียนตอบหรือปฏิบัติ เช่น การสอบสัมภาษณ์ หรือสอบวัดความรอบรู้ในสิ่งที่เรียนมาทั้งหมด